วิเคราะห์ ข้อแตกต่างระหว่าง มังฮวา (Manhwa) และ มังงะ (Manga) ธุรกิจการวาดการ์ตูนของฝั่งเอเชีย! ที่ชาวคอมิคส์ทั่วโลก กำลังให้ความสนใจ!!
มาทำความรู้จัก มังฮวา (Manhwa) กับ มังงะ (Manga) การขับเคี่ยวกันของคอมิคส์ (Comics) ฝั่งเอเชียสู่ความดึงดูดแห่งศิลปะการวาดและธุรกิจการ์ตูนที่ส่งผลต่อผู้อ่านนับล้านทั่วโลก!!
เชื่อว่าหลายๆ คนยังไม่เข้าใจระหว่าง 'มังงะ' กับ 'มังฮวา' ว่าต่างกันอย่างไร เมื่อพูดถึงการ์ตูนมังงะ หลายๆ คนคงคิดถึงแค่การ์ตูนญี่ปุ่น ที่มีลายเส้นเป็นเอกลักษณ์ และทั้งเล่มเป็นภาพขาวดำ ลักษณะเล่มเล็กๆ อ่านเพลินกันอยู่ใช่ไหม แต่รู้หรือไม่? การ์ตูนไม่ได้มีแค่มังงะเท่านั้น แต่ยังมี 'มังฮวา' ที่ฮอตไม่แพ้กัน และกำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้! จนสร้างยอดขายกันอย่างถล่มทลายไม่แพ้มังงะเลย มาดูกันว่าแต่ละตัวมีที่มา และความหมายอย่างไรบ้าง รวมถึงภาพรวมของแน้วโน้มธุรกิจในปัจจุบันกับ 'มังงะ' กับ 'มังฮวา' เราจะพาไปรู้จักอย่างลึกซึ้งพร้อมกัน ลุย!
ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ‘มังงะ’ และ ‘มังฮวา’
หลายๆ คนรู้จักแค่ 'มังงะ' จุดกำเนิดมาจากการ์ตูนญี่ปุ่น คำว่า 'มังงะ' (漫画, manga) มาจากคำว่า 'มัง' หมายถึง การวาดภาพหรือภาพวาด และ 'งะ' ที่หมายถึงการเล่าเรื่องราว ซึ่งรวมกันแล้วหมายถึง การ์ตูนที่มีภาพวาดและเรื่องราวในนิยาย ซึ่งเป็นที่นิยมทั่วทั้งเอเชียและทั่วโลกด้วย ต้นกำเนิดของมังงะ มาจากศตวรรษที่ 19 เมื่อศิลปินชาวญี่ปุ่นเริ่มผสมผสานศิลปะการวาดภาพแบบอุคิโยเอะกับจิตรกรรมตะวันตกเข้าด้วยกัน ในต้นศตวรรษที่ 20 ศิลปินเริ่มสร้างการ์ตูนสไตล์ญี่ปุ่น ที่ต่อมาเราเรียกว่า 'มังงะ' ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 'มังงะ' ได้ขยายออกไปในรูปแบบที่หลากหลายแนวทางมากขึ้น เช่น แอ็คชั่น, ตลก, ดราม่า, นิยายวิทยาศาสตร์, และแฟนตาซี นอกจากนี้ มังงะยังถูกนำมาปรับใช้ในสื่ออื่น ๆ เช่น แอนิเมชันทางโทรทัศน์และภาพยนตร์อีกด้วย
คำว่า 'มังงะ' มีความหมายตรงตัวว่า ภาพตามอารมณ์ ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายครั้งแรกหลังจากจิตกรอุคิโยเอะชื่อโฮคุไซ ที่ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า โฮคุไซมังงะ 'มังงะ' ได้ถูกพัฒนามาจากการผสมผลานศิลปะการวาดภาพแบบอุคิโยเอะหรือจิตรกรรมทางตะวันตก เมื่อญี่ปุ่นต้องการจะพัฒนาให้ทันกับมหาอำนาจของตะวันตก จึงมีการผลักดันให้ญี่ปุ่นนำวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา จนเป็นที่รู้จักในวงกว้างจนมาถึงปัจจุบันในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 'มังงะ' จึงมีความสำคัญกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นและได้รับการยอมรับจากคนญี่ปุ่นในเชิงวิจิตรศิลป์และวรรณกรรมด้วย
มาในส่วนของ 'มังฮวา' (만화, manhwa) หรือ มังงะเกาหลี มาจากภาษาเกาหลีใต้ที่ใช้เรียก 'การ์ตูน' ทั้งการ์ตูนช่องและแอนิเมชัน สำหรับคำนี้จะใช้สำหรับเรียก 'การ์ตูน' ผ่านช่องของประเทศเกาหลีใต้เท่านั้น! ในส่วนของภาพยนตร์ที่ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมกันเป็นจำนวนมาก ก็ล้วนแล้วมาจากการดัดแปลงเนื้อเรื่องจาก Manhwa ด้วยเช่นกัน 'มังฮวา' (การ์ตูนเกาหลี) ได้รับอิทธิพลมาจาก มังงะ (การ์ตูนญี่ปุ่น) เป็นอย่างมาก ในปี 1910-1945 เนื่องจากเกาหลีตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ในปี 1920 เริ่มมีการวาดการ์ตูนเกาหลี เกิดขึ้น จนเกิดประเด็นที่เกี่ยวข้องทางการเมือง ทำให้รัฐบาลเกิดความไม่พอใจสั่งแบนสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และแทนที่ Manhwa ด้วยเนื้อหาเชิงตลกขบขันแทน ต่อมา ในปี 2000 การ์ตูนมังฮวา ในรูปแบบเล่มก็ได้มีการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การอ่านออกไป เมื่อมีอินเทอร์เน็ตเข้ามา ทำให้คนมารู้จัก การ์ตูนเกาหลี ในรูปแบบของ เว็บตูน (Webtoon) และยังเปิดกว้างในการเผยแพร่ผลงานได้ด้วยตนเอง รวมไปถึงยังสามารถเข้าไปอ่านในเว็บตูนได้สะดวกสบายมากขึ้นด้วย หลังจากนั้นรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนอุตสาหกรรม 'มังฮวา' ให้เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมฮันรยูที่มีศักยภาพในการสร้างประโยชน์และช่วยผลักดันด้านเศรษฐกิจในประเทศได้ ทำให้ มังงะเกาหลี หลายๆ เรื่องถูกหยิบไปนำเสนอในรูปแบบของซีรีย์ชื่อดังหลายๆ เรื่อง เช่น Full House (สร้างในปี 2004), Princess Hours (สร้างในปี 2005) และยูมิกับเซลล์สมองสุดอลเวง Yumi's Cells, มัธยมซอมบี้ All of Us Are Dead (ที่ถูกสร้างในปี 2022 ที่ผ่านมา)
ความเคลื่อนไหวและค่านิยมของ 'มังงะ' และ 'มังฮวา' ในธุรกิจหนังสือการ์ตูน
ด้วยประเด็นแนวโน้มธุรกิจที่ร้อนแรงบนโลกของโซเชียล และกำลังถกเถียงกันอย่างวุ่นวาย เริ่มมาจากเว็บไซต์หนึ่งที่เขียนบทความขึ้นมา พบว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมมังงะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น กำลังถูก มังฮวา ใน Webtoon ของประเทศเกาหลีแซงหน้าไปแล้ว และมีการวิเคราะห์กันถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงนี้ ได้ความว่า อาจเป็นเพราะเกิดมาจากมังงะญี่ปุ่นที่มีการอนุรักษนิยม ทำให้ไม่มีการปรับเปลี่ยนเลยตั้งแต่ทศวรรษ 1960 โครงสร้างของการอ่านถูกสร้างมาในรูปแบบเดิมๆ และยังถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการอ่านแบบหนังสือมากกว่า แต่ในส่วนของมังฮวาจากประเทศเกาหลี กลับถูกออกแบบมาเพื่อให้นำมาใช้กับเทคโนโลยีมากกว่า และด้วยยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้าถึงทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยแล้ว ทำให้การออกแบบที่พอดีกับขนาดหน้าจอมือถือ ทำให้นักอ่านอ่านง่าย และมีการเล่าเรื่อง ของ 'มังฮวา' เพิ่มมากขึ้นและเข้าใจง่าย แต่ทั้งนั้น ถึงแม้ว่า มังงะญี่ปุ่น จะเดินตาม มังงะเกาหลี อยู่ แต่เรื่องเข้าถึงผู้อ่านด้านของการอำนวยความสะดวกสบาย การ์ตูนเกาหลีก็ไม่สามารถเอาชนะความคลาสสิคของการ์ตูนญี่ปุ่นได้เช่นกัน การ์ตูนทั้งสองจึงขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของผู้อ่านนั่นเอง
เมื่อเราเปิดด้วยประเด็นความแนวโน้มธุรกิจที่เล่ามาทั้งหมดแล้ว เราลองมาแชร์ความแตกต่างของ 'มังงะ' และ 'มังฮวา' กันหน่อยดีกว่า ว่าเหมือนกันขนาดนี้ แตกต่างกันตรงไหนบ้าง ไม่ว่าจะด้วยเรื่องวิธีการอ่าน ที่มีการอ่านเรียงจากซ้ายไปขวา หรืออ่านลงไปเรื่อยๆ เราจะมาบอกวิธีการอ่านแบบเข้าใจง่าย หรือจะเป็นเรื่องรูปแบบการวางภาพที่มีความแตกต่าง รวมไปถึงลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในแบบต่าง ๆ เรามาทำความรู้จักทั้ง 'มังงะ' และ 'มังฮวา' ไปพร้อมกันได้เลย
1. วิธีการอ่านที่ถูกต้อง
ในการอ่าน 'มังงะ' ชื่อเรียกของการ์ตูนญี่ปุ่นที่หลายๆ คนนิยมอ่านและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จะเป็นในรูปแบบของรูปเล่ม ซึ่งมังงะจะถูกอ่านแบบขวาไปซ้ายตามวิธีเขียนหนังสือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น และอ่านจากบนลงล่างสลับกันอีก ซึ่งรูปแบบนี้จะคุ้นเคยกันดีในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และชาวตะวันตก ที่เป็นแฟนพันธ์แท้ 'มังงะ' เท่านั้น!
ในการอ่าน 'มังฮวา' จะแตกต่างจาก 'มังงะ' จากฝั่งญี่ปุ่นเลย 'มังงะเกาหลี' จะเป็นการอ่านในแนวตรง จากบนลงล่างนั่นเอง
2. รูปแบบการวางภาพ
รูปแบบของ 'มังงะ' จะเป็นการจัดช่องภาพ ไม่ตายตัวเหมือนการ์ตูนสี่ช่องหรือการ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์ มีการเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อนผ่านเลย์เอ้าท์ และไม่อยู่ในรูปแบบเดิมๆ (แล้วแต่ผู้วาด) ทำให้ส่งอารมณ์ของภาพได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของ 'มังงะ' อีกข้อหนึ่งด้วยนั่นเอง
ซึ่งแตกต่างกับ 'มังฮวา' เนื่องจากไม่มีความซับซ้อนของการวางเลย์เอ้าท์ อ่านจากบนลงล่าง อ่านเป็นแบบแถบยาว เลื่อนลงมาเรื่อยๆ ทำให้อ่านและเข้าใจเนื้อหา เรื่องราว ได้อย่างง่ายและรวดเร็วสำหรับผู้อ่าน
3. ความแตกต่าง ของตัวละครและลักษณะอารมณ์ (โดยส่วนใหญ่)
ตัวละครใน 'มังงะ' มักจะดูเหมือนคนตะวันตก หรือมีนัยน์ตาขนาดใหญ่ ปากและจมูกเล็ก ทำให้ลักษณะของตัวละครเหล่านี้ กลายมาเป็นลักษณะเด่นของมังงะนั่นเอง รวมไปถึงการแสดงออกทางสีหน้าที่ชัดเจน เกินจริง และเน้นการแสดงท่าทางขยับแบบสมจริง ยังเป็นความคลาสสิกของ 'มังงะ' การแสดงอารมณ์บางอย่างมักจะแสดงออกทางร่างกาย เช่น อาการหมดแรง เป็นต้น สัญลักษณ์โกรธ, น้ำตาไหลเป็นแอ่งน้ำตา ท่าคุกเข่าก้มตัว เหงื่อหยดที่ข้างศีรษะ และอื่นๆ อีกเยอะแยะมากมาย
ตัวละครใน 'มังฮวา' มักจะมีเอกลักษณ์ที่พระเอกหน้าหล่อ ฉลาด รวย และมีความสามารถที่เก่งทุกอย่าง เป็นเพอร์เฟคแมน ในส่วนของฝั่งนางเอก จะมีความผอมบางน่ารักน่าเอ็นดู ฟีลลูกคุณหนู ดวงตากลมโต และนัยตาเป็นประกาย พระเอกและนางเอกมีรูปร่างหน้าตาหล่อสวยเกินความเป็นจริง และได้รับคาเรคเตอร์แบบ เน้นให้ผู้อ่านมีความรู้สึกนึกคิด และเข้าถึงอารมณ์ของตัวละคร และเนื้อหาอิงตามกระแสเป็นหลัก
4. ลักษณะลายเส้นของภาพ
ในลักษณะของ 'มังงะ' จะโดดเด่นเรื่องงานศิลป์ที่มีลายเส้นที่สวยงาม เห็นลายเส้นที่ชัดจริงๆ ส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้อ่านจดจำ คือ ภาพขาวดำ โดยใช้สกรีนโทน การแรงเงา การซ้อนทับ และใช้เส้นเพื่อสร้างพื้นหลังและอารมณ์
ในลักษณะของ 'มังฮวา' จะโดดเด่นในเรื่องลักษณะลายเส้นที่คมชัด ภาพสีสันสดใส สวยงามทั้งเล่ม จนทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกอยากติดตามอ่านต่อตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งภาพสีสันที่สดใสนั้น ส่งผลให้การเล่าเรื่องดึงดูดความสนใจของผู้อ่านมากๆ ได้มากขึ้นด้วย
5. คำพูดและรูปภาพ
'มังงะ' จะเน้นในเรื่องของรายละเอียดด้านคำพูด (มากกว่ามังฮวา) เลยทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้อย่างชัดเจน และสามารถเสพย์เนื้อหาได้หลากหลาย เพราะยิ่งคำอธิบาย ก็ยิ่งสามารถเขียน(วาด)ลงประเด็นลึกซึ้ง ได้อย่างหนักหน่วง จึงไม่แปลกที่ผู้อ่านมังงะหลายคน จะอินไปกับเนื้อเรื่องจนจบแบบเอามาพูดคุย วิเคราะห์กันต่อกับเพื่อนๆได้
ส่วนฝั่งของ 'มังฮวา' จะเน้นในเรื่องโทนภาพที่ค่อยๆ เล่าเรื่อง เน้นๆ ไปทีละฉาก มีท่าทาง และอารมณ์ของตัวละครบ้าง เพราะจะโฟกัสไปที่การเล่าเรื่องผ่านภาพเป็นส่วนใหญ่ ก็ถือจุดแตกต่างที่มีความน่าสนใจไปอีกแบบ
6. การนำเสนอเรื่องราว
การนำเสนอของ 'มังงะ' นั้น เนื่องจากมีการสร้างผลงานมาอย่างยาวนานและบางเรื่องก็เป็นที่ประจักษ์อย่างแพร่หลาย เนื้อเรื่องที่ออกมาจึงมักจะความหลากหลายแนว หลากหลายประเภท (เพื่อไม่ให้ซํ้ากับคู่แข่ง) และส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาที่ซับซ้อนกว่า มังฮวา (เหตุผลจาก ข้อบน เรื่องคำพูด คำอธิบายที่เยอะกว่า) มีเนื้อหาที่เป็นผู้ใหญ่กว่ามาตรฐานโชเน็นมังงะของญี่ปุ่น ( <<อ่านเพิ่มเติมความหมายโชเน็น) ชวนให้คิดตาม เน้นให้ผู้อ่านเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึกข้างในของตัวละครได้อย่างชัดเจน การวางโครงเรื่องมีความซับซ้อน ยากต่อการคาดเดา ทำให้น่าติดตามจนหน้าสุดท้าย
ด้านการนำเสนอของ 'มังฮวา' หรือ แนวทางการแต่งของ มังงะเกาหลี ส่วนใหญ่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ พล็อตโดยส่วนใหญ่ จะเน้นไปที่การสื่อสารในเชิงบวก สร้างคลื่นวัฒนธรรมกระแสนิยมขับเคลื่อนปัญหา และประเด็นสังคมที่เกิดขึ้น เนื้อหาค่อนข้างดาร์ค และมีความเกี่ยวข้องกับไลท์โนเวล เช่น พระเอกเก่งสุดๆ ตัวเอกถูกรังแก จนตายแล้วกลับมาแก้แค้น จะมีความคล้าย กับนิยายแฟนตาซี หรือ ไลท์โนเวล ซึ่งถึงแม้จะขัดกับความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน แต่ก็ถูกใจคนรุ่นใหม่ ที่ชอบความสนุก ไม่ซีเรียส เน้นอ่านง่าย ให้ความรู้สึกสะใจ ตัวเอกมีความสามารถเก่งรอบด้าน ฟินไปกับเรื่องราวจนถึงตอนจบ
7. รูปแบบการอ่าน
การอ่าน 'มังงะ' จะเหมาะกับการอ่านในรูปแบบเล่ม หนังสือ เนื่องจากถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการอ่านแบบหนังสือมากกว่า เพราะการวางเลย์เอ้าท์ต่างๆ ของมังงะญี่ปุ่นเอง ไม่เหมาะกับการอ่านผ่านระบบดิจิทัล เพราะจะส่งผลให้ตัวอักษร หรือเนื้อหาในแต่ละช่องมีขนาดเล็ก ทำให้ผู้อ่านต้องคอยขยายหน้าจอเข้าออกเพื่ออ่านตลอดเวลา แต่มังงะก็เริ่มมีการปรับตัวให้สามารถอ่านบนแพลตฟอร์มได้แล้ว
ส่วนใหญ่ 'มังฮวา' จะอ่านบนพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น อ่านบนคอมพิวเตอร์ อ่านบนโทรศัพท์มือถือ หรือจะบนแท็บเล็ตต่างๆ เนื่องจากถูกออกแบบมาให้พอดีกับขนาดหน้าจอมือถือ ให้มีรูปแบบที่อ่านง่าย แล้วก็เล่าเรื่องได้เข้าใจง่ายกว่า ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจในเนื้อหาได้อย่างทันที และมีความสะดวกในการสั่งซื้อ เนื่องจากสามารถอ่านและสั่งซื้อออนไลน์ได้ทั้งหมด
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม 'มังงะญี่ปุ่น' กับ 'มังฮวาเกาหลี'
จากหลากหลายประเด็นที่ว่ามานี้ ส่งผลให้เกิดแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงของ 'มังงะ' และ 'มังฮวา' ที่เกิดขึ้น เกิดจากในปีที่ 2022 ตลาดสิ่งพิมพ์มังงะ ถูกหดตัวลงเรื่อยๆ 2.3% ในขณะที่ตลาดของ 'มังฮวา' หรือเว็บตูนที่เรารู้จักกันทั่วโลก กำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าจะสูงไปถึง 56,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030 ด้วย ทำให้ 'มังฮวา' เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าทาง 'มังงะ' เองกำลังจะปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่ระบบของโลกดิจิทัลอย่างช้าๆ ก็ตาม แต่การ์ตูนญี่ปุ่นเองก็ถูกออกแบบให้อ่านในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ คือต้องมีการเปิดอ่านจากเล่มหนังสือโดยตรงนั่นเอง เลยทำให้การอ่านผ่านสมาร์ทโฟนทำได้ยากมาก เพราะไม่ว่าจะปัญหาของตัวหนังสือ หรือจะเรื่องของการจัดวางแบบเลย์เอ้าท์ต่างๆ การจะซูมเข้าซูมออกเวลาอ่านผ่านพวกสมาร์ทโฟนต่างๆ จึงทำให้เสียอรรถรสในการอ่านไป
ต่อมาเลยทำให้คุณลีตัดสินใจทิ้ง 'มังงะ' ไปเลย แล้วก็หวนเข้าสู่วงการเว็บตูน หรือ 'มังฮวา' ในปี 2014 และถึงแม้ว่าเว็บตูนมีเรื่องเด็ดอย่าง Itaewon Class และ Solo Leveling ที่เป็นที่นิยมในหมู่นักอ่านชาวญี่ปุ่นอยู่ก็ตาม แต่ทางสำนักพิมพ์ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็ยังยึดติดกับภาพของ การ์ตูนญี่ปุ่นอยู่ดี ซึ่งแน่นอนว่าอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นนั้นถือในเรื่องของอนุรักษ์นิยมอยู่มาก เลยทำให้ฝั่งญี่ปุ่นเชื่อมั่นว่า การยึดติดกับภาพเดิมๆ ที่เคยปฏิบัติมา ย่อมดีกว่าเสมอ ทั้งๆ ที่ธุรกิจอุตสาหกรรมการ์ตูนญี่ปุ่น แทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลย แม้กระทั่งจากตั้งแต่สมัยปี 1960 ก็ตาม
ในยุคก่อนๆ นั้น นักอ่านการ์ตูนจะนิยมอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น หรือว่า 'มังงะ' เป็นจำนวนมาก และมีวางขายกันเกลื่อน แต่ในขณะเดียวกัน 'มังฮวา' ก็ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว และเริ่มที่จะเข้ามามีบทบาทในการอ่านการ์ตูนเพิ่มมากยิ่งขึ้น เนื่องจากพวกแอพพลิเคชั่น หรือพวกเว็บไซต์สำหรับเอาไว้อ่านการ์ตูน 'มังฮวา' มีแบบถูกลิขสิทธิ์กันมากขึ้น ทำให้ 'มังฮวา' จากหลากหลายเรื่อง มีแฟนๆ เข้าไปอ่านเยอะ มีความสนุกจนถึงขั้นโดนนำไปผลิตเป็นหนัง หรือซีรีย์ จนเป็นกระแสโด่งดังมากมายเลยทีเดียว เช่น Itaewon Class, True Beauty เป็นต้น เนื่องจากการ์ตูน 'มังฮวา' เป็นเรื่องที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย และสามารถเข้าใจในเนื้อหาได้อย่างทันที
แต่ทั้งหมดนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวก และความต้องการของนักอ่านเอง จะเลือกอ่าน 'มังงะ' หรือ 'มังฮวา' ทำให้ปัจจุบัน 'มังฮวา' เติบโต และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก หลังจากช่วง COVID ขึ้นมาแบบก้าวกระโดด ไม่แน่ว่าในอนาคต 'มังฮวา' ก็เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น และก้าวข้ามมาตีเสมอ 'มังงะ' ได้
-------------------------------------------------------------------------
หลังจากได้ทำความรู้จัก 'มังฮวา' ว่าแตกต่าง อย่างไรกับการ์ตูนญี่ปุ่นกันเรียบร้อยไปแล้ว ทางน้องอินทร์ก็ยังมี นิยายแฟนตาซี ที่ทำมาจากการ์ตูนมังฮวา (แบบ Original) มานำเสนอ >>มีเรื่องไหนบ้าง ไปดูกัน!!!
มุมมองนักอ่านพระเจ้า
Omniscient Reader Viewpoint ชื่อในเว็บตูนคือ 'อ่านชะตาวันสิ้นโลก'
ภารกิจของคิมดกจา คือขัดขวางไม่ให้มหาสงครามเทพและปีศาจมีผลตัดสินชี้ขาด แม้การยืดเยื้อจะทำให้แต้มโกลาหลยิ่งเพิ่มมากขึ้น การกดดันในครั้งนี้จะสามารถยุติสงครามได้หรือไม่ <<<ตามไปลุ้นพร้อมกันได้เลย
เกิดใหม่ชาตินี้ ฉันจะเป็นเจ้าตระกูล
ชื่อเรื่องในเว็บตูน 'In This Life, I Will Be the Lord'
บทสรุปการแก้แค้นของเฟเรส และการสิ้นสุดการเดินทางอย่างยาวนานในการขึ้นเป็นเจ้าตระกูลของฟีเรนเทีย มาลุ้นไปกับบทสรุปของทุกเรื่องราว รวมถึงความลับของชาติกำเนิดที่ฟีเรนเทียไม่เคยรู้มาก่อน <<<ไปติดตามบทสรุปของทุกเรื่องราวต่อเลย
เวทมนตร์ของผู้กลับมาต้องไม่ธรรมดา
หรือ A Returner's Magic Should Be Special
เดินทางมาถึงบทสรุปของกับความแฟนตาซีในโลกเวทมนตร์สุดล้ำ การมาถึงของสงครามแสนอันตราย และเหตุผลของการย้อนกลับมาของเดเซียร์ที่หลายๆ คนรอคอย <<<จะได้รับคำตอบในเล่มนี้!