สื่อที่ใช่ ของใครที่ชอบ :การ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น แฟนคลับ

ผู้เขียน: กาญจนา แก้วเทพ

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

315.00 บาท

350.00 บาท ประหยัด 35.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 12 คะแนน

  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

315.00 บาท

350.00 บาท
350.00 บาท
ประหยัด 35.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 12 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
511 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
0 x 0 x 0 CM
น้ำหนัก
0 KG
บาร์โค้ด
9786163058713

รายละเอียด : สื่อที่ใช่ ของใครที่ชอบ :การ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น แฟนคลับ

 ผู้เขียนขโมยชื่อหนังสือเล่มนี้มาจากชื่อของรายการวิทยุคลื่นหนึ่ง เนื่องจากรู้สึกว่า ชื่อนี้ หากพูดให้เป็นทางการหน่อย ก็อาจจะพูดว่า เป็นชื่อที่สามารถประมวลสรุปแนวคิดหลักทั้งหมดที่แฝงอยู่ในบทความทั้ง 3 ชิ้นของหนังสือ คือเรื่องการ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น และแฟนคลับ และหากพูดเป็นภาษาชาวบ้านแบบวัยรุ่นหน่อยๆ ก็อาจจะพูดว่า ชื่อนี้ ช่างเป็นชื่อที่โดนใจ ใช่เลย ทั้งนี้ เพราะเนื้อหาของชิ้นงานทั้ง 3 ชิ้นนี้ แม้ว่าเมื่อมองดูแบบเผินๆ อาจจะยังนึกไม่ออกว่า การสื่อสารในทั้ง 3 รูปแบบนี้จะมาขึ้นเวทีหรือมารวมกันอยู่ในหนังสือเล่มเดียวกันได้ยังไง แต่ทว่า เมื่อเพ่งดูอย่างพินิจพิจารณาแล้ว ก็จะพบว่า ระหว่างรูปแบบการสื่อสารทั้ง 3 แบบนี้ มีเส้นด้ายเส้นบางๆ ร้อยเชื่อมอยู่ เส้นด้ายที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสรู้สึกได้นั้นมีชื่อนามว่า “ความรู้สึกเป็นเจ้าของ” (sense of belonging) เมื่อลองพลิกอ่านดูเนื้อหาเรื่องราวของงานเขียนทั้ง 3 ชิ้น ผู้อ่านก็จะพบว่า แนวคิดเรื่องความรู้สึกเป็นเจ้าเข้าเจ้าของจะโผล่หน้าออกมาให้เห็นเป็นระยะๆ เริ่มตั้งแต่เรื่องของการ์ตูนที่เด็กๆ รักใคร่ ตัวการ์ตูนบางตัวถึงขั้นยึดถือเป็นวีรบุรุษประจำใจ เรื่อยมาจนถึงเรื่องแฟนคลับที่ไม่จำเป็นต้องพูดซ้ำอีก ไปจนถึงกระทั่งโทรทัศน์ท้องถิ่นที่หากขาดความรู้สึกผูกพันจากท้องถิ่นแล้ว ก็แทบจะดำรงคงอยู่ต่อไปไม่ได้ สำหรับความรู้สึกเป็นเจ้าเข้าเจ้าของนี้ (ในภาษาของนักวิชาการแฟนศึกษา อาจจะเรียกว่า Textual Poacher) หากพลิกดูจากองค์ประกอบธาตุทั้ง 4 ของการสื่อสาร คือ ผู้ส่ง สาร และสื่อ แง่มุมที่งานเขียนทั้ง 3 ชิ้นนี้มุ่งเน้นก็คือความรู้สึกผูกพันธ์ระหว่า ง “ผู้รับสาร” กับ “ตัวสื่อ/สาร” และหากขายกรอบการมองความสัมพันธ์ดังกล่าวโดยเปรียบเทียบระหว่างกระบวนทัศน์แนบขนบ (Conventiona’) และแนวใหม่ (New paradigm) เราก็จะพบว่า ได้มี “จุดเปลี่ยนโค้งทางวิชาการ” (Academic Turn) เกิดขึ้น นอกจากปรากฏการณ์แบบทั่วๆ ไปแบบว่า “สื่อของใคร ของใครก็ห่วง” ให้เกิดกับสื่อทั้ง 3 ประเภท คือการ์ตูน (ซึ่งดูเป็นเรื่องของเด็กๆ) โทรทัศน์ท้องถิ่น (ที่เกิดก็ไม่ง่าย แต่ตายได้เร็วจัง) และแฟนคลับ (ที่ในสายตาคนที่ไม่เป็นแฟนจะดูเหมือนเป็นกลุ่มชนของคนสิ้นคิด) เนื้อหาในงานเขียนทั้ง 3 ชิ้น ก็จะพาผู้อ่านเฉียดฉิวเข้าไปในซอกหลืบทางวิชาการที่เราอาจจะไม่ได้ตั้งคำถามมาก่อน เช่น ทำไมกลุ่มแฟนคลับจึงไม่ค่อยไปหย่อนบัตรลงคะแนนเลือก สส. (ทั้งๆ ที่มีประโยชน์ต่อตัวเองโดยตรง) หากแต่ทุ่มเทโหวตนักร้อง AF อย่างเอาเป็นเอาตาย (ทั้งๆ ที่ไม่มีประโยชน์อะไร) ทำโทรทัศน์ท้องถิ่นที่แม้ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้บ้าน แต่กลับเกิดปรากฎการณ์ “ใกล้แสนใกล้ แต่กลับไกลแสนไกล” แม้จนล้มหายตายจากไป คนท้องถิ่นก็ไม่เห็นจะไยดี เพราะเหตุใดเด็กไทยจึงรักใครใหลหลงการ์ตูนญี่ปุ่นระดับที่ว่า ท่องชื่ออ้านมดแดงได้ทุกตัวอย่างคล่องแคล่ว แน่นอนว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้กับทุกคำถาม แต่ทว่า ปัญหาสำคัญที่แท้จริงอาจจะไม่ได้อยู่ที่การมีคำตอบหรือไม่ แต่กลับอยู่ที่ว่า ทำไมจึงไม่มีคำถามต่างหาก

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว