รายละเอียด : มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ
มหาบพิตร ในหลวงทรงถามพระอรหันต์ตอบ
เพื่อเนื้อหา...ปุจฉาวิสัชนาธรรม
ระหว่างในหลวงกับสมเด็จพระสังฆราช
ประมวล "บทพระราชปุจฉาวิสัชนาธรรม" อันทรงคุณค่า ระหว่าง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" กับ "พระอริยสงฆ์" ผู้มีปัญญาบารมีอันสูงส่งทุกถ้อยธรรมล้วนลึกซึ่งด้วยอรรถและพยัญชนะแสดงถึงปฏิปทาธรรมอันแน่วแน่และจริงจังของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นธรรมราชาที่เพียงแค่พสกนิกรไทยได้พินิจศึกษาก็เสมือนหนึ่งได้อ่านหนังสือธรรมะเล่มใหญ่
สารบัญ : มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ
- เมื่อ "พระราชา" สนทนาธรรมกับ "พระอรหันต์
- พระมงคลวิเสสกถา พระธรรมเทศนาในพระราชสำนัก
- บทพระราชปุจฉา ถวายวิสัชนาโดย สมเด็จพระญาณสังวร
- พระธรรมเทศนาในระหว่า ๑๕ วัน แห่งการทรงผนวช
- บทพระราชปุจฉา ถวายวิสัชนาโดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
- ธัมมวิจักขณกถา ฑรรมที่ควรพึ่งเห็นโดยประจักษ์
รีวิวโดยผู้เขียน : มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ
ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าเคยสงสัยว่า เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงได้ประดิษฐานสถิตบวรอย่างมั่นคงอยู่ในสยามประเทศอันเป็นดินแดนเก่าแก่ที่เคยเรียกรวมกันว่า "สุวรรณภูมิ" แห่งนี้ ท่ามกลางกระแสไกลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตก อิทธิพลของอุดมการณ์ลัทธิการเมือง การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์แห่งวัตถุ ตลอดจนถึงลัทธิล่าอาณานิคม สงคราม และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ โหมกระหน่ำพัดพาถาโถมเข้าสู่สังคมไทยอย่างหนักหน่วงตลอดช่วงเวลานับศตวรรษ แต่พระพุทธศาสนาก็ยังยืนหยัดมั่นคงอยู่ได้ในสังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีคนตั้งข้อสงสัยว่า ชาวไทยนั้นเป็นชาวพุทธแท้จริงหรือไม่ รู้จักรู้จริงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าแค่ไหน ซึ่งปัญหานี่เป็นปัญหาทางปัญญา ไม่ใช่ปัญหาทางศรัทธา ปัญญาจะพึงเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีศรัทธาเป็นบาทวิถีอยู่เสมอ ชาวไทยส่วนใหญ่แม้จะไม่ใช่ชาวพุทธโดยปัญญา แต่ก็นับได้ว่าเป็นชาวพุทธโดยศรัทธา
เมื่อเราย้อนกลับไปดูประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ที่เคยมีพระพุทธศาสนาประดิษฐานอยู่เมื่อครั้งอดีต หลาย ๆ ประเทศในปัจจุบันแทบจะไม่เหลือร่องรอบในอดีตใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนา เคยเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคนในประเทศนั้น ๆ
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ
คำถามก็คือ อะไรที่ทำให้ผู้เขียนสารานุกรม Britannica ยกให้ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ "พระมหากษัตริย์ไทย" และ "คณะสงฆ์ไทย" อย่างใกล้ชิด
เราชาวพุทธทุกคนทราบกันดีว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็น "พุทธมามกะ" มาก่อนที่รัฐธรรมนูญจะบัญญัติเอาไว้ยาวนานมากคือทรงเป็นองค์พุทธมามกะมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว และทรงเป็นมาอย่างนั้นตลอดทุกพระองค์ ตลอดทุกยุคทุกสมัน
การที่รัฐธรรมบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะนั้นเป็นเพียงแต่การคล้อยตามกลไกทางวัฒนธรรมและจารีตประเพณีที่เกิดขึ้นจริงและเกิดขึ้นมาอย่างยาวนานเท่านั้น ที่พระพุทธศาสนาได้รับการประดิษฐานไว้ในประเทศไทยอย่างมั่นคงเข้มแข็งมาโดยตลอดก็เพราะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งค้ำจุน ในประเทศใดที่สถาบันพระมหากษัตริย์มีความอ่อนแอหรือถูกล้มเลิก ผลสำคัญอย่างหนึ่งที่ตามมาก็คือ พระพุทธศาสนาในประเทศเหล่านั้นจะอ่อนกำลังลงไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลบเดชในรัชกาลปัจจุบัน หรือ "ในหลวง" ของเรา ก็เป็นพระมหากษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ทรงเป็น "พุทธมามกะ" และ "องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก" ซึ่งในด้านหนึ่งก็ถือว่าเป็นพระราชจริยาวัตรที่ทรงดำเนินไปตามกลไกทางวัฒนธรรมและจารีตประเพณีที่สืบเนื่องมาจากอดีตจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน