กำเนิดรามเกียรติ์

ผู้เขียน: ส.สิรกร

สำนักพิมพ์: บีเวลพับลิชชิ่ง

หมวดหมู่: หนังสือเด็ก , ระบายสี&ลากเส้น&ต่อจุด

0 (0) เขียนรีวิว

121.50 บาท

135.00 บาท ประหยัด 13.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 4 คะแนน

เรื่องราวแห่งสงครามระหว่างความดีกับความชั่วการต่อสู้ระหว่างพระราม...เจ้าชายแห่งอยุธยา ผู้เป็นอวตารแห่งองค์นารายณ์ที่มี หนุมาน เป็นทหารเอกผู้เก่งหล้า กับทศกัณฐ์....เจ้าแห่งหรุงลงกา < แสดงน้อยลง เรื่องราวแห่งสงครามระหว่างความดีกับความชั่วการต่อสู้ระหว่างพระราม...เจ้าชายแห่งอยุธยา ผู้เป็นอวตารแห่งองค์นารายณ์ที่มี หนุมาน เป็นทหารเอกผู้เก่งหล้า กับทศกัณฐ์....เจ้าแห่งหรุงลงกา
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

121.50 บาท

135.00 บาท
135.00 บาท
ประหยัด 13.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 4 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
0 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
20.7 x 14.3 x 0.9 CM
น้ำหนัก
0.21 KG
บาร์โค้ด
9786162320644

รายละเอียด : กำเนิดรามเกียรติ์

วรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย มีต้นเค้าจากวรรณคดีอินเดีย คือ มหากาพย์รามายณะ ที่ฤๅษีวาลมิกิ ชาวอินเดียแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษมาแล้ว และได้แพร่หลายจากอินเดียไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้

ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำอารยธรรมและศาสนาเข้ามาเผยแพร่ด้วย ทำให้เรื่องราวรามายณะ แพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้น จนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลายๆ ชาติ เช่น ลาว พม่า เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติทั้งสิ้น

สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ของไทยนั้นมีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เพื่อรวบรวมเีืรื่องรามเกียรติ์ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

 


เนื้อหาปกหลัง : กำเนิดรามเกียรติ์

เรื่องราวแห่งสงครามระหว่างความดีกับความชั่วการต่อสู้ระหว่างพระราม...เจ้าชายแห่งอยุธยา ผู้เป็นอวตารแห่งองค์นารายณ์ที่มี หนุมาน เป็นทหารเอกผู้เก่งหล้า กับทศกัณฐ์....เจ้าแห่งกรุงลงกา

 



รีวิวโดยผู้เขียน : กำเนิดรามเกียรติ์

รามเกียรติ์บทกวีโบราณจากหนังสือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้น เป็นบทกวีที่ใช้ภาษากระซับ เรียบง่าย มีความสวยงามในแง่วรรณศิลป์ แต่ให้อรรถรสลึกซึ้งในทุกแง่ทุกมุม ทั้งบทรัก บทโศก บทโกรธ และบทสะเทือนใจ อีกทั้งยังมีจิตรกรรมผ่านผนังอันอ่อนซ้อย เส้นสายละเอียดงดงาม (รามเกียรติ์จิตรกรรมฝาผนังรอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตศาสดาราม)

การวาดภาพอย่างทุ่มเทใจของศิลปินโบราณในการอุทิศฝีมือเป็นพุทธบูชา เป็นแรงบันดาลใจที่ดีในการทำหนังสือรามเกียรติ์ฉบับการ์ตูนเล่มนี้ และเป็นกุศโลบายที่ดียิ่งที่ทำให้เยาวชนได้ติดตามอ่านเรื่องราวที่แสนสนุกพิสดาร

รามเกียรติ์... ประกอบไปด้วยเรื่องราวมากมาย ใช้บทพูดที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย มีเนื้อหาที่ร่วมสมัยเพื่อให้ผู้อ่านเพลิดเพลินกับเนื้อเรื่อง ประทับใจและเห็นคุณค่าวรรณกรรมวรรณศิลป์ เกิดความรัก ความหวงแหน แต่ร่วมอนุรักษ์ศึกษาศิลปกรรมของไทยในแขนงอื่นๆ ต่อไป

ส.สิรกร



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : กำเนิดรามเกียรติ์

รามเกียรติ์ เป็นมหากาพย์ประจำชาติไทย มีโครงเรื่องมาจากมหากาพย์ รามายณะ ของอินเดีย ซึ่งแต่งขึ้นมาเมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว รามายณะเป็นมหากาพย์ที่มีเนื้อเรื่องยาวและซับซ้อน เพื่อปราบหมู่มาร

รามเกียรติ์ฉบับภาษาไทยนั้น ประพันธ์ขึ้นในรัชสมัยของสมเด็ขพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แม้ว่าเนื้อเรื่องหลักจะเหมือนกับมหากาพย์รามายณะ แต่ก็มีหลายแง่มุมที่ถูกดัดแปลงให้เข้ากับสังคมไทย หากแต่จุดมุ่งหมายนั้นไม่ต่างกันนั่นคือการแสดงให้เห็นในเรื่องของคุณงามความดี วิถีแห่งความถูกต้องที่ควรยืดถือปฏิบัติ

พระราชนิพนธ์เรื่อง...รามเกียรติ์ ของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาช ได้รับการย่องให้เป็นหนึ่งในเพชรเม็ดเอกแห่งวรรณคดีไทย และนับตั้งแต่รามเกียรติ์ได้เผยแพร่ออกสู่สายตาชาวไทย บทประพันธ์นี้ก็ได้กลายเป็นส่วนประกอบอันแข็งแกร่งของวัฒนธรรมไทย และได้ฝังรากลึกในประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของเราไปแล้ว

บีเวล พับลิชชิ่ง นำเรื่อง "รามเกียรติ์" มาถ่ายทอดในรูปแบบของ Comic Education ที่มีสีสัน เพื่อสื่อสาระดีๆ ที่เป็นประโยชน์ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และสนุกสนานไปกับเรื่องราวที่มีจินตนาการอันงดงาม

อักษรสื่อมิตรภาพ

บีเวล พับลิชชิ่ง

 

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว