รายละเอียด : วังนางโหง
วังนางโหง
เบื้องหน้าของสายน้ำอาจสวยงาม แต่เบื้่องล่างของมันนั้นอาจพรากชีวิต! เหมือนกับที่มันพรากเอาชีวิตพ่อ พี่ชาย และน้องชายของ ทัน ไปอย่างไม่มีวันกลับ พ่อของเขาเสียชีวิตอย่างแปลกประหลาดบนเรือโดยก่อนตายได้เตือนลูกเอาไว้ว่า "จงอยู่ห่างนี้ ระวังนางโหง" ทว่าในเวลาต่อมา ทวน และ ทัน พี่ชายและน้องชายของเขาก็เสียชีวิตในน้ำกันทั้งคู่จากนั้นเรื่องราวประหลาดมากมายก็เกิดขึ้น...ทับมีลูกสาวสามคน... ดาริกา เป็นหญิงม่าย มีลูกชายชื่อ ดานุ ดารา เกิดมาหน้าตาขี้ริ้วและเ้จ้าอารมณ์ ส่วร ดาเรศ เจ็บไข้ได้ป่วยมาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งคืนหนึ่ง มีหมอหญิงนามว่า พิกุล เดินเข้ามาเพื่อรักษาดาเรศการมาถึงของหมอหญิงคนนั้น เป็นจังหวะเดียวกับที่ดาริกาเข้าไปในบ้านของบรระบุรุษบ้านเรือนไทยที่บิดาสั้งห้ามลูกหลานเอาไว้ว่า ห้ามกลับไปเด็ดขาด! ขณะที่ดานุนั้น เขาฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งมาตลอดผู้หญิงรูปร่างขอบางงดงามราวกับนางในวรรณคดี นั่งอยู่บนเรือลำน้อยเธอลุกขึ้นร่ายระบำพรเทวดา เพื่อสาปแช่งให้ตระกูลชั่วช้าพบกับความตายและหายนะ! ใครจะเชื่อว่า...เรือน้อยลำนั้นกำลังจะนำพาตัวเขากลับไปสู่วันวานไปสู่อดีตกาลในท้องน้ำ...สถานที่ซึ่ง "ใครบางคน" เคยฝังร่างและดวงวิญญาณไว้ที่นั่นเต็มไปด้วยแรงแค้นอันทุกข์ทรมานในหัวใจ...ยาวนายรับกว่าร้อยปี!
คำนำ : วังนางโหง
ในม่านราตรีที่มีเพียงแสงเดือนแสงดาวนั้น "ดานุ" มองเห็นตัวเองเดินเท้าเปล่าลงบันไดเรือนด้วยฝีเท้าเบา พื้นไม้มันปลายกว้างราวหนึ่งคืบและยาวประมาณหนึ่งเมตรนั้นเปียกขึ้นด้วยต้องน้ำค้างยามดึก ราวบันไดทำจากไม้เช่นเดียวกัน มีสีน้ำตาลเข้ม บางส่วนออกสีำกระดำกระด่างด้วยผ่านวันเวลามายาวนาน ปลายนิ้วเรียวของเขาลูบสัมผัสความเย็นของเนื้อไม้ รู้สึกคุ้นเคยราวกับว่าตัวเขาเดินขึ้นลง และสีมผัสมันมาแล้วหลายรอบหลายครั้ง
ดานุหันหลังกลับเมื่อลงบันไดมาได้สามขั้น ชายหนุ่มกวาดตามองชานกว่าของตัวเรือนด้วยความรู้สึกสงสัย ที่นี่ไม่มีแสงสว่างจากไฟฟ้า ราวกับเขาโผล่มาอยู่กลางป่าดงพงไพร แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังสามารถมองเห็นทุกอย่างตรงหน้าได้ด้วยแสงจันทร์เพ็ญ ชานเรื่องอย่างนั้นก็ยังสามารถมองเห็นทุกอย่างตรงหน้าได้ด้วยแสงจันทร์เพ็ญ ชานเรือนกว้างกินพื้นที่ครึ่งหนึ่งของตัวเรือน ทางมุมซ้ายมีโต๊ะและเก้าอี้ไม้แกะสลักหากไม่เป็นที่รับรองแขก ก็คงเป็นมุมพักผ่อนของเจ้าของบ้านที่ออกมานั่งรับลมชมจันทร์ ภาพที่เห็นทำให้ดานุรับรู้ในใจว่าของเรือนเหล่านี้คงฐานะดีอยู่ไม่น้อย
เนื้อหาปกหลัง : วังนางโหง
เบญจมรณา เรื่องราวของความตายที่ไม่ปรารถนา ความผิดบาปที่ถูกนำมายัดเยียดให้ ความแค้นฝังแน่นในใจ แม้ชีวิตมรณาไป ยังคงต้องการแก้แค้นให้มัน "ตาย" ชดใช้กรรม ความตายเรื่องที่ 3 "วังนางโหง"
รีวิวโดยผู้เขียน : วังนางโหง
"วังนางโหง" เป็นนิยายแนวพีเรียดเรื่องแรกของเตมัน ซึ่งได้แรงบันดาลใจเพราะผู้เขียนมีโอกาสนั่งเรือลำเล็กจากหมู่บ้านทะเลน้อย ในอำเภอเกลง จังหวัดระยอง ก่อนที่เรือลำน้อยจะพาออกไปยังปากน้ำประแสร์
ความงดงามของสายน้ำและบรรยากาศสงลงามที่ได้สัมผัสนั้น ก่อเกิดจินตนาการ กระทั่งกลายเป็นนิยายเรื่องนี้
ฉาก สถานที่ ชื่อตัวละคร และเหตุการณ์ต่าง ๆ ใน "วังนางโหง" ล้วนเป็นเรื่องสมมติทั้งสิ้น หากบังเอิญพ้องกับผู้ใดเข้า ผู้เขียนขออภัยมา ณ โอกาสนี้
ขอขอบคุณสำนักำิมำ์โซฟา บ.ก. ต้องตา ตั้งชูวงษ์ สำหรับโอกาสดี ๆ ที่มีให้ืุทุกครั้ง
ขอขอบคุณ ดร. ชวโรฒน์ วัลยเมธี สำหรับคำแนะนำในเรื่องกาพย์กลอนและภาษาสมัยอดีตบางส่วนที่ใช้นิยาย
หวังว่า "วังนางโหง" จะมอบความสุขให้ทึกคนได้บ้างครับ
เตมัน
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : วังนางโหง
เมื่อ "อดีตที่เลวร้าย" ไม่เคยเลือนหายไปตามกาลเวลา
เวลาเราทำดีกับใคร เขาอาจจดจำได้ไม่แม่นเท่าเราทำร้ายต่อเขา และถ้าหากเป็นเรา ก็คงเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน การที่เราจะตัดสินใจคิดหรือทำอะไร จึงควรคิดให้มากกว่านั่นเป็นการย้ำยีความรู้สึกผู้อื่นหรือไม่ เพียงแค่เรารู้จักเราใจเขามาใส่ใจเรา คิดว่าหากเป็นเรา เราจะรู้สึกอย่างไรที่ถูกกระทำเช่นนั้น โลกใบนี้ก็คงมีความเกลียดชังต่อกันน้อยลง
เพราะความรู้สึกของคนคล้ายกระดาษ เมื่อถูกทำร้ายมันก็ขาดและไม่อาจต่อให้ติดเหมือนเดิมได้ หลายครั้งที่เราทำร้ายความรู้สึกของคนโดยไม่ตั้งใจ และก็คงหลายครั้งเช่นกันที่คนอื่นเผลอทำร้ายความรู้สึกของเราโดยไม่ตั้งใจ ทว่าแม้สิ่งที่สูญเสียไปแล้วไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้ แต่จะจดจำมันเพื่อเก็บไว้ทำร้ายตัวเองไปไหม นั่นเราเลือกเอง,,,
เช่นเดียวกับที่ "เตมัน" เขียนเอาไวในหนังสือเล่มนี้ว่า "สิ่งที่เกิดขึ้นกับคนแต่ละคน ไม่ว่าร้ายหรือดี ล้วนมีที่ไปที่มาทั้งนั้น สาเหตที่เกิดขึ้น เราอาจเห็นด้วยตา วิเคราะห์เหตุปละผลได้ด้วยสติปัญญาของตัวเอง แต่บางเรื่อง บางอย่าง อาจใช้เวลาเนิ่นนานกว่าจะเดินทางมาถึงเรา จนเราไม่สามารถจดจำสาเหตุแห่งผลของมันได้"
สุดท้าย "การปล่อยวางและอโหสิกรรมให้" จดลดความทุกข์ หนักหนาในใจของเรา
ต้องตา ตั้งชูวงษ์
บรรณาธิการ