ดร.อัมเบ็ดก้าร์ รัตนบุรุษแห่งชมพูทวีป

ผู้เขียน: พระอาจารย์อารยะวังโส

สำนักพิมพ์: ดีเอ็มจี/DMG Book

หมวดหมู่: ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา , ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา

0 (0) เขียนรีวิว

179.10 บาท

199.00 บาท ประหยัด 19.90 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จากจัณฑาลสู่ บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย พบวิธีการต่อสู้แบบพุทธ เพื่อปลดแอกชนชั้นที่ฝังรากมากว่าห้าพันปี! < แสดงน้อยลง จากจัณฑาลสู่ บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย พบวิธีการต่อสู้แบบพุทธ เพื่อปลดแอกชนชั้นที่ฝังรากมากว่าห้าพันปี!
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

179.10 บาท

199.00 บาท
199.00 บาท
ประหยัด 19.90 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
207 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
15 x 23 x 1.4 CM
น้ำหนัก
0.32 KG
บาร์โค้ด
9786167036137

รายละเอียด : ดร.อัมเบ็ดก้าร์ รัตนบุรุษแห่งชมพูทวีป

" หนังสือ ดร.อัมเบ็ดก้าร์ รัตนบุรุษแห่งชมพูทวีป เรียบเรียงโดย พระอาจารย์อารยะวังโส เนื้อหาในเล่ม ท่านได้เล่าถึงขณะที่ไปเยือนอินเดีย และบังเอิญได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับชาวพุทธในอินเดียที่ต่างพากันมาประกาศตนเป็นพุทธมามกะเป็นครั้งแรก ในวันวิสาขบูชา เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2548 ณ สังเวชนียสถาน ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ที่ตำบลพุทธคยา อำเภอคยา จังหวัดปัตนะ รัฐพิหาร

นับแต่นั้นมา พระอาจารย์ก็ได้ทราบว่า ในอินเดียยังมีหมู่ชนที่ยังนับถือศาสนาพุทธอยู่และขณะที่ท่านกำลังมองหาความจริงของชาวพุทธ ก็ได้พบกับรูปภาพของบุรุษผู้หนึ่ง ที่ปรากฏบนบัตรแสดงตนของชาวพุทธกลุ่มนี้ นามว่า ดร. บี.อาร์. อัมเบ็ดก้าร์ ทำให้สงสัยต่ออีกว่า บุคคลท่านนี้ คือใคร มีความสำคัญอย่างไร และเข้าไปเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างไร

ในเวลาต่อมาพระอาจารย์อารยะวังโส ผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ก็เดินทางไปที่อำเภอคยา รัฐพิหาร ชาวพุทธในเมืองแห่งนี้ก็มีความปลาบปลื้มยินดี พร้อมทำการต้อนรับพระอาจารย์อย่างยิ่งใหญ่ ที่สำคัญไปกว่านั้น คือการได้เห็นอนุสาวรีย์ของบุรุษท่านหนึ่ง นามว่า ดร. บี.อาร์. อัมเบ็ดก้าร์ และเหนือสิ่งอื่นใดชาวพุทธในเมืองคยาแห่งนี้ได้ให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง ในทุกๆ ปีได้มีการนำพวงมาลัยดอกไม้ไปแสดงความเคารพรูปปั้นของท่านผู้นี้ และเป็นเช่นนี้ทุกแห่งหน

โดยเฉพาะในรัฐมหาราษฎร์นั้น เป็นดินแดนที่มีชาวพุทธซึ่งมาจากการฟื้นคืนกลับของพระพุทธศาสนาในยุคกึ่งพุทธกาล และภายใต้การนำของบุรุษท่านนี้ ผู้ที่กล่าวยกย่องพระพุทธศาสนาว่า เป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ภารดรภาพ ความเสมอภาค ทั้งยังเชื่อว่า พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่ปฏิเสธระบบวรรณะ และท่านก็ได้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะอย่างสมบูรณ์ มีประชาชนหลายแสนคนที่เป็นชาวอธิศูทร พร้อมใจกันมาเพื่อเข้าร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ณ เมืองนาคปุระ ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติสังคมในอินเดียครั้งใหญ่ โดยไม่ใช้อาวุธและกำลังใดๆ นับเป็นการสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่สังคมฮินดูไปทั่วชมพูทวีป
"

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว