โลกตะวันตกก่อน ค.ศ. 1492

ผู้เขียน: อนันต์ชัย เลาหะพันธุ

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

108.00 บาท

120.00 บาท ประหยัด 12.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 4 คะแนน

  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: ประวัติศาสตร์ , สารคดีเชิงวิชาการ

108.00 บาท

120.00 บาท
120.00 บาท
ประหยัด 12.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 4 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
111 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
0 x 0 x 0 CM
น้ำหนัก
0.147 KG
บาร์โค้ด
9789990096972

รายละเอียด : โลกตะวันตกก่อน ค.ศ. 1492

โลกตะวันตก ก่อน ค.ศ.1492 เป็นการสำรวจรากเหง้าของอารยธรรมตะวันตก นับตั้งแต่ชาวซูเมเรีย (Sumerian) ในโมเสโปเตเมีย (Mesopatamia) และชาวอียิปต์โบราณคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น ทำให้โลกก้าวสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” ที่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ในการอ้างอิง มีการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีพ รวมทั้งการสร้างระบบการปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ งานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและแนวคิดด้านศาสนา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อๆ มาจนสิ้นสมัยโบราณ ต่อมาโลกตะวันตกก็ได้เข้าสู่สมัยกลาง (Middle Ages) และสร้างอารยธรรมยุโรปที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง แม้ในช่วงแรกของสมัยกลาง งานสร้างสรรค์และภูมิปัญญาจะเลือนหายไป แต่เมื่อโลกตะวันตกฟื้นตัวและเศรษฐกิจคึกคักในคริสต์ศตวรรษที่ 11 การหล่อหลอมของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบใหม่าของสังคมฟิวดัล (feudal society) เข้ากับคริสต์ศาสนาก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เกิดการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ การสร้างสราค์นวัตกรรมใหม่ๆ และการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการของกรีก-โรมัน เนื้อหาของหนังสือจบลงเมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ค้นพบทวีปอเมริกาใน ค.ศ.1492 และชัยชนะของชาติตะวันตกในการบุกเบิกโลก เพราะหลังจากนั้นอารยธรรมตะวันตกหรืออารยธรรมยุโรปก็แผ่กระจายไปทั่ว เป็นการเริ่มต้นของ “ประวัติศาสตร์สมัยใหม่” ของโลกตะวันตก หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นหนังสือเรียนหรือหนังสืออ่านประกอบส่วนหนึ่งของรายวิชาอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมโลกในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหวังว่าคงจะมีส่วนสร้างความเข้าใจให้แก่นักศึกษา (รวมทั้งบุคคลทั่วไป) ในการเรียนรู้ “เรื่องของเขา” ซึ่งความจริงก็คือ “เรื่องของเรา” ให้มากขึ้นด้วยทั้งนี้เพราะความเจริญและวิถีชีวิตของชาวตะวันตกได้มีอิทธิพลต่อชาติต่างๆ ในปัจจุบันแทบทุกย่างก้าว และจะมีส่วนกระตุ้นให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพื่อหาคำตอบในเชิงลึกต่อไป

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว