คำไทยเทียบคำเขมร

ผู้เขียน: ชูชาติ ชุ่มสนิท

สำนักพิมพ์: ดอกหญ้าวิชาการ

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

0 (0) เขียนรีวิว

178.20 บาท

198.00 บาท ประหยัด 19.80 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ < แสดงน้อยลง เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

178.20 บาท

198.00 บาท
198.00 บาท
ประหยัด 19.80 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
192 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
18.5 x 26 x 1 CM
น้ำหนัก
0.35 KG
บาร์โค้ด
8858710308495

รายละเอียด : คำไทยเทียบคำเขมร

คำในภาษาอื่นที่เรานำมาใช้ในภาษาไทย นอกจากบาลีและสันสกฤตแล้ว ยังมีคำเขมรอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษามอญ-เขมร เขมรมีตัวอักษรของชาติตนเอง ใช้ซึ่งตัวอักษรเหล่านั้นได้ดัดแปลงมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เพราะเหตุที่เขมรเคยเป็นชาติที่รุ่งเรืองในแหลมทองมาก่อนที่ชาติไทยจะได้อพยพลงมาจากถิ่นเดิม เมื่อไทยมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในดินแดนที่เขมรมีอำนาจ ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะหันไปนิยมวัฒนธรรมของชาติที่เจริญกว่า ภาษาเขมรซึ่งนับเป็นวัฒนธรรมแขนงหนึ่งจึงได้รับความนิยมยกย่อง นำเข้ามาใช้ปะปนกับภาษาไทยเป็นอันมาก

นอกจากภาษาแล้ว ตัวอักษรเขมรที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่าอักษรเขมรขอม ยังได้รับความยกย่องเทิดทูนอยู่ในฐานะสูงสุด นับถือกันในหมู่คนไทยว่าเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์มาเป็นเวลานาน ในปัจจุบันนี้ความเชื่อถือนั้นก็ยังมีอยู่ และจะมีอยู่เรื่อยไปจนกว่าความเชื่อทางไสยศาสตร์จะสูญสิ้นไป ถ้าคลี่ตะกรุดและผ้าประเจียดออกดูจะเห็นได้ชัดว่าความศักดิ์สิทธิ์ของอักษรขอมยังคงมีอยู่จนทุกวันนี้


สารบัญ : คำไทยเทียบคำเขมร

    • คำชี้แจงหลักการเรียบเรียงและการใช้
    • หลักวิชา
    • คำเขมร หลักภาษาไทย กำชัย ทองหล่อ
    • คำเขมรในภาษาไทย หนังสือพิมพ์ข่าวสด
    • ภาษาเขมรในภาษาถิ่นใต้ สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้
    • คำไทยในวจนานุกรมเขมร

เนื้อหาปกหลัง : คำไทยเทียบคำเขมร

"เพื่อความเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านและเข้าใจความเป็นไทยผ่านวัฒนธรรมทางภาษา อันนำพาสู่ความเป็นพลเมืองประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่ปี 2559 หนังสือ "คำไทยเทียบคำเขมร" เล่มนี้มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ด้านภาษาระหว่างไทยกับเขมรที่มีมาช้านาน ซึ่งดูเหมือนว่าภาษาไทยกับภาษาเขมร

ทั้งอดีตนานไกลทั้งปัจจุบันและอนาคตกาลจะต้องมีการหยิบยืมกันใช้ ทั้งรูปแบบของไทยยืมเขมรหรือเขมรยืมไทยอย่างไม่มีวันสิ้นสุด"



รีวิวโดยผู้เขียน : คำไทยเทียบคำเขมร

หนังสือ "คำไทยเทียบคำเขมร" หรือ "คำเขมรเทียบคำไทย" เล่มนี้ม่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมด้านภาษาไทยกับเขมรหรือเขมรกับไทยที่มีมาช้านาน

ซึ่งดูเหมือนว่าภาษาไทยกับภาษาเขมรทั้งอดีตนานไกลทั้งปัจจุบันและอนาคตกาลจะต้องมีการหยิบยืมกันใช้ทั้งในรูปแบบไทยยืมเขมร เขมรยืมไทยอย่างไม่มีวันสิ้นสุดยุติ

ย้อนอดีตหนังสือชื่อ "จินดามณี เล่ม 1-2 กับบันทึกเรื่องหนังสือจินดามณีและจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ" ซึ่งกรมศิลปากรอนุญาตให้ศิลปาบรรณาคารพิมพ์จำหน่ายเมื่อ พ.ศ.2512 หน้า 49 บันทึกไว้ว่า

"อนึ่ง เมื่อจะทำโคลงสิ่งใดให้รู้จักพากยทั้งหลาย คือ ตลุมพธพากย กำภุชพากย สยามพากย สิงหลพากยภุกามพากย หริภุญไชยพากยตเลงพากย มคธพากย ให้เอาศัพย์ทั้งหลายนั้นประกอบ"

คำว่า "กำภุชพากย" นั้นแน่นอนย่อมหมายถึงภาษาเขมร แม้ในปัจจุบันแทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีเอกสารเล่มใดเรื่องใดของไทยที่ไม่มีคำเขมร ในรูปไทยเสียงไทยแทรกปนอยู่พจนานุกรมไทยฉบับต่างๆ ยืนยันได้เป็นอย่างดีขอยกตัวอย่างเอกสารหลักที่ภาษาเขมรมาปนอยู่ในภาษาไทยหรือภาษาไทยไปปะปนอยู่ในภาษาเขมร คือ

  • พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542
  • พจนานุกรมไทย-เขมร ดร.กาญจนา นาคสกุล พ.ศ.2542
  • พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน พ.ศ.2516-2528
  • สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา พ.ศ.2529

ผู้รวบรวมและเรียบเรียงคำไทยเทียบคำเขมรหรือคำเขมรเทียบคำไทย ได้แบ่งเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ออกเป็น 3ภาค คือ

ภาคที่ 1 เป็นหลักวิชาการ ภาคนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอนย่อยๆ คือ

1.1 คำเขมรจากหลักภาษาไทย ของอาจารย์กำชัยทองหล่อ 2525

1.2 บทความเรื่อง "คำเขมรในภาษาไทย"

1.3 ภาษาเขมรในภาษาถิ่นใต้จากสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้

ภาคที่ 2 คำเขมรในพจนานุกรมไทย

ภาคที่ 3 คำไทยในวจนานุกรมเขมร

ในหนังสือเล่มนี้มึคำเขมาอยู่อย่างน้อย 6200-6300 คำ โดยมีที่มาจากแหล่งต่างๆ ดังนี้

1.คำตัวอย่างจากหลักภาษาไทย โดยอาจารย์กำชัย ทองหล่อ 55 คำ

2.คำตัวอย่างจากคอลัมน์ที่ 13 หนังสือพิมพ์ข่าวสด 57 คำ

3.คำตัวอย่างจากสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ 45 คำ

4.คำเขมรจากพจนานุกรมไทยที่ยกมาเป็นคำตั้ง (Main Entry) 1843 คำ

5.คำเขมรที่ผู้รวบรวมเรียบเรียงค้นมาเป็นลูกคำ (Sub Entry) ประมาณ 3084 คำ

6.คำไทยในวจนานุกรมเขมรที่ยกมาเป็นคำตั้ง (Main Entry) 384 คำ

7.คำเขมรที่ผู้รวบรวมค้นมาเสริมเป็นลูกคำ (Sub Entry) 827 คำ รวมคำเขมรที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ 6296 คำ หรือประมาณ 6200-6300 คำ

เท่าที่สังเกตคำไทยกับคำเขมรมีความเหมือนหรือความใกล้เคียงคล้ายคลึงหรือสัมพันธ์กันอยู่ใน 3 ระดับของวัฒนธรรมด้านภาษาคือ

1.คำหรือศัพท์ที่ใช้ร่วมกันซึ่งเป็นคำหรือศัพท์ทางศาสนาหรือลัทธิที่มาจากชมพูทวีป

2.คำที่เป็นศัพท์บัญญัติ

3.คำสามัญที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป

อนึ่งในการรวบรวมและเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ดูรูปร่างหน้าตากระเดียดไปข้างพจนานุกรม แต่ผู้รวบรวมเรียบเรียงยังไม่อยากให้เป็นพจนานุกรม ด้วยเหตุผลว่ายังมีข้อบกพร่องอยู่อย่างน้อย 2 ประการคือ

เอาแต่คำที่นักปราชญ์ปริวรรตเป็นอักษรไทยมาโดยไม่มีอักษรเขมรกำกับ ไม่มีคำออกเสียงกำกับคำเขมร ซึ่งในประเด็นที่สองนี้ต้องยอมรับว่าผู้รวบรวมเรียบเรียงไม่มีประสบการณ์ในการออกเสียงเขมรเลยและเชื่อตามอาจารย์บรรจบ พันธุเมธา ที่บันทึกไว้ในคำชี้แจงการทำพจนานุกรมเขมา-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน เล่ม1 หน้า2 เก็บความได้ว่า

อันที่จริงการทำพจนานุกรมมุ่งที่ความหมายเป็นสำคัญ การบันทึกเสียงอ่านเป็นเพียงส่วนประกอบช่วยให้ผู้ใช้พจนานุกรมเห็นเค้าการออกเสียงภาษาเขมรเท่านั้น

ทั้งนี้เพราะการออกเสียงภาษาเขมรนอกจากจะมีบางเสียงไม่มีในไทยจนหาวิธีเขียนให้ตรงกับเสียง (เขมร) ไม่ได้อยู่แล้ว ยังมีเสียงที่ต่างกันไปตามท้องถิ่น และผู้ที่รู้ภาษาเขมรดีอยู่แล้วและคุ้นเคยกับเสียงถิ่นใด ก็อาจจะออกเสียงตามที่ตนคุ้นและถนัดได้ ส่วนผู้ที่ยังไม่สันทัดก็โปรดอย่าถือว่าพจนานุกรมคือหนังสือสอนอ่าน

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว