รายละเอียด : ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
"ขอเชิญทุกท่านดื่มด่ำไปกับตัวอะกษรอัน ภาณุ ตรัยเวช ได้บรรจงร้อยเรียงออกมาเป็นเรื่องเล่าขนาดยาว เรื่องเล่าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยรสอันหลากหลาย ทั้งสุขและเศร้า ทั้งหวานและขม ผู้คนประหลาดทั้งที่เป็นอัจฉริยะและฆาตกร วีรบุรุษและจามมาร อุดมการณ์อันงดงามและบ้าคลั่ง ดารประลงกำลังทางสติปัญญา เสียงดนตรี กลิ่นคาวเลือด เปลวเพลิง จุดจบ อันมืดและต่ำช้า เรื่องเล่นอันเกิดขึ้นจริง ณ ห้วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตรฺของมนุษย์ชาติ"
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
คำนำ : ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
สำหรับผู้ที่สนใจทางด้านปนะวัติศาสตร์ไม่ว่าจะศึกษาวิชาประวัติศาสตร์อย่างเป็นอาชีพหรทอศึกษาแบบสมัครเล่น เชื่อแน่ว่าคงต้องมีช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ช่วงใดช่วงหนึ่งที่เร้าความสนใจเป็นพิเศษยิ่งกว่าช่วงเวลาอื่นๆ ช่วงเวลาที่เร้าความสนใจทางประวัติศาสตร์เป็นพิเศษของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับภาณุ ตรัยเวชผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ดูเหมือนว่าประวัติศาสตร์ของชนชาติเยอรมันสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ จะเร้าความสนใจของเขามากเป็นพิเศษ เห็นได้จากการที่เขาสะสมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัตศาสตร์เยอรมนีช่วงสาธารณรัฐไวมาร์มาอย่างยาวนานทีละเล็กทีละน้อย ผ่านเพจ ในไวมาร์เยอรมัน และในที่สุดความรู้ความเข้าใจที่เขาได้สั่งสมมาเป็นเวลาหลายปีก็ปรากฏเป็นหนังสือเล่มนี้
สารบัญ : ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ตั้งไข่
รุ่งโฦรจน์
เย้ายวน
ดับสลาย
เนื้อหาปกหลัง : ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
"หนังสือเรื่อง ในสาธารณรัฐไวมาร์ฯ ของคุณภาณุ เป็นหนังสือเกร็ดประวัติศาสตร์เล่มแรกๆ ที่มุ่งเสนอภาำพของประเทศเยอรมนีช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนกระทั่งถึงการครองอำนาจของฮิตเลอร์และพรรคนาชี คุณภาณุนำเอาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ภาพของสังคม ศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรม เศรษฐกิจต่างๆ ของเยอรมนีในช่วงเวลาราวๆ ยี่สิบปีมาเพื่อให้เราเข้าใจ ว่าฮิตเลอร์ขึ้นครองอำนาจเด็ดขาด และทำให้ประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นอู่รารยธรรมอันสูงส่งขอยุโรปในเกือบทุกๆ ด้านกลายเป็นประเทศที่ก่อสงครางโลกครั้งที่สองและก่ออาชญากรรมร้ายแรงแก่มนุษยชาตืได้อย่างไร ผู้ที่สนใจการเปลี่ยนแปลงนี้ สมควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง"
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
รีวิวโดยผู้เขียน : ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
"เปล่าเลย นักสำรวจไม่ได้นำเสนอกาลสมัยอันผ่านพ้นไปแล้วด้วย วิธีดารเล่าอดีตอย่างตรงไปตรงมา ถ้านักสำควจคนนนั้นฉลาดจริง เขาจะใช้กลวิธีอันแยบคายกว่านั้น เขาจะจู่โจมเป้าหมายจากทิศทางที่ใครๆ คาดไม่ถึง เขาจะสาดแสงไฟแห่งความจริงไปยังมุมมืดที่ไม่เคยมีใครสนใจมาก่อน เขาจะล่องเรือไปยังมหาสมุทรแห่งข้อมูล โยนถังน้อยๆ แลพตักชิ้นส่วนเล็กๆ ขึ้นมาจากความลึกสุดหยั่งนั้น ส่องชิ้นส่วนนั้นกับแสงไฟ และเพ่งพิจารณามันอย่างกระหายใคร่รู้"
ข้อความนี้ปรากฏในหนังสือประวัติศาสคร์ดนตรีแจ๊ซของสาธารณรัฐไวมาร์ มันเป็นหนังสือเล่มบางๆ ที่พูดถึงดนตรีอเมรีกันในประเทศที่อีกไม่นานจะตกอยู่ในกำมือของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หากจะหาประเด็นใดอยู่ใน "มุมมืด" ลึกไปกว่านี้ คงไม่มีอีกแล้ว
ทำไมคนปัจจุบันเช่นเราต้องสนฝจดนตรีแจ๊ซในเยอรมนี? เช่นเดียวกับที่ทำไมเราถึงต้องสนใจศิลปะดาดา สถาบันบาวเฮาส์ หรือว่าอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์? ทำไมเราถึงต้องอยากรู้ด้วยว่าเบอร์ลินเคยเป็น "นครคนบาป๐ เมื่อหลวงแห่งดนตรี ลีลาศ และเนื้อหนังมังสา?
ภายหลังความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประชาชนผู้ไม่ปรารถนาสู้ปรลบมือกับใคร เดินทางมารวมตัวกันในกรุงเบอร์ลิน โค่นลัมระบอบกษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงเยอรมนีให้่กลายเป็นประเืทศประชาธิปไตย เนื่อจากการประชุมสภาครั้งแรกจัดขึ้นที่เมืองไวมาร์ ผู้คนจึงสรรเสริญว่า มนุษยชาติกำลังดำเนินไปบนหนทางแห่งประชาธิปไตย
สิบสีปีต่อมา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขึ้นครองอำนาจในเยอรมนีค จอมเผด็จการสถาปนาดินแดนแห่
ฝันร้าย ก่อสงครางครั้วใหม่ที่โหดเหี้ยมและคร่าชีวิตผู้คนมากกว่าเมื่อสิบสี่ปีก่อนอย่างเทียบกันไม่ติด ประเทศใหญ่น้อบถูกกลืนหาย กว่าหกสิบล้านคนทั่วโลกล้มตาย เฉพาะชาวยิวความผิดพลาดประการใด ถึงได้สร้างแีศาจร้ายเช่นนี้ขึ้นมา?
เหตุใดประชาธิปไตยถึงไม่อยู่ยงคงกระพัน? สาธารณรัฐไวมาร์คือความผิดพลาดประการใด ถึงได้สร้างปีศาจร้ายเช่นนี้ขึ้นมา?
นี่คือคำถามซึ่งหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองแทบทุกเล่มพยายามตอบ และมันคือคำภามเดียวกับที่หนังสือประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊ซเล่มนี่นพยายามตอบด้วย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์รังเกียจดนตรีแจ๊ช รังเกียจศิลปวัฒนธรรมทุกชนิดที่จากสหรัฐอเมริกา กระนั้นการพยายามทำความเข้าใจว่า เหตุใดคนเยอรมันในยุคนั้นหันมาฟังดนตรีแจ๊ซ คตือ "มุมมืด" คือ"ชิ้นส่วนเล็กๆ" ที่จัช่วยให้เราเข้าใจภาวะสิ้นสูฐของระบอบประชาธิปไตยได้ดีขึ้น
"ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง" เป็นชื่อวงเสวนช่วงต้นปี 2555 ที่ผู้เขียนเข้าไปมีส่วนร่วม จุดมุ่งหมายคือ เพื่อเผยแพร่คตวามเข้าใจทีถูกต้องเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเผด็จการแห่งเยอรมนี ซึ่งสวนทางกับเรื่องเล่าที่แพร่หลายในสงคมไทย เรื่องเล่าที่บางครั้งก็ออกมาจากปากคนระดับนักวิชาการหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย
แม้ว่าเสวยาในครั้งจะตอบคำถามเกี่ยวกับเผด็จการได้บางส่วน แต่ยังมีอีกหลายส่วนยที่ถูกทิ้งไว้ไม่สมบูรณ์ และนั้นเองคือจุดเริ่มต้นของหนังสือ ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
หนังสือเล่มนี้จะมีขึ้นไม่ได้เลย ถ้าปราศจากความช่วยเหลือของคนหลายคน ผู้เขีบยนขอขอบคุณคนในครอบครัวและมิตรสหายที่ให้กำลังใจมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรณาธิการทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพที่ช่วยแ่าน ทบทวนตันฉบับ ขอบคุณอาจารย์โสรัจจ์ พี่เวียง โบ๊ต ปุ๋ง ดราฟ พี่จิตร ทราย พี่ชาย พี่ภัควดี พี่กล้า และทีมงานมติชนทุกทาานขอบคุณอาจารย์วรเจตน์สำหรับคำนิยม
หลังสือเล่มนี้ไม่ใช่ผลงานทางวิชาการ มันไม่ได้นำเสนอหลักฐานหรือการตีความใหม่ ขณะเดียวกัน จเรียกมันสาีรคดีก็เหมือนจะเรียกไม่ได้เต็มปาก อาจจะเพราะคุ้นเคยกับงานวรรณกรรมมากกว่าผู้เขียน ถึงยังยืนยังว่า หนังสือเล่มนี้เป็นนวนิยายขนาดยาว มีวีรบุรุษ มีวายร้ายมีผู้คนที่พร้อมสละชีะเพื่ออุดมการณ์ มีผู้คนที่หลงมัวเมาไปกับอุดมการณ์ที่จบลงด้วยความย่อยยับอัปราของฝ่ายแรก ก่อนโลกทั้งใบถูกกลืนหายไปในรัตติกาล นิยายที่สมจริงสมจังถึงขนาดถ้าเราหลับตา ไม่สิ ลืมตาแล้วมองไปรอบตตัว เราอาจนึกว่ากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนีช่วงทศวรรษ 1920
ขอต้อนรับผู้อ่านทุกคนเข้าสู่สาธารรัฐไวมาร์
ภาณุ ตรัยเวช
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
หากพูดถึงชื่อ สาธารณรัฐไวมาร์ เชื่อว่าบางคนอาจจะไม่รู้จัก ไม่เคยได้ยิน เป็นชื่อที่เรียกว่าไม่อยู่ในความรับรู้ของประชาชนทั่วไปและแทบจะไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนคนไทยที่ไม่ได้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ยุโรปเลย
ในทางตรงกันข้าม ชื่อ "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" กลับสั่นสะเทือนประวัติศาสตร์ในทุกยุคทุกสมัย ทุกขอบเขตเท่าที่เนื้อหาในหน้าประวัติศาสตร์พาไปถึง
และเมื่อนำคำว่า "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" มารวมกับ "สาธารณรัฐไวมาร์"สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับคือส่วนเสี่ยวหนึ่งที่ขาดหายไปในประวัติศาสตร์ของประเทศเยอรมนีในรทศวรรษ 1920 อันเป็นช่วงเวลาทีร่เยอรนมนีผันตัวเองจากระบอบกษัตรินย์สู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตนย
เกิดอะไรขึ้นกับเยอรมนีในทศวรรษ 1920? สาธารณรัฐไวมาร์คืออะไร? ประเทศผู้แพ้สงครามที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่าสงคราวอันนองเลื อดครั้งใหญ่ในยุโรปนี้ฟื้นขึ้นมาจากปากเหวแห่งความล่มจมทางเศรษฐกิจได้อย่างไร? และทำอย่างไรจอมเผด็จการสัญชาติออสเตรียจึงคึบคลานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งจองเกมการเมืองแห่งสาธารรัฐไวมาร์ได้?
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นเจ้าของตำนานมากมาน เขาเป็นบุคคลที่แวดวงวิชาการไม่อาจละความสนใจไปได้แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ฮิตเลอร์เปรียบเสมือนปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจเกิดขึ้นซ่ำสอง จากจิตรกรเร่ร่อนแห่งเวียนนากลายเป็นผู้นำพรรคนาซีค พรรคฝ่ายขวาที่น่าหวาดกลัวที่สุดในเวลานั้น จนหระทั่งขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นถึงผู้นำประเทศ แม้ทุกวันนี้ เสียงไฮล์สนั่นพร้อมเพรียงที่เราคุ่นหูจากภาพยนตร์หรือสารคดีต่างๆ ยังคงเป็นน่าฉงนสำหรับคนในยุคปัจจุบันว่าเผล็ดการสร้างมงลชนจำนวนมากที่เห็นด้วยกับความรุนแรง เห็นด้วยกับความเป็นเผด็จการสุดโต่งของเขาขึ้นมาได้อย่างไร
ทว่าแม้่ยากที่จะกล่าวจำเพาะเจาะจงว่าเพราะเหตุใด แต่ประชาธิปไตยมิอาจกลายเป็นเผด็จการได้ในชั่วข้ามคืน และความชิงชังเพื่อร่วมชาติในระดับที่สามารถฆ่าล้างเผาพันธุ์หรือส่งพวกเขาเข้าห้องรมแก๊สก็มิอาจสร้างได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือน ดังคำที่ผู้เขียนกล่าวว่า ทางเดินแห่งประวัติศาสตร์สายนี้มีมือมากกว่าหนึ่งคู่แผ้วถาง
เป้าประสงค์ที่นำเสนอหนังสือ ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ก็เพื่อที่เราจะไม่กลายเป็นหนึ่งใน "มือ" เหล่านั้น มือที่ผลักดันผู้อื่นไปสู่ความตาย แม้จะเป็นผู้อื่นที่เราเกลียดชัง หรือเพียงถูกสั่งให้คิดเกลียดชัง เช่นที่เราเข่นฆ่าผู้อื่นได้เพียงเพราะความเห็นต่างเพราะถูกทำให้เช่อว่าพวกเขาเป็นคนเลว ในศลวรรษนี้ การนิ่งเฉยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา ต่อความอยุติ ธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม บางครั้งอาจไม่ต่างอะไรจากหยุดมองเพื่อนร่วมชาติที่ถูกลำเลียงสู่ความตายก็เป็นได้
สำนักพิมพ์มติชน