THOU SHALL FEAR เจ้าจงตื่นกลัวการก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ

ผู้เขียน: กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช

สำนักพิมพ์: มติชน/matichon

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

144.00 บาท

160.00 บาท ประหยัด 16.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

เรามีชีวิตในกรงขันแห่งสันติภาพ เพื่อสยบความกลัวด้วยความหวาดกลัวที่มากยิ่งกว่า < แสดงน้อยลง เรามีชีวิตในกรงขันแห่งสันติภาพ เพื่อสยบความกลัวด้วยความหวาดกลัวที่มากยิ่งกว่า
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

144.00 บาท

160.00 บาท
160.00 บาท
ประหยัด 16.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
191 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.2 x 21.4 x 1 CM
น้ำหนัก
0.214 KG
บาร์โค้ด
9789740214793

รายละเอียด : THOU SHALL FEAR เจ้าจงตื่นกลัวการก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ

"Thet might have gun, but we have flower."

-Angel Le-

(In response to Paris Attack)

"พวกเขาอาจมีปืน แต่พวกเรามีดอกไม้"

-แองเจิล เล-

(ปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่ปารีส)


คำนำ : THOU SHALL FEAR เจ้าจงตื่นกลัวการก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ

ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาด้วยความตั้งใจที่จะได้มีส่วนร่วมในการเปิดแนวทางในการจัดการกับความกลัว และปัญหาความรุนแรงอย่างภัยจากการก่อการร้ายให้กับสังคมบ้าง แม้จะเป็นเพียงเสี้ยวส่วนเล็กๆให้สังคมพร้อมจะรับมือกับภัยได้อย่างเข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหาและต้นตอของความกลัว ไม่ใช่วางตัวและพฤติการณ์ต่างๆอยู่บนรากฐานความไม่รู้

ผมเชื่อว่าเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จนจบแล้ว หลายคนอาจจะเลิกคิ้ว หลายคนอาจจะบอกว่าผมนนั้นเป็นพวกอุดมคตินิยมที่หวังให้เราแก้ปัญหาการก่อการร้ายด้วยการใส่ความเป็นมนุษยนิยมในการแก้ปัญหาความรุนแรงและโหดร้าย จะนำไปสู่โลกที่สันติสุขไร้ความหวดกลัวนั้นเป็นฝันที่ห่างไกลความเป็นจริงเสียยิ่งกว่าอุดมคตินิยมแบบที่ผมเชื่อมากนัก และผมคิดว่าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เราเห็นมานับครั้งไม่ถ้วนแล้วว่า ความโหดร้ายและรุนแรงที่หนักยิ่งขึ้น จนทุกฝ่ายบอบช้ำเกินกว่าจะเยียวยา จึงเริ่มต้นหาทางแก้แบบใหม่กัน

กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช

31 มกราคม 2559


สารบัญ : THOU SHALL FEAR เจ้าจงตื่นกลัวการก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ

    • ภาพรวมของสถานการณ์ก่อการร้ายและความเข้าใจในปุจจับัน
    • ก่อการร้าย : คำ และความหาย
    • ความกลัว : ที่มา และการครอบงำ
    • ความย้อนแย้ง : สงครามกับสันติภาพ รัฐกับการก่อการร้าย
    • เมื่อความกลัวมาเยือน : กรงขังในนามสันติภาพและประชาธิปไตย
    • รัฐในฐานะผู้ก่อการร้าย : อาชญากรรมโดยรัฐในนาม "สันติภาพ"
    • ทางออก? แสงสวา่งที่เริ่มเผยตัว กบัโทเดลทางออกที่ล้มเหลวอย่างซ้ำ

เนื้อหาปกหลัง : THOU SHALL FEAR เจ้าจงตื่นกลัวการก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ

"เมื่อเราได้ีรับบทเรียนและตัวอย่างจากประวัติศาสตร์แห่งการฆ่าฟันกัรเองของมนุษย์เราควรเรียนรู้ที่จะก้าวลัดผ่านขั้นตอนดังกล่าว และเริ่มมหาหนทางในการแก้ปัญหาใหม่ โดยไม่ต้องให้ความเล่นสลายมาเยือนเราก่อน"

 



รีวิวโดยผู้เขียน : THOU SHALL FEAR เจ้าจงตื่นกลัวการก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ

ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาด้วยความตั้งใจที่จะได้มีส่วนร่วมใน การเปิิดแนวทางในการจัดการร้ายให้กับสังคมบ้าง แม้จะเป็นเพียงเสี้ยวส่วนเล็กๆ ให้สงคมพร้อมจะรับมือภัยได้อย่างเข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหาและต้นตอของความหลัว ไม่ใช่วางตัวและพฤติการณ์ต่างๆ อยู่บนฐานของความไม่รู้

ด้วยความมุ่งหวังที่อยากให้สังคมรู้เท่าทันต้นตนของความกลัวและภัยทางความมั่นคงต่างๆ ผมจึงตั้งใจเขียนหนังสือเล่มนี้โดยไม่สนใจไยดีต่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวผมเองและผู้แ่านมากนัก จงใจเขียนเปิดอก และปล่อยให้กระบวนการของตรรกะทำงานด้วยมันเองอย่างเต็มที่ จนบางครั้งผู้อ่านอาจจะพบว่าผมมีข้อเสนอที่ท่าร้ายจิตใจหลายประการ หรืออาจจะครั้งผู้อ่านอาจจะพบวว่าผมมีข้อเสนอที่ทำร้ายจิตใจหลายประการ หรืออาจจะเข้าใจไปได้ถึงขั้นที่ว่าผมรังเกียจประชาธิผไตรเสรี ผมจึงอยากอาศับพื้นที่เล็กๆ ในนี้อธิบายว่าภาพต่างๆ ที่ดูจะเลวร่ายของภาวะสมัยใหม่ และประชาธิปไตยเสรีที่กำลังจะปรากฏแก่สายตาของท่านในส่วนจ่อๆ ไปของหนังสือเล่มนี้ีไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อทำลาย (Discredit) ประชาติปไตย หากแต่เขียนขึ้นเพื่อให้เรารู้เท่าทันในสิ่งที่เรา (ผม) รัก และต้องอาศัยกับมันต่อไปเท่านั้น

สำหรับผมแล้วการเชื่ออย่างมืดบอด หรือไม่รู้เท่าทันในสิ่งที่เรานิยทชมชอบ เป็นลักษณะของความสัมพันธ์ที่ไม่สมบูรณ์พูรสุขนัก ไม่ว่านั้นจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนหรือคนกับระบอบความคืดใดๆ ก็ตาม

จุดเริ่มต้นที่สำสัญที่สุดของหนังสือเล่มนี้คือ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของผมเองในชื่อ The Delegimation of (Non-) state Violence : Constructing Terror in Modrnity ในช่วงที่ผมศึกษาต่อระกับปริญญาโทด้าน Terrorism and International Relations ณ Aberystwyth Universm ประเทศสหราชอาณาจักรแต่ด้วยความที่วิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าวเขียนขึ้นราว 3 ปีก่อนจะเขียนหนังสือเล่มนี้ เนื้อหาลายส่วยจึงเพิ่มเติมขึ้นมาและเรียบเรียงใหม่ทั้งหมด รวมทั้งปรับปรุงให้มีเนื้อหาที่อ่านได้เข้าใขง่ายขึ้นสำหรับผู้อ่านที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านทฤษฏีใดๆ มาก่อนเลย

อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าควรจะเตือนให้ผู้อ่านเข้าใจแต่่แรกว่าหนังสือเล่มนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องสือที่อ่านง่ายนัก ไม่ได้มีการยกเหตุการณ์ต่างๆ มาเล่าให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกสนานหวือหวาไปกับการอ่าน(กราบขออภัยอย่างสูงครับ) นั้นเพราะโดยเนื้อแท้แล้วหนังสือเล่มนี้ต้องการพูดถึงทฤษฏีแกนกลางของการก่อการร้านและการสร้างความหวาดหลัว อีกทั้งนังมุ่งหวังที่จะนำเสนอทางออกให้ดับปัญกาดังกล่าว

ผมเชื่อว่าเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จนจบแล้วำลายคนอาจจะเลิกคิ้ว หลายคนอาจจะบอกว่าผมนั้นเป็นพวกอุดมนิยมที่หวังให้เราแก้ปัญหาการก่อการร้ายด้วยการใส่ความเป็นมนุษย์เข้าไปให้่มาก ให้เชื่อในการใช่มนุษยนิยมในการแก้ปัญฆาความรุนแรง แต่ผมเองก็อบยากจะบอกว่าความเชื่อที่ว่าสงคราวท ี่รุนแรงและโหดร้ายจะนำไปสู่โลกที่สัยติสุขไร้ความหวาดกลัวนั้นเป็นฝันที่ห่างไกลความเป็นจริงเสียยิ่งกว่าอุดทคตินิยมแบบที่ผมเชื่อมากนัก และผมคิดว่าประวัติษสตร์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เราเห็นมารนับครั้งไม่ถ้วนแล้วว่าความโหดร้ายและรุนแรงไม่เคยนำพาไปสู่ทางออกอื่นเลย นอกเสียจากความโหดร้ายและรุนแรงที่นักยิ่งขึ้น จนทุกฝ่ายบอบซ้ำเกินกว่าจะเยียวยา จึงจะเริ่มต้นหาทางแก้แบบใหม่กัน

กระนั้น ผมเชื่อมั่นในตัวมนุษย์ เชื่อมั่นว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ ในเมื่อเราได้รับบทเรียนและตัวอย่างจะประวัิติศาสตร์แห่งการฆ่าฟันกันเองของมนุษย์มาตลอดหลายพันปีแล้ว เราควรสามารุถเรียนรู้ที่จะ "ลัดขั้นตอน" เรียนรู้ที่จะไม่ปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ใตนวงกตของการใช้ความรุนแรงจนกระทั่งพังำลายเกินกว่าจะกู้คืนได้ เราควรเรียรรู้ที่ก้าวลัดผ่านขั้นตอนดังกล่าว  และเริ่มหาหนทางในการแก้ปัญหาใหม่โดยไม่ต้องความล่มสบายมาเยือนเราก่อน

กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช

31 มกราคม 2559



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : THOU SHALL FEAR เจ้าจงตื่นกลัวการก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ

เหตุวินาศกรรม 9/11 การก่อการร้าย ณ กรุงปารีส ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งการวางระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ในปี 2558 ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ทพให้เราประทับภาพของคำว่า "ก่อการร้าย" เสมือนปรากฏการณ์อันน่าเน่าหวาดกลัวในมิติที่สุดขั้ว เป็นทั้งความชั่วร้ายที่ไม่อาจดำรงอยู่ได้ และความรุนแรงที่วมควรจำกัด จนเราพร้อมจะทำทุกวิธีทางเพื่อหยุดยั่งมัน แม้จะด้วยการใช้ึความรุนแรงที่ส่งผลเสียมากกว่าการ "ก่อการร้าย" ดังกล่าวก็ตาม

แรงขับของคำว่า "ก่อการร้าย" สร้างจินตภาพให้เรามองคำว่า "ก่อการร้าย" เกินกว่าความเป็นจริง ซ้ำยังเกินเลยในระดับที่ลืมหยุดคำนึงว่าผู้ก่อการร้านเหล่านั้นต่างก็มีแรงผลักดันของตน หากมองจากฐานของคุณค่าความเป็นมนุษย์ เมื่อเราหยุดยั้งการ "ก่อการร้าย" ด้วยการตอบย้ำความรุนแรง เราเองก็กำลัง "ก่อการร้าย" ในทางหนึ่งและทำให้ความรุ่นแรงนี่นยิ่งแผ่ลาม กระทั่งกลายเป็นวงจรแห่งความสุญเสีย และเราเลือกที่จะหวาดหลัวมันยิ่งหว่าความกลัวอื่นใด

เจ้าจงตื่นหลัว วลีหนึ่งของหนังสือเล่มนี้มิได้ต้องการให้ผู้แ่าน "ตื่นกลัว" ในความหายที่สมควรวาดหลัวหรือหวาดระแวงอย่างรู้ดท่าไม่ถึงการณ์ แต่พึงให้ผู้แ่านเข้าใจที่มาของความ "ตื่นกลัว" นั้นเพราะเมื่อเราตระหนังได้ไว่าเีรากำลังหวาดกลัวอะไร เราก็จะสามารถจัดการกับความกลัวนั้นได้โดยไม่ต้องรอให้ใครชี้นิ้วสั่งว่าเราควรรุ้สึกอย่างไรและควรใช้วิธีใดตอบโต้ต่อเหตุการณ์นั้น

ขอขอบคุณศูนย์ข้อมูลมติชนที่เื้อเฟื้อภาพข่างวที่นำมาประกอบและขอขอบคุณ คุณ Andy Singer  สำหรับภาพการ์ตูนทุกชิ้นที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่และแปลเป็นภาษาไทย สุดท้าย ขอบคุณคุณเฉลิมพล แพทยกุล ที่ให้คำปรึกษาด้านคำศัพท์เฉพาะทางรัฐศาสตร์ตลอดจนบรรณาธิการฝ่ายวรรณกรรมแปลทุกท่าน

เมื่อเราได้ทำความเข้าใจต้นของความหวาดกลัว และจับจามองความเคลื่อนไหวของทุกๆ เหตุแห่วความน่าหวาดกลัวที่เกิดขึ้นเราจะย้อนกลับมาถามตัวเองอีกครั้ง...ว่าแท้จริงแล้วเราสมควรหวาดกลัวต่อสิ่งใด๐

สำนักพิมพ์มติชน

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว