ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน

ผู้เขียน: กองบรรณาธิการ

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

225.00 บาท

250.00 บาท ประหยัด 25.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

จัดพิมพ์ในโอกาส 100 ปี ชาตกาลป๋วย อึ้งภากรณ์ < แสดงน้อยลง จัดพิมพ์ในโอกาส 100 ปี ชาตกาลป๋วย อึ้งภากรณ์
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

225.00 บาท

250.00 บาท
250.00 บาท
ประหยัด 25.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
256 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
16.5 x 24 x 1.5 CM
น้ำหนัก
0.407 KG
บาร์โค้ด
9786167202679

รายละเอียด : ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน

หนังสือ ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน เล่มนี้ รวบรวมบทความ 6 ชิ้น จากนักวิชาการรุ่นใหม่หลากสาขาวิชาจำนวน 7 ท่านทีถูกเชื้อเชิญให้ศึกษาแง่มุมความคิดและผลงานของป๋วยใน 6 มิติที่ป๋วยได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาชนบท การศึกษา สิทธิมนุษยชน สันติวิธี และประชาธิปไตย จุดมุ่งหมายที่ต้องการมิใช่รวมบทความงานเขียนที่สรรเสริญเยินยอบุรุษที่ชื่อป๋วย อึ้งภากรณ์ ซึ่งย่อมมิใช่สิ่งที่ท่านปรารถนาเป็นแน่แท้ แต่หากคือการรวมบทความที่ผ่านการศึกษาวิจัยอย่างเจาะลึกจริงจังถึงเนื้อหาความคิด มรดกตกทอดและความเชื่อมโยงถึงสิ่งที่ป๋วยได้ทำไว้ในอดีตกับสังคมไทยปัจจุบัน

ประจักษ์ ก้องกีรติ ปกป้อง จันวิทย์

บรรณาธิการ


คำนำ : ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน

อุดมคติชื่อ “สันติประชาธรรม”

ป๋วย อึ้งภากรณ์ มีความฝันที่จะเห็นสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติไปสู่สังคมที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น และไปสู่สังคมที่ประชาชนมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ อาจจะไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่าการอุทิศตนทำงานเพื่อส่วนรวมตลอดชีวิตที่ผ่านมานี้ แม้ในยามเฒ่าชราและสังขารร่วงโรยปานนี้ ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสจะเสพสุขในชีวิตบั้นปลายเยี่ยงชนชั้นกระฎุมพีทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อให้สังคมในโลกแห่งความฝันกลายเป็นสังคมในโลกแห่งความเป็นจริง แต่ สันติประชาธรรม จะเกิดขึ้นได้อย่างไร กระแสธารแห่งประวัติศาสตร์เท่านั้นที่จะบอกเราได้

ถ้อยความของชาญวิทย์ เกษตรศิริ และรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ซึ่งเขียนขึ้นในวาระครบรอบ 60 ปีของป๋วย อึ้งภากรณ์นั้นเป็นถ้อยคำที่ไม่ได้ล้าสมัยไปตามกาลเวลา ในวันที่สังคมไทยได้สูญเสียสามัญชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งอย่างป๋วยไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ และในวาระครบรอบ 100 ปีของบุรุษที่ “เป็นคนตรงในประเทศคด” คำถามที่ว่า “สันติประชาธรรม” จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ยังคงเป็นคำถามที่ดังกึกก้องและคงความสำคัญ อีกทั้งคู่ควรต่อการค้นคว้าหาคำตอบสำหรับอนาคตของสังคมไทย

ที่ผ่านมาป๋วยถูกจดจำในหลายมิติหลากสถานะ ตั้งแต่เป็นนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีความสามารถ เป็นข้าราชการที่ซื่อสัตย์สุจริตที่ได้วางรากฐานอันมั่นคงแข็งแกร่งให้กับระบบการเงินการคลังของประเทศ เป็นเทคโนแครตที่ยึดมั่นในหลักการและไม่ฉ้อฉล เป็นผู้บังคับบัญชาที่มีเมตตา เป็น “ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน” เป็นนักพัฒนาผู้ใฝ่หาความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นนักบริหารการศึกษาที่มีวิสัยทัศน์และเห็นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้เป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานและลูกศิษย์ชนที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพทั้งในและนอกประเทศ

มิติหนึ่งของป๋วยที่อาจจะไม่ได้รับการกล่าวถึงอย่างเด่นชัดนัก คือมิติของความเป็นนักประชาธิปไตย ป๋วยทั้งเขียน พูด และพยายามผลักดันการสร้างประชาธิปไตยในสมัยที่เขายังมีชีวิตอยู่ ทั้งยังเชื่อว่าการสร้างสังคมที่มีประชาธิปไตยและความเป็นธรรมที่เขาเรียกขานว่า “สันติธรรม” นั้น เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน โดยไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคพวกการเมืองหรือลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่สามารถทำได้ผ่านการรวมกลุ่มเป็นชมรมสมาคมเพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและอำนาจของประชาชนให้แผ่ขยายออกไป ความเข้าใจประชาธิปไตยของป๋วยนั้นแจ่มชัดและเรียบง่าย

ในการสำรวจความคิดของป๋วย ความคิดเห็นที่เด่นชัดมากประการหนึ่งของเขาคือ ความเป็นมนุษยนิยม (humanist) หรือที่ธเนศ อาภรณ์สุวรรณใช้คำว่าความเชื่อมั่นในหลัก “มนุษยภาพ” ความข้อนี้สะท้อนออกมาทั้งในแง่หลักปฏิบัติในการทำงาน การดำเนินชีวิต การปฏิบัติต่อผู้อื่นและข้อเขียนต่าง ๆ ที่สะท้อนความเชื่อเรื่องมนุษยภาพอย่างลึกซึ้ง เขาเห็นว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตอันประเสริฐ มีศักยภาพในการที่จะพัฒนาตนเองและสังคมอย่างมากมาย

เราทบทวนอดีตก็เพื่อเสาะแสวงหาทางออกให้กับปัจจุบัน ผ่านการศึกษาแนวคิดและงานของป๋วยเราได้พบทั้งอุปสรรค ข้อจำกัดในการเปลี่ยงแปลงสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ได้พบกับความหวังและแสงสว่างบางประการที่จะนำพาสังคมไทยออกไปจากวังวนของวิกฤตเปลี่ยนผ่านอันมืดมน หากสังคมไทยสามารถรื้อฟื้นสติปัญญาและพลังร่วมกันในการยึดถือเอาอุดมคติที่ชื่อว่า “สันติประชาธรรม” เป็นเป้าหมายปลายทางร่วมกัน นั่นคงเป็นการรำลึกถึงสามัญชนชื่อป๋วยที่มีคุณค่าความหมายที่สุดในวาระ 100 ปี แห่งชาตกาลของเขา

ประจักษ์ ก้องกีรติ ปกป้อง จันวิทย์

บรรณาธิการ


สารบัญ : ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน

    • เทคโนแครตกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจไทย : แนวทางปฏิบัตินิยมแบบ “แมวไม่ว่าสีอะไร ขอให้จับหนูได้ก็พอ”

      อภิชาต สถิตนิรามัย
    • เหลียวหลัง แลหน้า การพัฒนาชนบทไทย : จากแนวทางบูรณะชนบทสู่มุมมองจาก “ตัวกลางในการพัฒนา”

      ธร ปีติดล

    • การศึกษากับการสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย : พัฒนาการและความท้าทายของสังคมไทย

      วัชรฤทัย บุญธินันท์

    • มองสิทธิมนุษยชนไทยผ่านการ (ไม่) หาความจริงและการ (ไม่) รับผิด : กรณีความรุนแรงโดยรัฐที่กระทำต่อขบวนการประชาธิปไตย

      เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว

    • สันติวิธีของป๋วย อึ้งภากรณ์ : ยุทธวิธี เป้าหมาย และความหวัง

      จันจิรา สมบัติพูนศิริ

    • กรรมาธิการการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่ชื่อ “ป๋วย”

      นิฐิณี ท้องแท้ สมชาย ปรีชาศิลปะกุล

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว