รายละเอียด : ตลกรัฐธรรมนูญ
ปูนเทพมีความรู้ความสามารถในทางนิติศาตร์ จับประเด็นได้ดีเยี่ยม ค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอียดลึกซึ่ง เขียนหนังสือได้สละสลวย อภิปรายแสดงเหตุผลโต้แย้งได้อย่างแหลมคม ก่อนแสดงความเห็นในเรื่องใด เขาจะทำการบ้านตระเตรียมข้อมูลมาอย่างดี ที่สุำคัญเขามีความคิดทางการเมืองสนับสนุนนิติรัฐ-ประชาธิปไตย
ปิยบุตร แสงกนกุล
สารบัญ : ตลกรัฐธรรมนูญ
- "ตลก" รัฐธรรมนูญ บทวิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและข้อถกเถียงทางรัฐธรรมนูญ ถ่อนรัฐประหาร ๒๒ พ.ค.๕๗
- รัฐธรรมนูญคืออะไร? ทฤษฎีรัฐธรรมนูญในริบทความสับสน หลังรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม ๕๗
- รัฐธรรมนูญเพื่อระบอบ "ประชาธิปไตย..." บางทวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ๕๘
- ตุลาการ - รัฐประหาร : พันธมิตรชั่วนิรันดร์? กฎหมาย - ความยุติธรรม : เส้นขนานที่ไม่มีวันบรรจบ? บางข้อผิวจารณาเชิงนิติปรัชญา และตุลาการศึกษาในสถานการณรัฐประหาร
- ราชอาณาจักรประชาธิปไตย ข้อพิจารณาว่าด้วยอำนาขและสถานะของกษัตริย์ระบอบประชาธิปไตย
- มายาคติเกี่ยวกับสิทธิพิทักษฺรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ จาก "ขอบเขตการใช้สิทธิ สู่ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ"และมาตรา ๖๗ กับแนวความคิดว่าด้วยสิทธิต่อต้านขัดขืนผู้ปกคอลง
เนื้อหาปกหลัง : ตลกรัฐธรรมนูญ
ปูนเทพมีความรู้ความสามารถในทางนิติศาตร์ จับประเด็นได้ดีเยี่ยม ค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอียดลึกซึ่ง เขียนหนังสือได้สละสลวย อภิปรายแสดงเหตุผลโต้แย้งได้อย่างแหลมคม ก่อนแสดงความเห็นในเรื่องใด เขาจะทำการบ้านตระเตรียมข้อมูลมาอย่างดี ที่สุำคัญเขามีความคิดทางการเมืองสนับสนุนนิติรัฐ-ประชาธิปไตย
ปิยบุตร แสงกนกุล
ในเมืองหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญือเป็นจจิตวิญญาณพื้นฐานของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ดูเหมือนบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหลายปราศจากซึ่งแรงจูงใจในการรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญโดยสิ้นเชิง แตกต่างไปจากการทำหน้าที่อย่างล้นเกินในช่สงก่อนการรัฐประการที่อวดอ้างความเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญอย่างยิ่งยวด และดูเหมือนว่าศาลรัฐธรรมนูญนี้จะยังคงอยู่ต่อไปในรัฐธรรมนูญใหม่ที่จัดทำขึ้น โดยจะเพิ่มอำนาจมากขึ้นไปอีก บนความรับผิดชอลและการตรวจสอบในระดับที่น้อยมากหรือแทบไม่มีเลยจากสาธาณะหรือองค์กรที่มีความชอลธรรมทางแระชาธิปไตย ดังนี้ จากผู้มีส่วนทำลายรัฐธรรมนูญในคราวก่อนก็จะแต่งตัวมาเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญอีกครั้ง จากผู้มีส่วนก่อนสิ่งที่เรัยกว่าวิกฤตทางรัฐธรรมนูญใรคราวก่อนก็แต่วตัวมาเป็นองค์กรแก้วิกฤต
ปูนเทพ ศิรินุพงศ์
รีวิวโดยผู้เขียน : ตลกรัฐธรรมนูญ
Pierre Bourdieu นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ได้สร้างมโนทัศน์เรื่อง "สนาม" หรือในภาษาฝรั่งเศส คือ Champ เพื่ออธิบายถึงอาณาบริเวณทางสังคมที่ภายในนั้นมีการต่อสู้แย่งชิงการเข้าถึงทุนแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทุนทางเศรษฐกิจหรือทุนทางวัฒนธรรม โดยผู้เล่นหรทอตัวแทนในสนามนั้นต่างก็มียุทธวิธีตามหลักสำนึกเชิงปฏิบัติ (sens pratiques) เพื่อใช้ในการต่อสู้
เมื่อนำความคืดเรื่อง "สนาม" มาจับเข้ากับ "กฎหมาย" แล้ว Pierre Bourdieu ให้ชื่อมันว่า "สนามกฏหมาย" หรือ Champ juridiue เขาอธิบานว่า สนามกฏหมาย คือ อาณาบริเวณที่เป็นอิสระจากความต้องการหรือข้อเรียกร้องจากภายนอก และภายในอาณาบริเวณนั้น มีการผลิตและใช้อำนาจทา
กฏหมาย ซึ่งก่อรูปอย่างยอดเยี่ยมผ่านความรุงแรงทางสัญลักษณ์อันชอบธรรม โดยมีรัฐเป็นผู้ผูกขาดและสามารุประสานเข้ากับการใช้อำนาจทางกายภาพ
จากลักษณะดังกล่าง ทำให้สถานที่แห่งการแข่งขันเพื่อจะผูกขาดการบอกว่าอะไรตทอกฏหมาย ในสนามกฏหมายนี้ ผู้ตีความกฏหมายทั้งหลายต่างเผชิญหน้า เพื่อที่จะช่วงชิงว่าใครสามารถกลายเป็นผู้มีอำนาขชี้ขาดว่าอะไรคือกฏหมาย
ภายในสนามกฏหมาย มรการแบ่งงานกันในทางกฏหมาย (La division du travail juridique) โดยในผู้เล่นหรือตัวแทนในสนามกฏหมายสองสาวยหลักๆ ส่วนแรก ได้อก่ อาจารย์นิติศาสตร์ และนักกฏหมายที่มีภาระหน้าี่ในการสร้างและตีความกฏหมายในกรณีเฉพาะ เป็นรูปธรรม และเกิดผลทางกฏหมายขึ้นจริงอย่างไรก็ตาม ในบางกรณี อาจมีผู้เล่นหรือตัวแทนในสนามอื่น ๆ เข้ามาเป็นผู้เล่น หรือตัวแทนในสนามกฏกมายด้วย โดยการเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรที่เกี่ยวกับกฏหมาย เช่น นักการเมืองกลายเป็นผู้เล่นในสนามกฏหมาย โดย่านการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรหรือสมาชิกวุฒิสภา
Pierre Bourdieu ชี้ให้เห็นว่า มีความพยายามอธิบายว่าวิชานิติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฏหมาย ซึ่งเป็นระบบปิดและอิสระไม่ขึ้นกับข้อพิจารณาอื่นๆ ในทางสังคม วิชานิติศาสตร์จึงเป็นวิชาอิสระอบ่างสัมบูรณ์ในตัวของมันเอง ไม่ขึ้นกฏเกณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่กฏเกณฑ์ทางกฏหมาย การจงใจละเลยอาณาบริเวณอื่นในสังคมและพลวัตของสังคมเช่นนี้
Bourdieu อธิบายว่า รัฐเป็นผู้ผูกขากการใช้แำนาจกฏหมายบังคบเอากับบุคคลในสังคมให้สังคมให้ประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นการใช้ความรุนแรงทางสัญลักษณ์เพราะ บุคคลในสังตอมต่างก็มีสำนึกยอมรับไปแล้วว่า "กฏหมาย" (เสมือนเป็นสัญลักษณ์) กลายเป็นสิ่งที่เราต้องนอมรับนับถือและมีความชอบธรรม อำนาจกฏหมายบังคัลเราผ่านความรุนแรงทางศัญลักษณ์ ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของการ บังคับ ทางกายภาพ แต่มันแสเงออกในรูปของคุณค่าซึ่งรับใช้อำนาขที่ครอบงำสังคมอยู่
โครงสร้างขอระบบกฏหมายต่อตัวขึ้นจากความสัมพันธ์ทางอำนาจ การต่อสู้แย่งชิงอำนาจในการกำหนดกฎเกณฑ์และรูปแบบของการชี้ขาดข้อพิพาทในทางกฏหมาย นักกฏหมานพยาพยามอธิบายว่าระกฏหมายเป็นระบบปิด อิสระไม่ขึ้นกับข้อพิจารณาอื่นทางสังตม มีวัตถุแห่งการศึกษา คือ กฏหมายเท่านั้นไม่รวมถึงศีลธรรม ศาสนา ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ หรือบริบททางสังคม อย่างไรก็ตาม เอาเข้าจริงแล้ว กฏหมายไม่ได้บริสุทธ์ถึงเพียงนั้น แต่วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ หรือคุณค่าต่าง ๆ ในสังคม ได้ถูกแปลงให้กลายเป็นรูปของกหมายไปหมดแล้วโดยผ่านการกระทำของผู้เล่นในสนาถกฏหมายที่เข้ายีดครองอำนาจในการชี้ขาดว่าอะไรคือกฏหมาย