รายละเอียด : ป.อาญา พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์
ประมวลกฎหมายอาญา
พร้อมหัวข้อเรื่อง
ทุกมาตรา
ฉบับสมบูรณ์
รวบรวมโดย
บุญร่วม เทียมจันทร์
อดีตอธิบดีอัยการฯ
ศรัญญา วิชชาธรรม
ทนายความชั้น ๑ น.บ.,น.บ.ท.,น.ม.
คำนำ : ป.อาญา พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์
กฎหมายอาญาของไทยฉบับเดิม คือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑)ใช้บังคับมานานถึง ๔๙ ปีเศษ จนถึง พ.ศ.๒๔๙๙ จึงได้ถูกยกเลิกและประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่ คือ ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับปัจจุบัน บังคับใช้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ จนถึงปัจจุบัน และยังคงใช้บังคับต่อไป
กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายสำคัญที่มีโทษตั้งแต่ปรับ จำคุก ไปจนถึงประหารชีวิต เป็นเรื่องกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและชีวิตของประชาชนโดยตรง ประชาชนจึงควรที่จะรู้และเข้าใจกฎหมายฉบับนี้
ข้าพเจ้าผู้รวบรวมได้สรุปหัวข้อเรื่องไว้ทุกมาตรา เพื่อสะดวกแก่การศึกษา
อนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญาฉบับนี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ทันสมัยถึงปัจจุบัน รวมทั้ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ.๒๕๕๘, (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ.๒๕๕๘ และ(ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ.๒๕๕๘ ด้วย
กฎหมายที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ปวงชน แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า.."ความยุติธรรมที่มีอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์นั้นยิ่งใหญ่กว่ากฎหมายทั้งปวง"
ด้วยความปราถนาดี
บุญร่วม เทียมจันทร์
ศรัญญา วิชชาธรรม
สารบัญ : ป.อาญา พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์
- พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.๒๔๙๙
- ภาคที่ ๑ บทบัญญัติทั่วไป
- ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
- ภาคที่ ๒ ความผิด
- ลักษณะ ๑ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
- ลักษณะ ๒ ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
- ลักษณะ ๓ ความผิดเกี่ยวกับความยุติธรรม
- ลักษณะ ๔ ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
- ลักษณะ ๕ ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
- ลักษณะ ๖ ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
- ลักษณะ ๗ ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
- ลักษณะ ๘ ความผิดเกี่ยวกับการค้า
- ลักษณะ ๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ
- ลักษณะ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
- ลักษณะ ๑๑ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
- ลักษณะ ๑๒ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
- ลักษณะ ๑๓ ความผิดเกี่ยวกับศพ
- ภาค ๓ ลหุโทษ
เนื้อหาปกหลัง : ป.อาญา พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์
Jusrice is the spirit of law
ความยุติธรรม คือเจตนารมณ์ของกฎหมาย
รีวิวโดยผู้เขียน : ป.อาญา พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์
"คนเราควรจะให้ แต่ไม่ควรจะขออะไรจากผู้อื่น
ควรกินพอประมาณ ไม่ควาจะมากเกินไปถึงกับท้องกาง
ควรช่วยเหลือคนอื่น ไม่ใช่เหยียบย่ำ
ควรจะรับใช้ ไม่ควรคิดเป็นนายคน"
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
พระบิดาแห่งกฎหมายไทย