รายละเอียด : ก่อนกำแพงเบอร์ลินจะสิ้นสูญ
การเิปิดกำแพงเบอร์ลินโดยรัฐบาลเยอรมันตะวันออกเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1989 เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกร่วมสมัย กำแพงเบอร์ลินเป็นส่วนหนึ่งของเส้นเขตแกรที่เคยแบ่งแยกรัฐสองรัฐที่มีประชากรเชื้อชาติเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน และเคนอยู่ร่วมกันเป็นประเทศมหาอำนาจยิ่งใหญ่มาเป็นเวลาช้านาน ทั้งาองรัฐนี้แยกออกจากกันเป็นเวลาถึง 28 ปี โดยด้านหนึ่งแบ่งแยกออกเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอมรมัน หรือ "เยอรมนีตะวันออก" (ในที่นี้จะขอเรียกว่า "เยอรมันตะวันออก" ตามที่คนไทยคุ้นเคย) ซึ่งปกครองดดบพรรคคอมมิวนิสต์
ต่อมาภายในเวลาเพียง 1 ปี หลังจากกำแพงเปิด เยอรมันตะวันออกได้ขอเข้ารวมประเทศกับเยอรมันตะวันตกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1900 และได้กลายเป็นรัฐ 5 รัฐของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ซึ่งก็หมายถึงว่า เยอรมนีสามารถรวมชาติกันได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็หมายถึงว่า เยอรมันีสามารถรวมชาติได้อีกครั้งหนึ่ง (ครั้งแีรกโดยบิสมาร์ค) เมื่อปี ค.ศ. 1870 และอาจถือได้ว่าบทหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์โลก ที่โลกเคยถูกแบ่งแยกและร้อนระอุไปด้วยสงครมเย็นได้ปิดฉากลง
คำนำ : ก่อนกำแพงเบอร์ลินจะสิ้นสูญ
ผมสนใจกำแพงในฐานะ "สิ่งปลูกสร้างทางการเมือง" ในแง่ที่ว่า กำแพงขนาดใหญ่จำนวนมากในโลกถูกสร้างขั้นด้วยเหตุผลหรือไม่ก็จากอุดทการณ์ทางการเมือง กำแพง จึงเป็นการสร้างเขตแดนที่เราแบ่งในหัวให้กลายเป็นจริงขึ้นมา เพื่อแบ่งแยก "เขา" ออกจาก "เรา" ซึ่งบ่อยครั้ง "เขา" ก็กลานยเป็น "ศตรู" ด้วยเหตุนี้เองกำแพงเบอร์ลินในฐานะสัญลักษณ์สำคัญแห่งยุคสงครามเย็นจึงเป็นกำแพงการเมืองอันโดดเด่นที่ควรสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยความสนใจข้างต้น พาผมมาพบกัย งายวิจัย "การปฏบัติในประเทศสาธารรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (เยอรมันตะวันออก) อันนำไปสู่การเปิดกำแพงเบอร์ิลในปี ค.ศ. 1989"ของอาจารย์บรรพต กไเนิดศิริ บนชั้นหนังสือในห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยบังเอิญ และเมื่อได้อ่านจนจบ ผมเห็นว่างานวิจัยฉบับนี้มีคุณค่าและความน่าสนใจเกิรนกว่าที่จะปล่ยทิ้งไว้ชั้นหนังสือ ซึ่งไม่แน่ว่าเมื่อไหรีจะมีใครมาพบและอ่านมันโดยบังเอิญ จึงนำมาสู่การจัดทำหนังสือ ก่อนกำแพงเบอร์ลินจะสิ้นสูญ เล่มนี้ขึ้น
สำหรับผม ในฐานะอดีตนักเรียนรัฐศาสตร์ หนังสือเล่มนี้มีคุณค่าและความน่าสนใจอยู่หลายประการ ขึ้นอยู่กับว่าจะอ่านจากแง่มุมใด
หากสนใจประวัติศาสตร์การเมืองการประเทศเยอรมันหนังสือเล่มนี้ช่วยใช้ภาพโดยสังเชฟต่อเหตุการณ์บ้านเมืองในเยอรมันตะวันออกในปี ค.ศ. 1989 อันเป็นช่วงเวลาสำคัญช่วงหนึ่งของประเทศเยอรมนี ก่อนที่จะเกิดการรวมประเทศในปีถัดมา
หากอ่านจากมุมของสาขาวิชาการเมืองระหว่างประเทศในแง่ที่ว่า การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน เป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น ซึ่งมักถูกนับจากบรรดามักรัฐศาสตร?ว่าเ็นจุดเริ่มต้นของการร่วมสมัีย ที่โลกไม่ได้ถูกแบ่งด้วยอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยและคอมมิวนิสม์อีกต่อไปแล้ว หนังสืมเล่มนี้ได้ให้ภาพสถานการณ?ช่วงเวลาที่ผกผันและอ่อนไหวที่สุดของประเทศที่เหมือนด่านหน้าของอุดมการณ์คอมมิวนิสที่ตั้งประจันหน้าหับเหล่าประัเเทศโลก
ศรัณย์ วงศ์จิตร
บรรณาธิการ
สารบัญ : ก่อนกำแพงเบอร์ลินจะสิ้นสูญ
ภาค 1. ก่อนการลงคะแนนเสียงด้วยเท้าทศวรรษ 1980 ถึงครึ่งแรกของปี 1989
- สภาพเศรษฐกิจและสังคม
- สภาพการณ์ทางการเมืองและสาเหตุภายในอันนำไปสู่การปฏิวัติ
- กลุ่มฝ่ายค้านรัฐบาลในเยอรมันตะวันออก
- เหตุแห่งการปฏิวัติ
ภาค 2 การลงคะแนนเสียงด้วยเท้า ฤดูในไม้ร่วมปี ค.ศ. 1989
5.การเดินทางออกนอกประเทศ
6. การเดินขบวนประท้วงอย่างสงบจนกระทั่งถึงการเปิดกำแพงเบอร์ลิน
บทสรุป
ภาคผนวก ก ทฤษฎีสัจนิยาในแบบ German School
ภาคผนวก ข ลำดับเหตุการณ์สำคัญในเยอรมันตะวันออก
เชิงอรรถท้ายเล่ม บรรณานุกรม
เนื้อหาปกหลัง : ก่อนกำแพงเบอร์ลินจะสิ้นสูญ
รัฐธรรมนูญฉบับปี 1974 ของเยอรมันตะวันออก ระบุไว้ว่า ประชาชนทุกคน "...มีสิทธิในการร่วมรังสรรค์วิถีชีวิตด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังตม และวัฒนธรรมของชาติ...ตรงกับหลักการพื้นฐานคือทำงานด้วยกัน วางแผนด้วยกัน แล้วปกครองด้วยกัน..." แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้นกลับแตกต่างไปขากที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไวเ รัฐบาลเยอรมันตะวันออกได้กดขี่และสอกแมนประชาชนของตนเป็นเวลานานถึง 40 ปี รวมทั้งได้ลิดรอนเสรีภาพและสิทธิของประชาชนโดยกล่าวอางว่า "กระทำเพื่อประชาชน" (Im Namen den Volkws) ดังกระหื่มไปทั่วประเทศและได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของระบบคอมพิมนิสต์ในเยอรมันตะวันออกนั้นเอง
ก่อนกำแพงเบอร์ลินจะสิ้นสูญ ได้ฉายภาพโดยสังเขปต่อสถานการณ์บ้านเมืองในเยอรมันตะวันออกช่วงปี 1989 จนกระทั้งถึงวันที่กำแพงเบอร์ลอนถูกเปิดออก อันนำไปสู่การสิ้นสูญจากแผนที่โลกของประเทศเยอรมันตะวันออกไปตลอดกาล
รีวิวโดยผู้เขียน : ก่อนกำแพงเบอร์ลินจะสิ้นสูญ
บรรพต กำเนิกศิริ จบการศึกษาระดิบปริญญษตรีสาขาวิชาประวัจิศาสตร์จากคณะอัษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้สยการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากสถาบัน Diiplomatische Kdmie กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียและสำเร็จจากศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการเมืองระหว่างประเทศ มานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์สมัยใหม่ จาก Ludiw Maximillian University of Munich ประเทศเยอรมนี มีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ เช่น ประวัติศาสตร์การทูตยุโรผ ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ : การถ่ายทอดประเพณีทางการทูต (2548) ประวัติศาสตร์การทูตยุโรปตั้งแต่การประชุมนี้ที่กรุงเวียนนา ค.ศ. 1815 จนถึงจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นปี ค.ศง 1947 (2551) ปัจจุบันเป็นรองศาสตร์อาจารย์ประจำสาขาวิชาการระหว่างประเทศคณะรัฐศาตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์