รายละเอียด : หุ้น vs. เศรษฐศาสตร์
นอกจากการวิเคราะห์ตลาดหุ้นในภาพรวมแล้ว นักลงทุนยังสามารถวิเคราะห์ปัจจัยทั้งสี่ของจีดีพีเพื่อจะนำไปใช้วิเคราะห์การลงทุนในรายอุตสาหกรรมได้เช่นกัน โดยสามารถแบ่งการวิเคราะห์ได้ดังนี้
การบริโภคภายในประเทศ จะเป็นตัวชี้วัดหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจับจ่ายภานในประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆ ที่มีการปล่อยสินเชื่อให้กับรายย่อย กลุ่มค้าปลียก อาทิ ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า อสังหาริมทรัพย์ เนื่อจากประชาชนจะมีกำลังซื้อบ้านมากขึ้นกลุ่มสื่อสารโทรคมนาคม มีผลต่อการใช้งานและการสื่อสารของประชาชนกลุ่มสื่อเมื่อกำลังซื้อของประชาชนมีมากขึ้นจะนพไปสู่การตัดสินใจลงโฆษณาของสินค้าต่างๆ เห็นได้ว่ากรบริโภคในประเทศมีความเกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดหุ้นมากที่สุด
สารบัญ : หุ้น vs. เศรษฐศาสตร์
จีดีพี ขับเคลื่อนตลาดหุ่น
ดัชชีชี้วัดเศรษฐกิจชีนำตลาดหุ้น
หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
จับตามนโยบายธนาคารกลางสำคัญของโลก
กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงิน-การคลัง
การเบิกจ่ายงบประมาณ
นโยบายด้านภาษี
ภาวะกดถอยทางเศรษฐกิจ
หนี้ภาคครัวเรือน
หนี้สาธารณะ ตัวการก่อวิกฤต
กองทุนสถาบันรายใหญ่
บริษัทจัดอันดีบความน่าเชื่อถือ
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและโครงสร้างพลังงาน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เงินเฟ้อกับตลาดหุ้น
การเมืองกับตลาดหุ้น
ผลตอบแทนพันธบัตรกัยตลาดหุ้น
บัญชีเดินสะพัดและทุนสำรองระหว่างประเทศ
เงินดอลลาร์กับทิศทางตลาดหุ้น
Carry Trade การโยกย้ายเงินโลก
ราคาน้ำมันชี้ทิศทางตลาดหุ้น
ทองคำ สกุลเงินของโลก
รู้จักตลาดหุ้นทั่วโลก
ดัชนี MSCI Yhailand
ดินแดนปลอดภาษี
อนุพันธ์ ตัวแร่งการขับเคลื่อน
โครงการ ASEAN Linkage
ภาวะฟองสบู่
มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องดันตลาดหุ้น
ภาคผนวก
- 10 เหตุการณ์สะเทือนตลาดหุ้นไทน
- ลำดับเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจไทย
- เว็บไซต์ข้อมูลเศรษฐกิจหภาค
รวมศัพท์ด้านเศรษฐศาสตร์อื่นๆ ที่ควรรู้
เนื้อหาปกหลัง : หุ้น vs. เศรษฐศาสตร์
อธิบายพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ที่เกียวกับการลงทุนในตลาดหุ้น เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและเป็นเหตุเป็นผลเพิ่มโอกาสการสร้างผลกำไรอย่ามั่งคั่งและยิ่งยืน
- อะไรคือปัจจัยหลักในการขัยยเคลื่อนเศรษฐกิจ?
- ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจชี้นำตลาดหุ้น
- หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย สำคัญอย่างไร?
- จับตามนโยบายธนาคารกลางสำคัญของโลก : FED, ECB, BoJ, BoC
- กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงิน-การคลัง
- การเบิกจ่ายงบประมาณ คืออะไร ?
- ใช้ภาษรกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างไร ?
- ภาวะกดถอยทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบด้านใดบ้าง
- หนี้ภาคครัวเรือน บ่งบอกถึงอะไร ?
- หนี้สาธารณะ ตัวการก่อวิกฤต
- กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ คืออะไร ?
- กองทุนเพื่อการลงทุนที่รัฐบาลเป็นผู้ดำเนอนการ : กองทุนนำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนยุภักษ์ และกองทุนประกันสังคม
- ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชี้ทิศทางตลาดหุ้นได้อย่างไร?
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลต่อตลาดหุ้นอย่างไร
- เงินเฟ้อกับตลาดหุ้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
- การเมืองกับตลาดหุ้น ปัจจัยที่ส่งผลถึงกัน
- ความสัมพันธ์ระหว่าตลาดปันธบัตรและตลาดหุ้น
- บัญชีเดินสะพัดและเงินสำรองระหว่างประเทศ
- เงินดอลล่าร์กับทิศทางตลาดหุ้น
- การโยกย้านเงินฏลห คืออะไร ?
- ทองคำและตลาดหุ้น เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
- ภาวะฟแงสบู่ คืออะไร ?
- คิวอีของธนาคารกลางสหรัญฯ
- เหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นทั้งในและต่างประเทศ
- ศัพท์ด้านเศรษฐศาสตรฺที่คุณต้องรู้
รีวิวโดยผู้เขียน : หุ้น vs. เศรษฐศาสตร์
การลงทุนในตลาดหุ้น จำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ในสองปัจจัยหลักควบคู่กัน คือปัจจัยภายในกิจการ เช่น งบการเงิน พื้นฐานของกิจการ ฯลฯ หรือที่เรียกว่า Bottom Up อีกด้านหนึ่งจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ด้วยปัจจัยมหภาคหรือวิเคราห์ปัจจัยภายนอก ที่เรียกว่า Top Down การลงทุนจึงจะประสบความสำเร็จ
การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก คือการใช้หลักวิชาทางด้านเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการหาเหตุผลที่ตลาดหุ้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงของค่านิยมราคาน้ำมัน กระแสเงินทุน ฯลฯ รวมไปถึงปัจจัยที่เกิดขึ้นภายใน เช่น การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย นโยบายด้ารนเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกในปุจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมาก โลกถูกเชื่อโยงเข้าด้วยกันและกันกระแสของโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขี้นกับประเทศหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกินโลกในภาพรวมได้เช่นกัน แม้จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยก็ตาม เช่น วิกฤตเศรษฐกินในสหรัฐฯ และยุโรปได้ส่งผลกระทบมายังประเทศไทยด้วยเช่นกัน
รวมไปถึงความซับซ้อนในระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินที่มีมากขึ้น ตราวสารทางการเงินใหม่ ๆ ที่มีออกมาทำให้นักลงทุนทั่วโลกต้องการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมหภาคอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อกระแสที่เปลี่ยนแปลงไป โดยนักลงทุกสถาบันล้วนแล้วแต่มีการวิเคราะห์ปัจจับด้สยมหภาคก่อนการตัดสินใจลงทุกทั้งสิ้น
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตต้มยำกุ่ง แฮมเบอร์เกอร์ไครซิวในสหรัฐฯ และปัญหาหนี้ในยุโรป ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั้งสิ้น แต่มีส่วนที่ทำให้เกิกเศรษฐีใหม่ขจากวิกฤตที่เกิดขั้นรได้เช่นกัน นักลงทุนที่สามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้ จึงมีความได้เปรียบในตลาดหุ้น
หนังสือ "หุ้น vs. เศรษฐศาสตร์" ที่ท่านถืออยู่ในมือนี้จึงเป็นคู่มือสำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะมือใหม่ที่จะได้ศึกษาพื้นฐานทางด้านผู้เขียนได้คัดเลือกหัวข้อมาจากเหตุการณ์ที่มักปรากฏตามหน้าสื่อทางด้านเศรษฐกิจต่างๆ นำมาอธิบานยให้มีความเข้าใจถึงความหมายแลพผลกระทบที่จะตามมารวมถึงอธิบายว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อตลาดหุ้นและการลงทุน
สิ่งที่ได้เรียรรู้จากหนังสือเล่มนี้มีตั้งแต่พื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์ เช่น ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำไมอัตราและเปลี่ยนและดอกเบี้ยจึงมีการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้ายเศรษฐกิจ เงินฟ้อส่งผลเสียอย่างไร ฯลฯ ตลอดจนเศรษฐศาสตร์และการเงินขั้นสูง เช่น การเกิดคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตราสาอนุพันธ์การโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ฯลฯ
แม้ไม่ได้จบทางด้านการเงินหรือเศรษฐศาสตรฺ แต่หนังสือ หุ้น vs. เศรษฐศาสตร์ จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจ สามารถอ่านและวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนเพื่อเป็นผู้ชนะได้ในตลาดหุ้น รับรองได้ว่า เศรษฐศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยากจนเอื้อมไม่ถึงอย่างแน่นอน
Mr.Bull