รายละเอียด : หลักและคำพิพากษากฎหมายอาญา
"โดยทุจริต" คือเจตนาพิเศษอย่างหนึ่งซึ่งผูเหระทำจะต้องประสงค์ต่อประโยชน์เช่นว่านั้นโดยตรง ซึ่งเป็นประโยชน์ทั่วๆ ไปไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินต่างจาก "ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน" ตามมาตรา ๑๑๗,๓๓๘ ซึ่งจำกัดเฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้นตัวอย่างเช่น จำเลยนำใบตรวจโรคเท็กไปยื่นสอบแข่งขัน หรือนำใขรับรองแพทย์ซึ่งเป็นความเท็จยื่นต่อศาลเพื่อขอเลื่อนคดี แม้มิใช่เพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางทรัพย์สิน แต่ก็ถือว่าเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฏหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นแล้ว ผิดฐานกระทำโดยทุจริตใช้หรืออ้างคำรับรองอันเป็นเท็จตามมาตรา ๒๖๙ วรรคสอง หรือความผิดตามมาตรา ๓๑๗ ถึง ๓๑๙ กระืำโดยทุจริตรับตัวเด็กซึ่งถูกหรากฯ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับประโยชน์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินก็ได้ หากเป็นประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฏหมาย ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยทุจริต
ความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน หากไม่ได้เอาไปในลักษณะเป็นการประทุษร้ายต่อกรรมสิทธิ์ ศาลลฏีกาวินิจฉัยเป็นส่วนใหญ่ว่า ไม่มีเจตนาดดยทุจริต (ขาดองค์ประกอบภายใน) เช่น จำเลยรู้จักคุ้นเคยกับผู้เสียหายและกระทำในขณะมึนเมา การที่จำเลยเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปนั้นไม่ได้ประสงค์จะเอาไปในลักษณะเป็นการประทุษร้ายต่อกรรมสิทธิ์ในทรักย์ของผู้เสียหาน ไม่ถือว่ามีเจตนาที่จะเอาำไำปโดยทุจริต ไม่ผิดชิงทรัพย์ (ฏีกาที่ ๑๐๑๔๓/๒๕๕๑)
คำนำ : หลักและคำพิพากษากฎหมายอาญา
ในการปรับปรุงครั้งนี้ ผู้เขียนได้เพิ่มเติมเนื้อหาใหม่อีกหลายส่วนเพื่อให้หนังสือมีหลักกฏหมายครบถ้วนที่สุดภายในเล่นเดียว โดยมีตัวอย่างฏีกาใหม่ล่าสุดประกอบคำอธิบาย (เนติบัฯฑิต ถึงตอน ๔ ปี ๒๕๕๘ ศาลฏีกา ถึงเล่มที่ ๑ ปี ๒๕๕๘)
ในส่่วนกฏหมายใหม่ มีการแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (คราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๙) เริ่มตั้งแต่มาตรา ๒๙ เพิ่มเติมการอายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ มาตรา ๒๙/๑ กำหนดให้เจ้าพนักงานศาลแลพพนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบังคัลคดีเพื่อใช้ค่าปรับมาตรา ๓๐ เพิ่มอัตราเงินในการกักขังแทนค่าปรับ จากวันละ ๒๐๐ บาท เป็นวันละ ๕๐๐ บาท แล้พหากปรับเกิน ๑ ปีได้ แต่ไม่เกิน ๒ ปี มาตรา ๓๐/๑ วรรหนึ่ง ผู้ต้องโทษปรับที่มิใช่นิติบุคคลทำงานบริการสังคมแทนฯ ได้ ไม่ว่าจะพิพากษาปรับจำนวนเท่าใด (เดิมไม่เกิน ๘๐,๐๐๐ บาท) มาตรา ๕๖ แก้ไขใหม่ให้ศาลรอการลงโทษได้ หากลงโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี (เดิมไม่เกิน ๓ ปี) และรอการลงโทษส่วนของโทษปรับได้ด้วย (เดิมต้อง๔ุกกักขังแทนค่าปรับหรือยึดทรักย์ใช้ค่าปรับ) และรอการลงโทศได้แม่จะเคยได้รับโทษจำคุกในคดีที่มิใช่กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ ส่วนมาตรา ๘๔ มีการแก้ไขวรรคสอง และเพิ่มเติมใหม่เป็นวรรคสาม ให้ศาลเพิ่มโทษผู้ใช้กึ่งหนึ่ีง หากใช้บุคคลบางประเภทกระทำความผิด และมาตรา ๘๕/๑ ให้ศาลอำนาจลงโทษผู้ถูกใช้น้องลง หากให้้ข้อมูลและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
กฏหมายใหม่ทั้งหมดที่กล่าวมา ผู้เขียนอธิบายไว้อย่างละเอียดในการปรับปรุงใหม่ครั้งนี้
สหรัฐ กิติ ศุภการ
เมษายน ๒๕๕๙
สารบัญ : หลักและคำพิพากษากฎหมายอาญา
บทบัญญัติทั่วไป
- บทบัญญัติที่ใช่แก่ความผิดทั่วไป
- บทญัญติที่ใช่แก่ความผิดลหุโทษ
ความผิด
- ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
- ๑/๑ ความผิดเกี่ยวกับการก่อการ้าย
- ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
- ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม
- ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
- ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
- ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้่เกิดภยันตรายต่อประชาชน
- ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
- ความผิดเกี่ยวกับการค้า
- ความผิดเกี่ยวกับเพศ
- ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
- ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
- ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
- ความผิดเกี่ยวกับศพ
- ลหุโทษ
เนื้อหาปกหลัง : หลักและคำพิพากษากฎหมายอาญา
ลักษณะหนังสือ
หนังสือเล่มนี้จัดทำในรูปแบบของประมวลกฏหมายพร้อมคำอธิบาบเรียงมาตราและมีคพพิพากษาฏีกาประกอบ แต่เพื่อมิให้เนื้อหาฟุ่มเฟือยเกินไปฏีกาเรื่องใดที่ต่ำกว่าปี พ.ศ.๒๕๔๐ รวมถึงฏีกาที่เคยออกสอบไปแล้วในระดับเนติบัณฑิตอัยการผู้ช่วย หรือผู้ช่วยพิพากษา ผู้เขียนจะย่อข้อเท็จจริงให้สั้นที่สุดเว้นแต่เป็นฏีกาที่วางหลักกฏหมายสำคัญเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อสอบในสนานต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังเตรียบได้ฉุกคิดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
คำขอบคุณ
ผู้เขียนขอขอบคุณอย่างสุดใจ สำหรับตำราวิชาการอันทรงคุณค่าต่าง ซึ่งได้กล่าวไวบ่อนครั้งไม่ว่าจะเป็นตำรากกฏหมายอาญาของท่านอาจารย์จิติ ติงศภทิย์ อาจารย์หยุด แสงอุทัย อาจารย์เกียรติ วัจนะสวัสดิ์ อาจารย์ทวีเกียดติ มีนะกินิษฐและที่ไม่อาจหาคำอื่นใดยิ่งกว่าตำขอบคุณคือ อาจารย์ผู้พิพากษาศาลฏีกาทั้งอดตและปัจจุบันตลอดจนผู้ช่วยผู้พิพาหศาลฏีกาซึ่งอยู่เบื้องหลบังคำพิพากษาฏีกา แต่ละฉบับที่ผู้เขียนใช้เป็นกรณีตัวอย่างจำนวนมหาศาลจนเป็นหนังสือเล่มนี้