รายละเอียด : ตามรอยเจ้าอนุวงศ์
จุดเด่น จองหนังสือเล่มนี้ คือ เป็นทั้ง "ประวัติศาสตร์" และเป็นทั้ง "ประวัติศาสตร์นิพนธ์" (history-historiography) คือเป็นทั้ง "เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นแล้ว" และเป็นทั้ง "เรื่องราง" ที่ถูกนำมา "ผลิตซ้ำ/เขียนใหม่-ตีความใหม่-ให้ความหมายใหม่"...หากเราจะเชื่อว่า "ประวัติศาสตร์" นั้นมีใน "หลายด้าน" ในกรณีนี้ พระเจ้าอนุวงศ์ก็ทรงเป็นทั้ง "วีรบุรุษ" ผู้พยายามจะกอบกู้ "เอกราช" ของลาว... และเป็นทั้ง "กบฏ" ต่อราชสำนักสยาม..การเปรียบเทียบ "ความเหมือน" ของการเป็น "องค์ประกัน ของเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรต่าง" ของจุดจบ ที่ในกรณีของเจ้าอนุวงศ์เป็น "โศกนาฏกรรม" หรือ tragedy อันโหดร้ายทารุณ ในขณะที่ของพระนเรศวรเป็น "สุขนาฏกรรม" เป็น happy ending นั้นทำให้งานเขียนชิ้นนี้่ของสุเจนโดดเด่นมีเสน่ห์อย่างหาที่สุดมิได้
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
นักประวัติศาสตร์
หนังสือ ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว มีบทบาทสำคัญยิ่งในการทำความรู้จักตัวเรา รู้จักเพื่อนบ้าน หรืออย่างน้อยที่สุดคือ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของความสัมพันธ์ฉันเพื่อนมนุษย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือความสัมพันธ์ฉันเพื่อบ้านที่สนิทชิดเชื้อดังญาติเฉกเช่นลาว
ธีรภาพ โลหิตกุล
นักเขียนสารคดี
คำนำ : ตามรอยเจ้าอนุวงศ์
หนังสือ ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว ซึ่งเป็น "ประวัติศาสตร์นอกตรา" เล่มนี้ของ สุเจน กรรมพฤทธิ์ คงจะประสบความาสำเร็จ "โลกหนังสือ" และได้ "ทั้งกล่องทั้งเงิน" ทั้งนี้เพราะเรื่องราวอันสุดจะ "เสียและละเอียดอ่อน" (sexy-controversial) นี้เป็นประเด็นที่แม้จะเป็น "อดีต" ที่เกิดมาแล้วเกือบ ๒๐๐ ปี แต่ก็ยังดูเหมือนจะอยู่ในมโนสำนึก "ปัจจุบัน) ของทั้ง "ลาว-ไทย"
กล่าวโดยย่อเรื่องนี้ "ยังไม่ตาย" (และ "ขาย" ได้ด้วย) แม้ว่าอดีตกษัตริย์ื "เจ้าอนุวงศ์" ข้าราชบริพารลาวของท่าน และบุคคลร่วมสมัยไทย/สยามนั้นจะ "ตาย" ไปนานแสนนานแล้วก็ตาม
จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ คือ เป็นทั้ง "ประวัติศาสตร์ฎ และเป็นทั้ง "ประวัติศาสตร์นิพนธ์" (history-historiography) คือเป็นทั้ง "เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นแล้ว" แล้วเป็นทั้ง "เรื่องราว" ที่ถูกนำมา "ผลิตซ้ำ/เขียนใหม่-ตีความใหม่-ให้ความหมายใหม่" ทั้งจากทางด้านของ "ความเป็นชาติลาว" (Lao-ness-nation-state) กับทางด้าน "ความรัฐราชวงศ์ของไทย" (Thai-ness-dynastis-state) หากเราเชื่อว่า "ประวัติศาสตร์" นั้นมีใน "หลายด้าน" หรือย่างน้อยก็ "สองด้าน" อย่างเหรียญที่มีทั้ง "หัวและก้อย" ในกรณีนี้ พระเจ้าอนุวงศ์ก็ทรงเป็นทั้ง "วีรบุรุษ" ผู้ำำพยายามจะกอบกู้
"เอกราช" ของลาว (ในการตีความแบบปัจจุบันในสายตาของ "รัฐชาติ") และเป็นทั้ง "กบฏ" ต่อราชสำนักสยามสมันพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรีของไทย (ในการตีความตามขนบในสายตาของ "รัฐราชวงศ์")
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
อาทิตย์ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓/๒๐๑๐
เมืองพัทยา เขตปกครองพิเศษ สยามประเทศ (ไทย)
สารบัญ : ตามรอยเจ้าอนุวงศ์
- เจ้าอนุวงศ์ "พระนเรศวรฎ เวอร์ชั่นลาว
- "องค์ประกัน" และ "บุตรบุญธรรม" ของราชสำนักสยาม
- "อิสรภาพ" ของเจ้าอนุวงศ์
- ศึกเจ้าอนุวงศ์ พุทธศักราช ๒๓๖๙
- ความปราชัยบนที่ราบสูง
- การทูต "สองฝ่ายฟ้า" ซะตากรรมเจ้าเวียงจันทน์ในแดนเวียด
- การต่อสู้ครั้งสุดท้ายที่เชียงขวาง
- วาระสุดท้านแก่งพระชนม์ชีะที่บางกอก
- กวาดต้อนผู้คน-ปล้นทรัพย์-เก็บผ้าใส่ช้า เก็บข้าใส่เมืองและหลายร้อยปีหลังสงครามเจ้าอนุวงศ์
- เจ็ดเล่มเพื่อความเข้าใจ "เจ้าอนุวงศ์"
รีวิวโดยผู้เขียน : ตามรอยเจ้าอนุวงศ์
ปรกติผมไม่เชื่อเรื่อง "วิญญาณ"
แม้ผมจะไม่เคยบอกใครว่าในวัยเด็กผมได้ชื่อว่าเป็นคนกลัวผีมากที่สุกคนหนึ่ง
เขียนถึงเรื่องนี้เพราะเคยมีคนถามทีเล่นทีจริงว่า หลัง ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ฯ พิมพ์ไปแล้วหนึ่งครั้งเคยฝันถึงกษัตริย์พระองค์นี้หรือไม่
จริงๆ ผมไม่ค่อยอยากตอบคำถามนี้นัก เพราะออกจะเป็นเรื่องวิญญาณที่ตัวเองไม่เชื่อและมองว่างมงายไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าตอบในเชิงจิตวิทยาของคนที่จมอยู่กับหลักฐานเกี่ยวกับกษัตริย์พระองค์นี้ ก็ตอบได้ตรงนี้ครับว่าไม่เคยฝันถึงเลย กระทั่งหลังจากหนังสือออก ผมจะมีโอกาสไปลาวนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งไปเที่ยว ไปทำงาน ก็ไม่เคยสัมผัีสอะไรทำนองนั้้นได้
จะมีใกล้เคียงบ้างก็ตอนไปทำงานกายภาพบำบัดแก้โรคปวดหลัง โรคประจำตัวยอดฮิตของมนุษย์เขียนหนังสือที่คุณหมอนักกายภาพบำบัดจู่ๆ ก็บอกว่าไปทำอะไรมาที่ลาว กดจุดและภาพที่เวียงจันทน์ลอยขั้นมาในมโนสำนึกของแก
สุเจนกรรมพฤทธิ์
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : ตามรอยเจ้าอนุวงศ์
สุเจน กรรมพฤทธิ์ เริ่มต้นชีวิตนักเขียนในบรรณาธิการนิตยสาร สารคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ หลังจากจบมหาวิทยาลัยมาไม่นาน ด้วยข้อเรียกร้องของงานในหน้าที่ทำให้เขาผลิตข้อเขียน ("สกู๊ป") ได้หลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษาค้างคาว ลัทธิจตุรามรามเทพ ฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกหรือผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากนิคมอุตสาหกรรม สกู๊ปเรื่อง "แก่งคอยผู้คน สายน้ำ ขุนเขา ใต้เงาหมอกควัน" (สารคดี ฉบับที่ ๒๖๖ เมษายน ๒๕๕๐) นั้น ทำให่เขาได้รับรางวัลลูโลกสีเขียว สำหรับสื่อมวลชนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมเสียด้วยซ้ำ หากแต่ประเด็นที่เขาสนใจและจับทำมาอย่างต่อเนื่องจริงจัง ก็คืองานสารคดีและแนวประวัติศาสตร์
สิ่งที่สุเจนสนใจเป็นพิเศษ ก็คือ "ประวัติศาสตร์" ของดินแดนอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเด็นว่าการรับรู้อดีตในโลกปัจจุบัน แนวทางของเขาคิดการมองให้พ้นไปจากรอบของประวัติศาสตร์ "ชาตินิยม" และก้าวข้ามพรมแดนทางการเมืองของรัฐชาติในปัจจุบัน เพื่อพยายามทำความเข้าใจกับ "อดีต" ว่าเหตุใด "โครงเรื่อง" ของเหตุการณ์ในอดีตชุเดียวกัน กลับแตกต่างกันไปในความรับรู้ของผู้คนในแต่ละประเทศซ้ำยังส่งผลสะเทือนให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่าประเทศได้จนกระทั่งปัจจุบัน
สุเจรต้องการให้ผู้อ่านชาวไทยของเขาได้ข้ามผ่าน "กับดัก" หรือ "หลุมพราง" แห่งอดีต เข้าใจว่านั้นคือเรื่องที่่ "แล้วไปแล้้ว" เป็นอดีตที่พึงจดจำแก่ก็แก้ไขอะไรไม่ได้ ควรต้องปล่อยให้ผ่านไป เป็น "ประวัติศาสตร์" เพื่อจะได้กว่าเดินไปได้อย่างมั่นอกมั่นใจ พร้อมจะจับมือกับประเทศเพื่อนบ้านมุ่งสู่อนาคตอันมิอาจแยกขาดจากกันได้ของภูมิภาคอุษาคเนย์
สำนักพิมพ์สารคดี