คลื่นความโน้มถ่วง (Gravitaional Waves)

ผู้เขียน: บัญชา ธนบุญสมบัติ

สำนักพิมพ์: สารคดี

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , ปริญญาตรี

0 (0) เขียนรีวิว

89.10 บาท

99.00 บาท ประหยัด 9.90 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 3 คะแนน

การทำนายด้วยมันสมองของไอน์ไตน์สู้การค้นพบเทคโนโลยีชั้นสูงในอีก100 ปีต่อมา < แสดงน้อยลง การทำนายด้วยมันสมองของไอน์ไตน์สู้การค้นพบเทคโนโลยีชั้นสูงในอีก100 ปีต่อมา
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

89.10 บาท

99.00 บาท
99.00 บาท
ประหยัด 9.90 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 3 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
79 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.1 x 18.4 x 0.5 CM
น้ำหนัก
0.098 KG
บาร์โค้ด
9786167767680

รายละเอียด : คลื่นความโน้มถ่วง (Gravitaional Waves)

นี่คือคำกล่าวของศาสตร์จารย์เดวิล ไรต์ซี (Prof. David Reitze)ผู้แำนวยการห้องปฏิบัติการไลโก (LiGO Lab Executive Director) ในการแถลงข่าวของ National Science Foundation (NSF) เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 เกี่ยวกับการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงได้โดยตรงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

คำกลาวนี้เป็นน้ำเสียงอันตื่นเต้นบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ของการค้นพบครั้งสำคัญนี้

คลื่นความโน้มถ่วงคืออะไร สำคัญอย่างไร

ทำไมจึงตื่นเต้นกันนัก? ไม่ใช่เพียงแค่นักวิทยาศาสตร์แต่สำนักข่าวทั้วโลกต่างพากันรายงานช่วยกันอย่างครึกโครมอีกด้วย

เหตุที่ต้องตื่นเต้นประการหนึ่งก็เพราะผ่านไปเกือบ 100 ปี พอดีนับจากที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916 ซึ่งใช้ทฤษฎีนี้ทำนายการมีอยู่ของคลื่นความโน้มถ่วง แล้วในที่สุดใช้ทฤษฎีนี้ทำนายการมีอยู่ของคลื่นความโน้มถ่วงและในที่สุด หลังจากพยายามมาหลายสิบปีก็สามารถตรวจจับคลื่่นความโน้มถ่วงได้โดยตรงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2015

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สสไตน์ทำนายปรากฏการณ์หลายอย่าง เช่น การที่เวลาเดินช้าลงในบริเวณที่มีสนามความโน้มถ่วงสูง การเดินทางของแสงเป็นเส้นโค้งเมื่อเฉียดใกล้ดาวกฤษ์ การขยายตัวของเอกภพ เลนส์ความโน้มถ้วง หลุมดำ ฯลฯ ซึ่งได้รับการค้นพบว่ามีอยู่จริงแล้วทั้งหมด เหลืออยู่เพียงสิ่งเดียวคือ "คลื่นโน้มถ่วง" ที่ยังไม่เคยตรวจจับโดยตรงได้สัีกที


สารบัญ : คลื่นความโน้มถ่วง (Gravitaional Waves)

    • ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป - จุดกำเนิดพัฒนาการ และผลทำนาย
    • คลื่นความโน้มถ่วง
    • เทคโนโลยีการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง
    • การรวมกันของหลุมดำและเหตุการณ์อื่นๆ ที่ทำให้เกิดคลื่นความโน้มถ่วง
    • ผลกระทบจากการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง
    • สรุป
    • ขุมทรัพย์ทางปัญญา
    • ประวัติผู้เขียน


รีวิวโดยผู้เขียน : คลื่นความโน้มถ่วง (Gravitaional Waves)

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ นับได้ว่าเป็นยุคสมัยอันน่าตื่นเต้นของฟิสิกส์พื้นบ้าน เพราะการตามอนุภาคฮิกส์โบซอน โดยใช้ Large Hadron Collosder ที่ CERN บรรลุผลเมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม ค.ศ. 2012 และนำไปสู่งรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี ค.ศ. 2013 การค้นพบอนุภาคฮิกส์โบซอนช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่นักฟิสิกส์ว่าพวกเขารู้จักปริมาณพื้นฐาน อันได้อก่ "มวล" (mass) อย่างลึกซึ่ง

ราว 3 ปีถัดมา เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2015 ความพยายามในการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงด้วยเครื่อง LIGO ก็บรรลุผล และเป็นไปได้อย่างมากกว่าจะนำไปสู่รางวัลโนเบลเช่นกัน แต่แท้จริงแล้วความสำเร็จครั้งนี้ได้ช่วยเพิ่มความั่นใจให้แก่ฟิสิกส์ว่า พวกเขารู้จักเรื่องพื้นฐานอย่าง "กาล-อวกาศ" อย่างลุ่มลึกด้วยเช่นกัน

หนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มนี้บันทึกประเด็นสำหรับผู้ที่รักฟิสิกส์ผู้ที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่บุคคลทั่วไปที่รู้สึกพิศวงไปกับพลังแห่งความรู้และจินตนาการ รวมทั้งทึ่งกับความมุ่งมั่นของมุนษย์ในการทำความเ้ข้าใจธรรมชาตื

ขอขอบคุณ คุณสุวัฒน์ อัศวไชยชาญ บรรณาธิการ สนพ.สารคดี และทีมงานของสารคดีที่ช่วยจัดทำหนังสือเล่มนี้แบบด่วนถึงด่วนที่สุด

บัญชา ธนบุญสมบัติ

 



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : คลื่นความโน้มถ่วง (Gravitaional Waves)

ความลึกลับของความโน้มถ่วง คือเรามักไม่รู้สึกถึงมันเลยพอจานหรือแก้วตกพื้นแตกกระจายเราก็จะคิดว่าธรรมชาติเป็นแบบนั้นเองมันไม่ตื่นเต้นเหมือนกับการเห็นแม่เหล็กดูดหรือผลักกัน ความจริงคือ เรารู้จักความโน้มถ่วง

หน้าตาของมันเป็นอย่างไร

หนังสือเล่มเล็ก ๆ นี้ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ พยายามอธิบาย "คลื่นความโน้มถ่วง" ให้เราเข้าใจง่ายๆ อย่างกระชับสั้น ด้วยการตั้งคำถามและอธิบายคำตอบ

ทั้งนี้เอาเข้าจริงแล้วก็อาจ "ไม่ง่าย"

แต่ข้อดีของความไม่ง่ายนัก คือความสนุกของการพยายามทำความเข้าใจ

เช่นเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า คลื่นความโน้มถ่วงจะเป็นเครื่อมือใหม่ในการไขความลับของเอกภพ

หนังสือเล่มนี้ก็อาจเป็นเครื่องมือที่ช่วยเปิดประตูสู่ความเข้าใจเรื่องคลื่นความโน้มถ่วงและเบื้องหลังในความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ที่เรามักไม่รู้สึกมาก่อน

สำนักพิมพ์สารคดี

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว