รายละเอียด : ปริศนาแผ่นดิน แอนตาร์กติกา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสร็จเยือนทวีปแอนตาร์กติกา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่เดินทางไปยังทวีปแอนตาร์กติกา หลังจากการเดินทางทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ "แอนตาร์กติกา : หนาวหน้าร้อน" ซึ่งเป็นบันทึกการเดินทางเยือนประเทษนิวซีแลนด์ และทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ ที่ทรงขนานนามว่า "การผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ของข้่าพเจ้า" ด้วย
หนังจากนั้นก็มีนักวิทยาศาสตร์ไทย เช่น รศ.ดร. วรณพ วิยกาญจน์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติก ญี่ปุ่น ครั้งที่ 46 ภายใต้โครงการส่งนัีกวิจัยไทยไปขั้วโลกใต้ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อทำการศึกษาวิจัย ณ สถานีวิจัยโชว์วะ ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่เดินทางไปทวีปแอนตาร์กติกา ลำดับต่อมา รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ นักวิทยาศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับเช่นเดียวกันก็ได้ร่วมเดินทางกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกญี่ปุ่น ครั้งที่ 51 เพื่อทำการศึกษาวิจัย ณ สถานีวิจัยโชว์วะเช่นกัน ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 รศ.ดร. วรณพ วิยกาญจน์ได้ร่วมกับ รศ.ดร สุชนา ชวนิชย์ ทำหนังภาพ Polar Harmony รศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์ เองก็เขียนหนังสือ "แอนตาร์กติก...ดินแดนแห่งน้ำแข็ง" ออกเผยแพร่
คำนำ : ปริศนาแผ่นดิน แอนตาร์กติกา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริในโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามข้อตกลงความร่วมมือลง วันที่ 30 กรกฎาคม 2556 ระหว่าง สวทช. และสำนักงานบริหารกิจการทางทะเล
หลังจากที่ผู้เขียนตั้งใจไปศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ขั้วโลกที่สถานีวิจัยเกรท วอลล์ บนเกาะคิงจอร์จ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2558 คำถามที่ได้รับจากคนรอบข้างส่วนใหญ่คือ "จะทำไปอะไรที่ขั้วโลกใต้"?
แน่นอนสำหรับคนไทยในภาพรวม ทวีปแอนตาร์กติกา เป็นอะไรที่ดูห่างไกล และไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศไทย เสน่ห์ของทวีปนี้ไม่ได้ดึงดูดแต่เฉพาะทหารหรือผู้รักการผจญภัย แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะมาเยือนโลกน้ำแข็งสุดอัศจรรย์แห่งนี้ด้วยเช่นกัน
ในหนังสือเล่มนี้ท่านจะได้พบกับเนื้อหางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ และล้วนมีความเชื่อมโยงกับทวีปแอนตาร์กติกาด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากศ รูรั่วในชั้นโอโซน มลพิษข้ามพรมแดน จุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ การพิสูจน์เรื่องสิ่งมีชีวิตนอกโลก ลำแสงออโรร่า และปริศนาอารยธรรมโบราณที่สาบสูญในทวีปแห่งนี้
สารบัญ : ปริศนาแผ่นดิน แอนตาร์กติกา
- ปริศนาขั้วโลกใต้ ที่ซ่อนขุมทรัพย์นาซีแหล่งกบดานของ UFO หรือเป็นเพียงแค่โลกน้ำแข็งอันเวิ่งว้าง
- ปริศนาพิศวงในอัศจรรย์แดนน้ำแข็ง
- เจาะน้ำแข็งย้อนรอยโลกร้อนในยุคดึกดำบรรพ์
- รูรั่วชั้นโอโซน ทำไมต้องขั้วโลกใต้?
- มลพิษข้ามพรมแดนที่ทวีปแอนตาร์กติกา
- "จุลินทรีย์ปอนตาร์กติกา" เกี่ยวอะไรกับเอเลี่ยน!?
- โลกร้อนเกี่ยวอะไรกับขั้วโลก!?
เนื้อหาปกหลัง : ปริศนาแผ่นดิน แอนตาร์กติกา
...หลังจากที่ท่านได้อ่านหนังสือนี้จบ ผมมั่นใจว่ามุมมองที่ท่านเคยมีต่อขั้วโลกใต้จะเปลี่ยนไป
...เสน่ห์ของทวีปนี้ไม่ได้ดึงดูดแต่เฉพาะทหารหรือผู้รักการผจญภัยเท่านั้น แม้แต่นักวิทยาศาสตร์แว่นตาหนาเตอะแลดูคงแก่เรียน ก็ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะมาเยือนโลกน้ำแข็งสุดอัศจรรย์แห่งนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
ในหนังสือเล่มนี้ ท่านจะได้พบกับเนื้อหางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติและล้วนมีความเชื่อมโยงกับทวีปแอนตาร์กติกาด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รูรั่วในชั้นโอโซน มลพิษข้ามพรมแดนจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ การพิสูจน์เรื่องสิ่งมีชีวิตนอกโลก ลำแสงออโรร่าและปริศนาอารยธรรมโบราณที่สาบสูญในทวีปแห่งนี้...