เวนิสวานิช

ผู้เขียน: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สำนักพิมพ์: บูรพาสาสน์(1991)/Burapasarn(1991)

หมวดหมู่: หนังสือวาย ยูริ , อ่านนอกเวลา

0 (0) เขียนรีวิว

54.00 บาท

60.00 บาท ประหยัด 6.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 2 คะแนน

พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว < แสดงน้อยลง พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

54.00 บาท

60.00 บาท
60.00 บาท
ประหยัด 6.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 2 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
176 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
12.7 x 18.4 x 0.8 CM
น้ำหนัก
0.139 KG
บาร์โค้ด
9786167157320

รายละเอียด : เวนิสวานิช

เวนิสวานิช กลอน

ความเอยความรัก เริ่มสมัคชั้นต้น ณ หนไหน? เริ่มเพาะเหมาะกลางวางหัวใจ, หรือเริ่มในสมองตรองจงดี?

...

เวนิสวานิช เรื่องย่อ

อิทธิพลการค้า เล่ห์เหลี่ยมทางกฎหมาย และความเหลื่อมล้ำทางศาสนาที่เกิดขึ้นในเวนิสดินแดนอันงดงามแห่งอิตาลี

 


คำนำ : เวนิสวานิช

วิลเลี่ยม เชกสเปียร์ เป็นจินตะกวีผู้มีชื่อเสียงปรากฏ, ไม่จำเพาะ แต่ในหมู่ชนชาติอังกฤษ อันเป็นชาติของเขาเอง, ทั้งชนชาติอื่นๆ ทั่วไปในยุโรป ก็นับถือว่าเป็นกวีสำคัญ, และเรื่องละครซึ่งเชกสเปียร์แต่ง ได้มีผู้แปลภาษาต่างๆ จากภาษาอังกฤษล่วงมาตั้งสามร้อยปีแล้ว, ก็ยังมีผู้เล่นอยู่จนทุกวันนี้, ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ เช่น ในประเทศอังกฤษเองและอเมริกา, ทั้งในประเทศอื่นๆ ทั่วไปในทวียุโรป และได้มีผู้เล่นบ้างแล้วในประเทศญี่ปุ่น

เรื่องละครของเชกสเปียร์ นอกจากเป็นเรื่องสำหรับเล่นออกโรงให้ดู, เขาย่อมยกย่องกันว่าเป็นหนังสือควรอ่าน, เพราะเป็นแบบอย่างอันดีแห่งจินตะกวีนิพนธ์ เต็มไปด้วยโวหารอันกล้า และถ้อยคำรจนาอย่างสละสวย, โดยมากเป็นกาพย์อังกฤษชนิดที่เรียกว่า กลอนเปล่า (Blak Verse), คือไม่มีสำผัส เปนแต่จำกัดบรรทัดละ ๑๐ พยางค์, แต่บางแห่งก็มีกลอนสำผัสปนอยู่, และบางแห่งก็มีร้อยแก้วปนอยู่

เมื่อคำนึงดูว่า ในภาษายุโรปโดยมากมีคำแปลละครของเชกสเปียร์แล้ว, และในภาษาญี่ปุ่นก็มีแล้ว, ข้าพเจ้าให้ทราบอยู่ว่า มีผู้ได้นิพนธ์เรื่องของเชกสเปียร์ขึ้นแล้ว ๓ ราย, คือ พระเข้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิประพันธ์พงศ์ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่อง โรเมโอและยูเลียต เรื่อง ๑ กับได้ทรงพระนิพนธ์เรื่อง คอเมดี ออฟ เอร์เรอรส (Comedy of Errors) ซึ่งทรงเรียกนามว่า หลงไหลได้ปลื้ม อีกเรื่อง ๑, กับหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรถึก) ได้แต่งเรื่อง เวนิสาวนิช คำฉันท์อีกเรื่อง ๑, แต่ที่แต่งไว้แล้วทั้ง ๓ รายนี้ ไม่ตรงตามแบบเดิมของเชกเปียร์สักรายเดียว; เพราะเรื่อง โรเทมโอและยูเลียต กรมหมื่นราธิปประพันธ์ทรงไว้เปนอย่างนิทานร้อยแก้ว; เรื่องหลงไหลได้ปลื้ม เป็นคำพูดที่ไม่ได้แปลตรง, เป็นแต่แต่ง ตามเค้า, และแปลงนามตัวละครเปนไทย; และเรื่องเวนิสวานิช ของหลวงธรรมาภิมณฑ์เป็นคำฉันท์, ไม่ใช่บทละคร

ดังนี้ข้าพเจ้าจึงได้เลือกเรื่อง เวนิสวานิช มาแต่งภาษาไทย, คงรูปได้เป็นละครเจรจาโต้ตอบกันตามแบบของเชกสเปียร์เดิม, และถ้อยคำผูกเป็นกลอนไทย เพื่อให้รูปคำของเดิมที่สุดที่จะขยับขยายให้เป็นไปได้

ส่วนในการแปลก็ได้พยายามที่จะแปลให้ใกล้ของเดิมมากที่สุดที่จะจำได้; แต่ข้าพเจ้าเองก็รู้สึกอยู่ดีว่ามีที่บกพร่องอยู่มาก. ข้อแก้ตัวของข้าพเจ้าคงมีอยู่เป็นข้อสำคัญอัน ๑ ก็คือ, ภาษาของเชกสเปียร์นั้นถึงแม้คนชาติอังกฤษเองก็ถือกันว่าเป็นของยาก,และเขาจัดไว้เป็นส่วน ๑ แห่งหลักสูตรสำหรับสอบไล่วิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย,  นอกจากนี้ถ้าหากจะมีความบกพร่องและไม่สละสลวยอีกบ้าง ก็เป็นเพราะสำนวนของข้าพเจ้าเอง และการประพันธ์อ่อนอยู่, เพราะต้องแต่งอยู่ในที่บังคับนั้นและ; ฉนั้นขอจินตะกวีและนักเลงหนังสือจงให้อภัยแก่ข้าพเจ้าบ้างเถิด.



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : เวนิสวานิช

พระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในหลายๆ ด้านอาทิ ด้านการปกครอง ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรือนทัดเทียมนานาอารยประเทศ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงพระปรีชาสามาถด้านการกวี ทรงพระราชนิพนธ์คำประพันธ์ได้หลากหลายประเภท ล้วนแต่ไพเราะและมีคุณค่าต่อแวดวงวรรณคดีไทย หาผู้เสมอเหมือนได้ยาก ผลงานขของพระองค์มีหลากหลายประเภท เช่น ปลุกใจให้รักชาติและมีความสามัคคี, ปลูกฝังคุณธรรม ความเป็นไทยและจริยธรรมตามหลักพุทธศาสนา ขณะเดียวกันก็ทรงยอมรับวัฒธรรมต่างชาติแล้วนำมาปรับใช้เหมาะกับคนไทย ดังบทพระราชนิพรธ์ เรื่อง The Merchant of Venice หรือ เวนิสวานิช โดยคงรูปแบบให้เป็นละครเจรจาโต้ตอบกันตามแบบเดิม และถ้อยคำผูกเป็นกลอนไทย

ทางสำนักพิมพ์เล็งเห็นคุณค่าของวรรณคดี จึงได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น เพื่ออนุรักษ์ผลงานอันทรงคุณค่า ควรแก่การศึกษาค้นคว้าให้สืบทอดคงอยู่เป็นมรดกทางวรรณกรรมของชาติสืบไป โดยในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ทางสำนักพิมพ์ได้พิมพ์ตามต้นฉบับดั้งเดิม และได้มีการจัดทำคำศัพท์เปรียบเทียบคำที่้ใช้ตามต้นฉบับกับคำที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเทียบกับพจานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

ทางสำนักพิมพ์หวังว่าหนังสือเล่มนี้คงเป็นประโยช์สำหรับผู้อ่านที่สนใจทุกท่าน

นครสาส์น

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว