รายละเอียด : ปรัชญาชีวิต (The Prophet) (ปกแข็ง เล่มเล็ก)
จงรักกันและกันแต่อย่าสร้างพันธะแห่งความรักและขอให้ความรักนั้นเป็นเสมือนหนึ่งวงสมุทรอันเคลื่อนไหว อยู่ระหว่างฝั่งแห่งวิญญาณของเธอทั้งสอง จงเติมถ้วยของกันและกัน แต่อย่าดื่มจากถ้วยเดียวกัน จงให้ขนมปังแก่กัน แต่อย่ากัดกินจากก้อนเดียวกัน จงร้องและเริงรำด้วยกัน และจงมีความบันเทิงแต่ขอให้แต่ละตนได้มีโอกาสอยู่โดดเดี่ยวดั่งเช่นสายพิณนั้นต่างอยู่โดดเดี่ยวทว่าสั่นสะเทือนด้วยทำนองดนตรีเดียวกัน
สารบัญ : ปรัชญาชีวิต (The Prophet) (ปกแข็ง เล่มเล็ก)
- เรือเล่นเข้ามา
- ว่าด้วยความรัก
- ว่าด้วยการแต่งงาน
- ว่าด้วยบุตร
- ว่าด้วยการบริจาค
- ว่าด้วยการกิน และดื่ม
- ว่าด้วยการงาน
- ว่าด้วยบ้านเรือน
- ว่าด้วยเครื่องนุ่งห่ม
- ว่าด้วยอิสรภาพ
- ว่าด้วยความปวดร้าว
- คำอำลา
เนื้อหาปกหลัง : ปรัชญาชีวิต (The Prophet) (ปกแข็ง เล่มเล็ก)
จงรักกันและกันแต่อย่าสร้างพันธะแห่งความรักและขอให้ความรักนั้นเป็นเสมือนหนึ่งวงสมุทรอันเคลื่อนไหว อยู่ระหว่างฝั่งแห่งวิญญาณของเธอทั้งสอง จงเติมถ้วยของกันและกัน แต่อย่าดื่มจากถ้วยเดียวกัน จงให้ขนมปังแก่กัน แต่อย่ากัดกินจากก้อนเดียวกัน จงร้องและเริงรำด้วยกัน และจงมีความบันเทิงแต่ขอให้แต่ละตนได้มีโอกาสอยู่โดดเดี่ยวดั่งเช่นสายพิณนั้นต่างอยู่โดดเดี่ยวทว่าสั่นสะเทือนด้วยทำนองดนตรีเดียวกัน
รีวิวโดยผู้เขียน : ปรัชญาชีวิต (The Prophet) (ปกแข็ง เล่มเล็ก)
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2489 ข้าพเจ้าได้ทราบจากเพื่อนกลุ่มที่สนใจทางศิลปะและวรรณกรรมว่า ที่ห้องสมุดกลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหนังสือดีน่าสนใจอยู่เล่มหนึ่ง เป็นทั้งบทกวีและปรัญชาชื่อ 'The Prophet' เขาเน้นเสริมด้วยว่า มีอยู่เล่มเดียวในเมืองไทยขณะนั้น ข้าพเจ้าจึงไปติดต่อขอยืมเพื่อลองอ่านดู
วันที่ไปยืมนั้นดูเหมือนจะเป็นวันศุกร์ พอได้มาเปิดอ่านได้ไม่กี่หน้า เกิดความประทับใจอย่างมาก อยากได้เก็บเอาไว้อ่านพลิกดูไปมา เห็นว่าจำนวนเนื้อความไม่มากนัก ก็เกิดความคิดที่จะลอกไว้ ถ้าเป็นสมัยนี้มีการลอกเอกสารกันดาษตื่นเพราะความเจริญทางเท็คโนโลยี แล้วก็เป็นเรื่องเล็กมา แต่เมื่อ 41 ปี มาแล้ววิธีตรงไปตรงมาที่สุดก็คือ คัดลอกด้วยลายมือของตัวเอง
ข้าพเจ้าไปซื้อสมุดปกแข็งขนาดกลางมาเล่มหนึ่ง แล้วลงมือนั่งลอกตั้งแต่ค่ำวันนั้น การเขียนลอกลงสมุดนั้นเขียนลงแต่หน้าขวาเว้นหน้าซ้ายว่างไป ข้าพเจ้าทำการลอกอย่างค่อนข้างบรรจง อ่านง่าย ตลอดวันเสาร์ พอเย็นวันอาทิตย์ก็ลอกเสร็จถึงหน้าสุดท่าย และเป็นความบังเอิญที่แปลกอย่างหนึ่งคือ สมุดปกแข็งนั้นก็ใช้หมดหน้าสุดท้ายพอดีกับที่หมดเนื้่อความในหน้าสื่อ
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : ปรัชญาชีวิต (The Prophet) (ปกแข็ง เล่มเล็ก)
"ปรัชญาชีวิต" เป็นหนังสืออมตะของ คาลิล ยิบราน ซึ่งรู้จักกันแพร่หลายทั้วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สนใจปรัชญาและสาระลึกซึ่งนับแต่พิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษครั้งแแรกเมื่อง ค.ศ. 1926 เป็นต้นมา ก็ได้พิมพ์ไปแล้วหลายสิบล้านเล่ม ทั้งยังแปลและพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ หลายสิบภาษา
กล่าวกันว่า การอ่านกวีนิพนธ์ "ปรัชญาชีวิต" ของคาลิล ยิบราน นั้นผู้อ่านมักจะนึงถึงท่วงทำนองดนตรีไปพร้อมกับภาษาอันสวยงามด้วย ฉบับภาษาอังกฤษที่เริ่มพิมพ์ครั้งแรกๆ จึงได้แบ่งวรรคตอนการคั่นจังหวะได้เสมึอนหนึ่งเป็นท่อนรับที่ว่างจากคำร้องแต่แทรกสอดด้วยดนตรีแทน หรือในอีกความรู้สึกหนึ่งก็คือ กวีนิพนธ์ของคาลิล ยิบราน ควรที่ผู้อ่านจะดื่มด่ำช้าๆ ลีลาการเขียน และความหมายอันลึกซึ้ง
ฉบับภาษาอังกฤษของ 'The Prophet' จึงได้ถือปฏิบัติในการเว้นจังหวะโดยใช้ช่องว่าง หรือมีเครื่องหมายคั่นในแต่ละตอนไว้่ และยึดถือกันเรื่อยมา แม้ฉบับที่พิมพ์ครั่งล่าสุด
การพิมพ์ภาษาไทยครั้งนี้ก็ยึดถือแบบแผนเดียวกัน โดยคงรูปแบบการจัดรูปเล่มของสำนักพิมพ์กะรัตที่ได้ทำไว้ พ.ศ. 2530 นอกจากจะทำให้หนังสือรูปเล่มสวยงามแล้ว ก็ด้วยเหตุผลดังกล่าวเป็นสำคัญ
หนังสือเล่มนี้เป็นที่รู้จักกันในบรรดานักอ่านทั่วโลก และแม้แต่ในประเทศไทยก็ได้แพร่หลายมานาน มหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัญอเมริกา ยุโรป และประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ กำหนดให้หนังสือนี้เป็นคู่มือประกอบการศึกษาวิชาปรัชญา รวมทั้งมหาวิทยาลับบางแห่งในประเทศไทยด้วย
ชื่อ คาลิล ยิบราน และหนังสือของกวีท่านนี้กล่าวถึงกันมากในกลุ่มนักอ่าน นักศึกษา นักปรัญชา รวมทั้งกวีและนักเขียน
ในโอกาส 87 ปี นับแต่พิมพ์ครั้งแรก และย่างเข้าปีที่ 50 ของฉบับแปลภาษาไทย สำนักพิมพ์ผีเสื้อได้จัดทำรูปเล่มพิเศษปกแแข็งและพิมพ์สอดสี เพื่อเป็นที่ระลึกและคาราวะผู้นิพนธ์ อีกทั้งได้ตรวจแก้ปรับปรุงต้นฉบับจากการพิมพ์ครั้งแรกซึ่งตกหล่นไปบ้างให้ครบถ้วบสมบูรณ์
สำนักพิมพ์ผีเสื้อ