รายละเอียด : นิราศภูเขาทอง (ฉบับ ไทย-อังกฤษ)
นิราศภูเขาทอง (ฉบับ ไทย-อังกฤษ)
หนังสือนิราศภูเขาทองที่อยู่มนมือท่านนี้ เป็นหนังสือแปลอีกเล่มหนึ่งในชุดนิราศสุนทรภู่ โดยเป็นบันทึกการเดินทางของสุนทรภู่จากกรุงเทพ เพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาขณะที่กำลังบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดราชบูรณะราชวรวิหาร หลังจากสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ ๒ เสด็จสววรคต และสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื้อหาในเรื่องนอกจากสุนทรภู่จะบรรยายถึงความจงรักภักดีและความอาลัยในรัชกาลทีื ๒ แล้ว ยังได้ระบายความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในโชควาสนาที่ต้องตกอับไร้ญาติขาดมิตรในช่วงเวลาดังกล่าว จนต้องออกจากวัดราชบูรระมาล่องเรือกับลูกศิษย์ นอกจากนั้น สุนทรภู่ยังได้บรรยายความงามของธรรมชาติลักษณะภูมิประเทศ ศิลปะและวัฒนะธรรมท้องถิ่น ที่ได้พบเห็นระหว่างการเดินทางรวมทั้งสภาพที่ทรุดโทรมของเจดีย์ ภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยละเอียด ผ่านบทกวีที่เรียบง่าย แต่ไพเราะลึกซึ้ง
สำหรับเอกสารต้นฉบับนิราศภูเขาทอง ฉบับบพิมพ์จาก "ชีวิตและงานของสุนทรภู่" ของกรมศิลปากร ฉบับบตรวจสอบชำระใหม่ พร้อมบทแปลเป็นคำกลอนภาษาอังกฤษ ชนิดบาทต่อบาท หรือบทต่อบท ในการแปลนี้ นอกจากจะพยายามคงความหมายของต้นฉบับเดิมให้ครบถ้นแล้ว ผู้แปลยังได้เลือกใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาอังกฤษแบบพื้นบ้านที่เรียบง่าย คล้องจองและมีจังหวะ เพื่อให้อ่านง่ายและสนุกตามแนวการเขียนของสุนทรภู่ และยังได้เพิ่มข้อมูลต่างๆ ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์เพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่านด้วย อาทิ แผนที่แสดงเส้นทางของสุนทรภู่จากกรุงเทพ ไปภูเขาทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบทความเรื่องตามรอยนิราศภูเขาทอง เชิงอรรถรสภาษาอังกฤษท้ายเล่มและบรรณานุกรม เพื่อผู้สนใจจะทำการสืบค้นเพิ่มเติมด้วย
การแปลหนังสือชุดนิราศสุนทรภู่ทั้ง ๔ เล่มนี้คือ นิราศเมืองแกลง นิราศเมืองเพชร นิราศพระบาท และนิราศภูเขาทอง แสดงถึงความวิริยะอุตสาหะของผู้แปล คือ อาจารย์เสาวณีย์ นิวาศะบุตร นักแปลเจ้าของรางวัล สุรินทราชา สาขานักแปลดีเด่น พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นอย่างสูง สมควรที่จะได้รับการยกย่อง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการพิมพ์เผยแพร่หนังสืออันทรงคุณค่าชุดนี้สุ่สากล ให้ชาวโลกได้รับรู้และชื่นชมมรดกอันลำ้ค่าแห่งภาษาและวรรณคดีไทยชินนี้ด้วย
ผมหวังว่าหนังสือแปลชุดนี้จะมีส่วนช่วยสนัยสนุนแก่ผู่ที่สนใจในวรรณคดีไทย รวมทั้งผู้อ่านที่เป็นชาวต่างชาติก็สมารถที่จะทราบซึ้งกับศิลปวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และความเป็นอยู่ของชนชาติไทยได้ดียิ่งขึ้น จนน่าจะกล่าวได้ว่าเป็นหนังสือดีอีกชุดหนึ่งที่จะไม่สร้างความผิดหวังให้แก่ผู้อ่านเลย
เนื้อหาปกหลัง : นิราศภูเขาทอง (ฉบับ ไทย-อังกฤษ)
สุนทรภู่กวีเอกแห่งสยามได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO ให้เป็นกวีเอกของโลกเมื่อวันที ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๙ แม้จะเป็นกวีเอกแห่งราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์ทว่าบทกวีของสุนทรภู่มีลักษณะพิเศษคือ ใช้คำง่าย ได้รสคำงาม รสความชัด คมคายและสนุกสนาน เข้าใจคนทุกชนชั้น จึงได้รับสมญาว่าเป็น กวีชาวบ้าน
Sunthorn Phu, one of thailand's great poets,wax honored by UNESCO as the Word's post Laureate,on June 26,1986 Although a famous Rattanakosin Court Poet,the great characteristic of sunthorn Phu's poetic works was the use of simple and witty words that hit the heartstrings of people of all calsses That is why he is so deservwdly called the "People's Poet"
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : นิราศภูเขาทอง (ฉบับ ไทย-อังกฤษ)
นิราศภูเขาทอง เป็นนิราศอีกเรื่องหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มวรรณคดีที่พาบรรณาธิการย้อนรอยทางและเวลากลับไปหาบรรพบุรุษ จากที่กล่าวไว้ในสารจากบรรณาธิการ นิราศพระบาท ทั้ยังเป็นนิราศที่เมื่อครั้งเรียนชั้นมัธยมต้นก็ท่องได้ทั้งเล่ม บัดนี้ แม้จะลืมบางตอนไปบ้าง แต่เพียงสะกิดด้วยวลีแรกๆ ก็ท่องได้ การกำหนดให้นักเรียนท่องอาขยายจึงเป็นคุณณูปการแก่วรรณคดีไทยและคนไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะคนไทยต่างเพศต่างวัยไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน วรรณคดีเรื่องที่ตนท่องได้ แม้ว่าจะเพียงบางตอนก็ตามที ก้จะติดสมองไปตลอดชีวิต ย่อหน้าแรกนี้จึงเขียนบูชาพระคุณของสุนทรภู่ครูกวี และครูวิชาภาษาและวรรณคดีไทยทุกคน
ด้วยการท่องจำนี้เองที่ช่วยงานรื้อฟื้นวรรณคดีที่ตัวเขียนหายสาบสูญไปเมื่อตอนเสียกรุง แต่ดำรงอยู่ในความทรงจำของผู้คน ทั้งประวัติและผลงานของสุนทรภู่ก็เช่นกัน ผู้ศึกษาค้นคว้าเมื่อท่านถึงแก่อนิจกรรมไปแล้วตอนจนนักวิชาการรุ่รหลังๆ ก็ได้อาศัยหลักฐานทางตัวเขียนซึ่งลอกกันต่อๆมาจนผิดแผกกันไปด้วยเหตุผลต่างๆนานา กับการถามลูกหลานและคนที่ทันเห็นทันรู้เรื่อง รวมทั้งการอ่านงานของท่านโดยระเอียดเพื่อหารสารที่ท่านบอกตรงๆบ้าง แทรกไว้บ้าง ซ่อนไว้บ้างนิราศภูเขาทองท่านก็แต่งไว้เช่นกันนั้นน่าที่ผู้อ่านจะนึกสนุก หาทั้งสารและสาระมาสนทนากันในโอกาศต่างๆอันเป็นวิธีการอนุรักษ์ ผลงานของท่านไว้ให้ได้ที่สุด ไม่ให้เป็นเพียงหนังสือเฉยๆ
การแปลนิราศสุนทรภู่เป็นภาษาต่างประเทศ มิใช่เพิ่งมีแต่ฉบับบแปลที่คุฯเสาวณีย์ นิวาศะบุตร เป็นผู้แปล ทั้ง นิราศเมืองเพชร นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท และนิราศภูเขาทอง เป็นชุดที่นักถาษา วรรณคดีไทยและนักแปลเช่นบรรณาธิการนี้ ภูมิใจอย่างยิ่งในฐานะคนไทยที่พยายามทำงานเพื่อให้ภูมิปัญญาไทยเป็นที่รู้จักกว้างขวางสืบไปในหมู่คนต่างชาติที่อ่านหรือฟังภาษาอังกฤษได้ โดยไม่ต้องรู้ภาษาอังกฤษดีนัก แต่มีใจชื่นชมลักษณะพิเศษและความงามในถ้อยคำของวรรณคดีประเภทนิราศ
เมื่อสุนทรภู่เห็นเจดีย์ภูเขาทอง ท่านเขียนว่า " ครั้นรุ่งเช้าเข้าเป็นวันอุโบสถ เจริญรสธรรมาบูชาฉลอง ไปเจดีย์ที่ชื่อภูเขาทอง ดูสูงล่องลอยฟ้านภาลัย อยู่กลางทุ่งรุ่งโรจน์สันโดษเด่น เป็นที่เล่นนาวาคงคาใส ที่พื้นลานฐานบัทม์ถัดบันได คงคาลัยล้อมรอบขอบคัน" ท่านพรรณนาลักษณะของพระเจดีย์ไว้ชัดเจนเหมือนมีภาพถ่าย ท่านกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมเจดีย์ไว้ไม่มากนัก แต่หัวใจของการเดินทางคราวนี้อยู่ที่การปลงอนิจจัง ตั้งแต่ต้นจนปลายเรื่อง ดังสรุปไว้ว่า "โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้นฯ"
ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่าทุกสิ่งเป็นอนิจจัง แต่จะปล่อยให้ ร้างรัก นั้นหาควรไม่ดังนั้น เมื่ออ่าน นิราศภูเขาทอง ฉบับภาษาไทย-อังกฤษ แล้วก็ขอให้ท่านทั้งหลายช่วยกันศึกษา และผดุงรกษาวรรณคดีไทย อนุรักษ์โบราณสถานอันเป็นพยานวัตถุในประวัติศาสตร์ และเผยแพร่เกียรติคุณของสุนทรภู่ กวีเอกของไทย ให้ขจรขยายสืบไป