น้อยหน่าพันธุ์ใหม่ ฝ้ายเขียวเกษตร 2

ผู้เขียน: มนตรี แสนสุข

สำนักพิมพ์: นานา สำนักพิมพ์

หมวดหมู่: งานอดิเรก งานฝีมือ , เกษตรกรรม สัตว์เลี้ยง

0 (0) เขียนรีวิว

135.00 บาท

150.00 บาท ประหยัด 15.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

น้อยหน่าพันธุ์ใหม่ ที่คัดสรรปรับปรุงสายพันธู์เกือบ 20 ปี ด้วยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางการพัฒนาสายพันธุ์พืชจนเกิดเป็น ฝ้ายเขียวเกษตร 2 < แสดงน้อยลง น้อยหน่าพันธุ์ใหม่ ที่คัดสรรปรับปรุงสายพันธู์เกือบ 20 ปี ด้วยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางการพัฒนาสายพันธุ์พืชจนเกิดเป็น ฝ้ายเขียวเกษตร 2
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

135.00 บาท

150.00 บาท
150.00 บาท
ประหยัด 15.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
127 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
16.5 x 23.9 x 0.7 CM
น้ำหนัก
0.203 KG
บาร์โค้ด
9786163015310

รายละเอียด : น้อยหน่าพันธุ์ใหม่ ฝ้ายเขียวเกษตร 2

ไม้ผลสกุลน้อยหน่าเป็นไม้ผลที่นิยมปลูกในเขตร้อนและอบอุ่นของโลก มีรสชาติดีนิยมบริโภคทั้งในและต่างประเทศ ในประเทศไทยปลูกกันมากในเขตพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยปลูกน้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสม มีผลผลิตสามารถส่งออกขายไปยังประเทศใกล้เคียงได้เป็นจำนวนมาก

อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด ผู้ทรงคุณวุฒิทางการพัฒนาสายพันธุ์พืช เป็นผู้คิดค้นน้อยหน่าพันธุ์ใหม่ ที่คัดสรรปรับปรุงสายพันธุ์มาเกือบ 20 ปี จนเกิดเป็น ฝ้ายเขียวเกษตร 2 เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย ทนแล้ง ให้ผลผลิตเร็ว การันตีความอร่อยว่า ได้รสชาติน้อยหน่าฝ้ายเขียว และเพชรปากช่องแต่เพิ่มเติมคือความอร่อยที่ถูกปากคนทานมากขึ้น


คำนำ : น้อยหน่าพันธุ์ใหม่ ฝ้ายเขียวเกษตร 2

น้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 นี้ เป็นน้อยหน่าสายพันธุ์ใหม่ เกิดจากฝีมือการสร้างของ อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด อาจารย์นักพัฒนาสายพันธุ์น้อยหน่า แห่งสถานีวิจัยปากช่อง นครราชสีมา เป็นน้อยหน่าทางเลือกของผู้บริโภคอีกสายพันธุ์หนึ่ง

เดิมทีเกษตรกรนิยมปลูกน้อยหน่าเนื้อกับน้อยหน่าหนังกัน ต่อมา "อาจารย์เรืองศักดิ์" ได้พัฒนาน้อยหน่าสายพันธุ์ใหม่ออกมาเป็นที่ฮือฮากันมาก และติดตลาดมาจนทุกวันนี้ นั่นก็คือ

น้อยหน่าเพชรปากช่อง กับ น้อยหน่าพันธุ์เนื้อทอง

ได้รับความนิยมมากก็คือ "น้อยหน่าเพชรปากช่อง" ที่มีผลขนาดใหญ่เนื้อเหนียวแน่น ละเอียด หวาน หอม เมล็ดเล็กและน้อย ผู้บริโภคให้การต้อนรับอย่างดี ทำให้เกษตรชาวสวนผู้ปลูกน้อยหน่ามีรายได้ดีไปตามๆ กัน

แต่เนื่องจากยังมีผู้บริโภคอีกส่วนหนึ่ง ที่ยังนิยมชมชอบน้อยหน่าฝ้ายพื้นเมือง ด้วยรสชาติที่หวาน หอม เนื้อเป็นครีมบิทานง่ายกว่า "เพชรปากช่อง" เหตุนี้ "อาจารย์เรืองศักดิ์" ก็เลยคิดพัฒนาน้อยหน่าพันธุ์ใหม่นำเอาพันธุ์ฝ้ายเดิมเป็นต้นแบบ พัฒนาให้ผลใหญ่ขึ้น เมล็ดน้อย เนื้อมากกว่าเดิม แต่ยังคงรสชาติน้อยหน่าฝ้ายเดิมเอาไว้ ใช้เวลาอยู่นานมากๆ นับ 10 ปี ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จได้ น้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ออกมา

ขอขอบคุณและขอบคุณครับ

มนตรี แสนสุข

 


สารบัญ : น้อยหน่าพันธุ์ใหม่ ฝ้ายเขียวเกษตร 2

    • อดีตสู่อนาคต
    • น้อยหน่าลูกผสม
    • การพัฒนาพันธุ์
    • ฝ้ายเขียวเกษตร
    • หนังเขียวเกษตร
    • เพชรปากช่อง
    • ปากช่อง เคยู 1
    • การผลิตน้อยหน่าคุณภาพ
    • ประโยชน์และคุณค่า
    • ศัตรูและโรค
    • ปลูกพันธุ์ใหม่ ของใหม่ ราคายังดี
    • แนะเทคนิคการไว้ผล
    • การขยายพันธุ์น้อยหน่า

เนื้อหาปกหลัง : น้อยหน่าพันธุ์ใหม่ ฝ้ายเขียวเกษตร 2

อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด ผู้คิดค้นพันธุ์น้อยหน่า ฝ้ายเขียวเกษตร 2 การันตีความอร่อยว่า ได้รสชาติน้อยหน่าฝ้ายเขียว และเพชรปากช่องแต่เพิ่มเติมคือความอร่อยที่ถูกปากคนทานมากขึ้น



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : น้อยหน่าพันธุ์ใหม่ ฝ้ายเขียวเกษตร 2

หากจะเลือกทานผลไม้ก็ต้องเลือกทานผลไม้ที่มีคุณภาพดี รสชาติดี มีทั้งความหอม หวาน และอร่อย ไม่ใช่เลือกผลไม้ที่ไม่มีคุณภาพมาทาน เพราะจะทำให้เสียรสชาติได้ น้อยหน่า เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่สามารถทางได้ง่าย มีให้เลือกหลากหลายพันธุ์ เพราะมีเกษตรกรผู้ปลูกนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย

ปัจจุบันการคินค้นสายพันธุ์ขึ้นมาได้อีกหนึ่งสายพันธุ์ นั่นก็คือ พันธุ์ฝ่ายเขียวเกษตร 2 ว่ากันว่า เป็นพันธุ์ที่ อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด นักพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์พืช คิดหาวิธีและพัฒนามาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี กันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง ฝ้ายเขียว กับ เพชรปากช่อง ซึ่งเป็นพันธุ์ดีอยู่แล้วนำมาปรับปรุงเพิ่มจนเกิดมาเป็น ฝ้ายเขียวเกษตร 2 นี้ นี่เอง ซึ่งลักษณะเด่นที่มีก็คือ ผลใหญ่ เนื้อมาก เมล็ดน้อย สุกช้า หวานและหอม เนื้อจะออกไปท่างน้อยหน่าฝ้าย ซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทยอยู่แล้ว

ดังนั้น หากเกษตรกรผู้สนใจจะปลูกพืชอีกชนิดเพิ่มเติมในสวนของท่าน น้อยหน่าฝ่ายเขียวเกษตร 2 นี้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะแนะนไให้นำไปปลูกกันดู

นานาสำนักพิมพ์

 

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว