แดนอรัญบันทึก 2015

ผู้เขียน: แดนอรัญ แสงทอง

สำนักพิมพ์: ไรท์เตอร์/Rai Toe

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

178.20 บาท

198.00 บาท ประหยัด 19.80 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

บันทึกว่าด้วยหนังสือหนังหา ของนักเขียนผู้อ้างตนว่าเกิดมาเพื่อรับใช้วรรณกรรม < แสดงน้อยลง บันทึกว่าด้วยหนังสือหนังหา ของนักเขียนผู้อ้างตนว่าเกิดมาเพื่อรับใช้วรรณกรรม
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: วรรณกรรมไทย , ความเรียง , สารคดี , เรื่องสั้น

178.20 บาท

198.00 บาท
198.00 บาท
ประหยัด 19.80 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
150 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.3 x 20.9 x 0.9 CM
น้ำหนัก
0.184 KG
บาร์โค้ด
9786167751771

รายละเอียด : แดนอรัญบันทึก 2015

แดนอรัญบันทึก

จุดประสงค์ของอารัมภบทนี้ก็เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะย่างก้าวเข้าสู่โลกอันแปลกประหลาดและไม่เป็นที่คุ้นเคยของเรื่องเล่าที่ท่านประสงค์จะอ่านในลำดับถัดไป และเพื่อเป็นการบอกกล่าวถึงปัญหาในการทำงานของข้าพเจ้าด้วย โลกอันแปลกประหลาดนั้นก็คือจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้ระบบศักดินา ปีค.ศ.1702 อันเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญในเรื่องตรงกับปีพ.ศ.2245 อันเป็นสมัยอยุธยาตอนกลางของไทยเรา คิรา โคตสุเกะ โนะ สุเกะ ตัวละครสำคัญของเรื่องถูกกล่าวถึงโดยปราศจากรายละเอียดทางกายภาพ ท่านควรจะต้องทำความคุ้นเคยกับชื่อของเขาไว้เป็นอันดับแรก ท่านต้องกำชับตนเองว่าคิรา โคตสุเกะ เป็นขุนนางชั้นสูง เป็นข้าราชสำนักผู้อาจมีโอกาสได้เฝ้าแหนหรือถวายการรับใช้โดยใกล้ชิดแด่องค์สมเด็จพระจักรพรรดิ เป็นผู้คุ้นเคยกับผู้สูงศักดิ์และขุนนางชั้นสูงคนอื่นๆ เขาคงเป็นคนร่ำรวยอย่างยิ่ง ในต้นฉบับภาษาอังกฤษบางครั้งบ้านของเขาถูกเอ่ยถึงในฐานะที่เป็น "วัง" ท่านอาจจะจินตนาการต่อไปได้โดยไม่ยากเมื่อได้พานพบกับกิริยาวาจาอันสามหาวของเขา ว่าเขานั้นเป็นคนชอบว่างอำนาจบาทใหญ่และเจ้ายศเจ้าอย่างยิ่งนัก

อาซาโนะ ทาคูมิ โนะ คามิ ตัวละครสำคัญอีกตัวหนึ่งก็ปรากฏตัวขึ้นโดยปราศจากรายละเอียดทางกายภาพ เรารู้แต่เพียงว่า "เขาเป็นจ้าวแห่งปราสาทอาโกะ" นี่หมายความว่าอย่างไร? บอร์เฆสก็ไม่ได้ให้อรรถาธิบายข้าพเจ้าจินตนาการเอาว่าเขาเป็นเจ้าเมือง และอาโกะหรือปราสาทแห่งอาโกะนั้นอยู่ตรงไหนแน่ในแผนที่แสดงลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น? นี่บอร์เฆสก็ไม่แยแสที่จะอธิบายอีกเช่นกัน ข้าพเจ้าต้องจินตนาการเอาว่าเป็นเมืองเล็กๆ แต่ทว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่ง เป็นเมืองชนบท อยู่ห่างจากเยโดอันเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นในครั้งกระนั้นมากพอดู ข้าพเจ้าสรุปเอาว่าอาซาโนะ ทาคูมิ โนะ คามิ เป็นเจ้าเมืองบ้านนอก เป็นทหารที่แข็งกล้าเด็ดเดี่ยว และแน่นอนเขาเป็นซามูไร

 


สารบัญ : แดนอรัญบันทึก 2015

    แดนอรัญบันทึก

    • เรื่องเก่าเล่าใหม่สองเรื่อง ของ ฆอร์เก้ ลูอิซ บอร์เฆส
    • มั้งค์ อีสแมน ผู้ดำเนินธุรกิจด้วยการรวบรวมและจัดส่ง
    • อเมริกันร่อนเร่พเนจรในปารีส
    • ว่ายเวิ้งมหาสมุทร จดหมายอันมีเนื้อหาเกี่ยวกับกระแสน้ำอุ่นกัล์ฟสตรีม
    • การกลายรูปลักษณ์จาก ออน เดอะ บลู วอเทอร์

เนื้อหาปกหลัง : แดนอรัญบันทึก 2015

แดนอรัญบันทึก

"นักเขียนน่ะ แม่งเจ๋งกว่าพระเจ้าอีก" "พระเจ้าสร้างมนุษย์ แต่มนุษย์น่ะเดี๋ยวแม่งก็ตาย นักเขียนสร้างตัวละคร ตัวละครที่ดีอยู่ได้ถึงหลายร้อยหลายพันปีเลยว่ะ นี่ประเมินอย่างต่ำๆ นะ แล้วก็ขอพูดอย่างถ่อนตนไว้เสีย ณ ที่นี้เลยว่านักเขียนน่ะ ในแง่นี้แม่งเจ๋งยิ่งกว่าพระเจ้าเสียอีกว่ะ"



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : แดนอรัญบันทึก 2015

แดนอรัญบันทึก

เป็นการยากพอสมควรที่จะบ่งชี้ว่าข้อเขียนของแดนอรัญชุดนี้จัดอยู่ในหมวดหมู่ใด ที่ผ่านมาเราจะคุ้นเคยกับงานของเขา 3 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน คือ เรื่องสั้น นวนิยาย และงานแปล แต่กับข้อเขียนชุดนี้ บางเรื่องมีลักษณะเป็นความเรียง บางเรื่องคล้ายสารคดี และบางเรื่องก็มีท่วงทำนองแบบเรื่องสั้น บางเรื่องนั้นออกตัวว่าเป็นงานแปล แต่แปลในแบบของเขา คือนำเรื่องเก่า (ของนักเรียนคนโปรด) มาเล่าใหม่ในลีลาที่เขาถนัด

ทว่าท้ายที่สุดแล้ว เราจัดหมวดหมู่ให้งานเขียนชุดนี้แบบง่ายๆ ว่าเป็น "บันทึก" บันทึกของนักเรียนคนหนึ่ง ซึ่งเขียนถึงนักเขียนคนอื่นๆ อย่างหมกมุ่นหลงใหล และเต็มไปด้วยอรรถรสทางภาษา จุดเริ่มต้นมาจากการเขียนคอลัมน์ลงในนิตยสารไรท์เตอร์ตั้งแต่ฉบับที่ 23 (มีนาคม2557) เรื่อยมาจนถึงฉบับที่ 39 (ธันวาคม2558) บันทึกเรื่องราวของนักเรียนไทยและเทศที่ติดตรึงอยู่ในความทรงจำชำแหละตัวตนและกลวิธีของนักเรียนเหล่านั้นเป็นชิ้นๆ และชำแหละตัวตนของเขาไปพร้อมๆ กันด้วย

ในการรวมเล่มครั้งนี้ ทางสำนักพิมพ์คัดสรรมาเฉพาะข้อเขียนที่เกี่ยวกับนักเขียนต่างประเทศเท่านั้น ด้วยเหตุผลสองประการดังนี้ ประการแรกเราเห็นว่าในแต่ละข้อเขียนที่แดนอรัญเขียนถึงนักเขียนต่างประเทศนั้น ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ ล้วนแสดงให้เห็นถึงร่องรอยทางวรรณกรรมที่เขาสั่งสมมา งานแต่ละชิ้นและนักเขียนแต่ละคนที่เขาหยิบยกมาเล่า ล้วนส่งอิทธิพลต่องานเขียนของเขาในทางใดทางหนึ่ง แต่ละข้อเขียนจึงเป็นเสมือนการบันทึกเพื่อสำรวจต้นทุนทางการอ่านการเขียนของเขาเองซึ่งอีกด้านก็เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของหนังสือหรือนักเขียนที่เขาหลงใหลหมกมุ่น ให้ผู้อ่านอย่างเราๆ ได้สัมผัสกัน ผ่านสุ้มเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของเขาเอง

ประการต่อมา เกิดจากการที่ผู้เขียนได้เปรยกับทางสำนักพิมพ์ว่าในส่วนข้อเขียนที่เกี่ยวข้องกับนักเขียนไทยนั้น แม้จะมีเนื้อหาที่เข้มข้นและอ่านสนุกไม่น้อยไปกว่ากัน แต่ตัวผู้เขียนเองยังมีข้อเขียนเกี่ยวกับนักเขียนไทยอีกหลายเรื่องที่ตั้งใจว่าจะเขียน และสามารถนำมารวมเล่มได้ต่างหากในโอกาสต่อไป สำนักพิมพ์จึงยังไม่นำมารวมเล่มในโอกาสนี้

สำนักพิมพ์ไรท์เตอร์

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว