รายละเอียด : สูตรเว่ยหล่าง
สูตรเว่ยหล่าง
สูตรเว่ยหล่าง เป็นหนังสือที่บันทึกชีวิประวัติและคำสอนตลอดชีวิตของท่านเว่ยหล่าง (ฮุ่ยเหนิง) หรือ พระสังปรินายองค์ที่ ๖ ของจีน ผู้ซึ่งบรรลุธรรมได้ทั้งๆ ที่ไม่รู้หนังสือเลยสักตัวหนึ่งท่านบังเอิญได้ฟังวัชรปารมิตาสูตรจากชายคนหนึ่งเท่านั้น ก็ได้พบกับความสว่างไสวแห่งพุทธธรรม จากนั้นจึงได้รับมอบตำแหน่งสังฆปริณายกองค์ที่ ๖ จากท่านหวางยั่น แต่กว่าที่จะได้อุปสมบนเรียบร้อย ก็มีอุปสรรคมากมาย ทั้งผู้คิดร้ายไม่หวังดี และพวกลูกศิษย์ของท่านหวางยั่นที่อิจฉาท่าน เพราะท่านเว่นหล่างเป็นเพียงฆราวาส ซึ่งเป็นคนงานตำข้าวในวัดเท่านั้น
คำสอนตามหลักนิกายธุยานะ หรือ ฉาน หรือ เซ็น นั้นแม้จะเป็นสูตรทางพุทธธรรมที่ลัดสั้น ไม่มีพิธีรีตองมากมายเหมือนสูตรทางพระไตรปิฏก อาจถือได้ว่าเป็นสูตรคนละแนว คนละทางโดยสิ้นเชิงเลยก็ว่าได้ แต่ก็เป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของมนุษย์เป็นพื้นฐาน ดังที่ท่านเว่นหล่างมีความมุ่งหวังให้ธรรมะอันประเสริฐนี้กลายเป็นเรื่องของคนธรรมดา ที่แม้ไม่รู้ตัวหนังสือก็สามารถปฏิบัติและเข้าใจได้ สูตรเว่ยหล่างนี้จึงถูกขนานนามว่า "ลัทธิพุทธศาสนาที่อยู่นอกพระไตรปิฏก" เป็นพระสูตรทางพระพุทธศาสนานิกายเซ็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางยาวนาน แม้เวลาจะผ่านไปประมาณ ๑,๓๐๐ ปีแล้ว เรื่องราวและหลักคำสอนของท่านเว่ยหล่างยังเป็นตำนานที่เล่าข่านในหมู่ชาวพุทธและผู้คนทั่วโลกอย่างไม่เสื่อมคลายได้มีการนำมาพิมพ์เป็นหนังสือมากมาน นอกจากนั้นก็ยังถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษา เพื่อเผยแพร่พระธรรมอันประเสริฐนี้ให้ขจรขจายไปไกลยิ่งขึ้น
เนื่องด้วยสูตรของท่านเว่ยหล่างนี้ล้วนแต่เป็นเรื่องการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากบ่วงทุกข์ทั้งปวงในโลกนี้ การศึกษาพระสูตรเว่ยหล่างนี้ นอกจากจะต้องเคยศึกษาพระพุทธศาสนามาบ้างแล้วเพื่อเป็นการง่าน ควรปล่อยว่างจิตใจให้ว่าง ไม่ยึดติดกับแนวทางและหลักปฏิบัติที่เคยเชื่อถือมาแต่ก่อน มิเช่นนั้้นท่านจะไม่สามารถเข้าใจถึง "จิตเดิมแท้" ในแนวทางของสูตรเว่ยหล่างได้อย่างหมดจดเก็บใจความสำคัญของหลักธรรมต่างๆ ที่ไม่ได้แบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ตามลำดับขั้นตอนนี้ให้ได้ ต้องใช้สมาธิในการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ท่านจึงจะได้ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิต และบรรลุความเป็นพุทธะ
คำนำ : สูตรเว่ยหล่าง
สูตรเว่ยหล่าง เป็นหนังสือที่บันทึกชีวิประวัติและคำสอนตลอดชีวิตของท่านเว่ยหล่าง (ฮุ่ยเหนิง) หรือ พระสังปรินายองค์ที่ ๖ ของจีน ผู้ซึ่งบรรลุธรรมได้ทั้งๆ ที่ไม่รู้หนังสือเลยสักตัวหนึ่งท่านบังเอิญได้ฟังวัชรปารมิตาสูตรจากชายคนหนึ่งเท่านั้น ก็ได้พบกับความสว่างไสวแห่งพุทธธรรม จากนั้นจึงได้รับมอบตำแหน่งสังฆปริณายกองค์ที่ ๖ จากท่านหวางยั่น แต่กว่าที่จะได้อุปสมบนเรียบร้อย ก็มีอุปสรรคมากมาย ทั้งผู้คิดร้ายไม่หวังดี และพวกลูกศิษย์ของท่านหวางยั่นที่อิจฉาท่าน เพราะท่านเว่นหล่างเป็นเพียงฒราวาส ซึ่งเป็นคนงานตำข้าวในวัดเท่านั้น
คำสอนตามหลักนิกายธุยานะ หรือ ฉาน หรือ เซ็น นั้นแม้จะเป็นสูตรทางพุทธธรรมที่ลัดสั้น ไม่มีพิธีรีตองมากมายเหมือนสูตรทางพระไตรปิฏก อาจถือได้ว่าเป็นสูตรคนละแนว คนละทางโดยสิ้นเชิงเลยก็ว่าได้ แต่ก็เป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของมนุษย์เป็นพื้นฐาน ดังที่ท่านเว่นหล่างมีความมุ่งหวังให้ธรรมะอันประเสริฐนี้กลายเป็นเรื่องของคนธรรมดา ที่แม้ไม่รู้ตัวหนังสือก็สามารถปฏิบัติและเข้าใจได้ สูตรเว่ยหล่างนี้จึงถูกขนานนามว่า "ลัทธิพุทธศาสนาที่อยู่นอกพระไตรปิฏก" เป็นพระสูตรทางพระพุทธศาสนานิกายเซ็ฯที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางยาวนาน แม้เวลาจะผ่านไปประมาณ ๑,๓๐๐ ปีแล้ว เรื่องราวและหลักคำสอนของท่านเว่ยหล่างยังเป็นตำนานที่เล่าข่านในหมู่ชาวพุทธและผู้คนทั่วโลกอย่างไม่เสื่อมคลายได้มีการนำมาพิมพ์เป็นหนังสือมากมาน นอกจากนั้นก็ยังถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษา เพื่อเผยแพร่พระธรรมอันประเสริฐนี้ให้ขจรขจายไปไกลยิ่งขึ้น
เนื่องด้วยสูตรของท่านเว่ยหล่างนี้ล้วนแต่เป็นเรื่องการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากบ่วงทุกข์ทั้งปวงในโลกนี้ การศึกษาพระสูตรเว่ยหล่างนี้ นอกจากจะต้องเคยศึกษาพระพุทธศาสนามาบ้างแล้วเพื่อเป็นการง่าน ควรปล่อยว่างจิตใจให้ว่าง ไม่ยึดติดกับแนวทางและหลักปฏิบัติที่เคยเชื่อถือมาแต่ก่อน มิเช่นนั้้นท่านจะไม่สามารถเข้าใจถึง "จิตเดิมแท้" ในแนวทางของสูตรเว่ยหล่างได้อย่างหมดจดเก็บใจความสำคัญของหลักธรรมต่างๆ ที่ไม่ได้แบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ตามลำดับขั้นตอนนี้ให้ได้ ต้องใช้สมาธิในการทำความเข้าใจอย่างลึดซึ่ง ท่านจึงจะได้ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิต และบรรลุความเป็ฯพุทธะ
ศิริญากรณ์ โชคประเสริฐศรี
บรรณาธิการ
สารบัญ : สูตรเว่ยหล่าง
- ว่าด้วยชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง
- ว่าด้วยปรัชญา
- ว่าด้วยปุจฉา-แลวิสัชนา
- ว่าด้วยสมาธิและปรัชญา
- ว่าด้วย ธุยานะ
- ว่าด้วยบาปสำนึก (การสำนึกบาป)
- ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัยและสิ่งแวดล้อม
- สำนักฉับพลัน และสำนักเชื่องช้า
- พระบรมราชูปถัมภ์
- คำสอนครั้งสุดท้าย
เนื้อหาปกหลัง : สูตรเว่ยหล่าง
สูตรเว่ยหล่าง
จิตแท้เดิมของเรา ซึ่งเป็นเมล็ดพืชหรือแก่นของการตรัสรู้นั้นเป็นของบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ และต้องการอาศัยจิตแท้เดิมนี้เท่านั้นมนุษย์เราจึงเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรง