รายละเอียด : โลกใหม่ใครกำกับ?
โลกใหม่ใครกำหนด?
ข้อเท็จจริง:
วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 รีด เฮลติงส์ กรรมการผู้จัดการของบริษัทเน็ตฟลิกซ์ ที่ให้บริการประเภทอินเทอร์เน็ตสตรีมมิง เขียนบทความลงในเว็บไซต์ของตนชื่อ "Internet Tolls And The Case For Strong Net Neutrality" ในบทความกล่าวหาว่าบริษัทเวอไรซัน ได้จำกัดความเร็วในการส่งข้อมูลบริการของเน็ตฟลิิกซ์ให้ลูกค้าของบริษัท(ความเร็วช่วงไพรม์ไทม์) หรือช่วงเวลาที่มีคนเข้าใช้งานมากที่สุด ลดลงเฉลี่ยของเดือนธันวาคม พ.ศ.2556 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ.2557) ในช่วงเวลาเดือนเดียวกันกับที่เผยแพร่บทความนั้นเวอไรซันกับเน็ตฟลิกซ์กำลังอยู่ในช่วงเจรจา โดยมีรายงานข่าวว่า เวอไรซันต้องการจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้นเพื่อให้ดำเนินการส่งข้อมูลบริการต่อไป แต่อีกรายงานข่าวก็กล่าวว่าเน็ตฟลิกซ์พยายามต่อรองให้อีกฝ่ายยอมเชื่อมต่อเครือข่ายกับอุปกรณ์ แคชชิง ของตน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่บริษัทเวอไรซันไม่ยินยอม
ประเด็นสำคัญของกรณีศึกษา
1 บริการดูวีดีโอออนไลน์ของเน็ตฟลิกซ์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยใน ค.ส.2013 มีการประมาณว่าปริมาณของการส่งผ่านข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเกือบ1/3 (32.3%) เป็นการดูหนังออนไลน์ของเน็ตฟลิกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไพรม์ไทม์อาจสูงถึง 70%
2 โครงสร้างข้อตกลงเรื่องการเชื่อมต่อของผู้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ได้ถูกออกแบบหรือตกลงไว้สำหรับรองรับกรณีที่ผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งจะเป็นผู้สร้างหรือส่งผ่านข้อมูลปริมาณมหาศาลนี้ โดยวิธีการเชื่อมต่อของผู้ให้บรการอินเทอร์เน็ต มีลักษณะเป็นรูปแบบเพียริง คือ แต่ละผู้ให้บริิการจะมีโครงข่ายเป็นของตนเอง และใช้โครงข่ายของตนเองให้การเชื่อมต่อแก่ลูกค้า โดยในกรณีของเน็ตฟลิกซ์นั้น ใช้บริการของบริษัทโคเจ็นต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกาในกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายหลักของอินเทอร์เน็ต
ในขณะที่ผู้ใช้บริการอาจซื้อบริการอินเทอร์เน็ตจากบริษัทอื่นๆ เช่น เครือข่ายของคอมแคสต์ ไทม์เวอร์เนอร์ หรือเวอไรซันและผู้ให้บริการเครือข่ายเหล่านี้ จะมีข้อตกลงสัญญาการเชื่อมต่อที่เรียกว่่าเพียริง โดยในสัญญาระบุว่าจะไม่คิดค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน และมีความคาดหมายว่าข้อมูลที่ส่งและรับจะมีปริมานใกล้เคียงกัน แต่เนื่องจากบริการของเน็ตฟลิกซ์เป็นที่นิยมมาก ทำให้ปริมาณการส่งข้อมูลของโคเจ็นต์ไปยังลูกค้าของเวอไรซัน(ผู้ดูวิดีโอออนไลน์) มีมากกว่าเวอไรซันส่งข้อมูลจากโคเจ็นต์ไปยังลูกค้าของเน็ตฟลิกซ์ โดยมีปริมาณที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
คำนำ : โลกใหม่ใครกำกับ?
โลกใหม่ใครกำหนด?
หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นต่อจากหนังสือแปล เปิดประตูสู่การอภิบาลอินเทอร์เน็ต ของโจวาน เคอร์บาลิจา ในขณะที่หนังสือ เปิดประตูสู่การอภิบาลอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่ปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอภิบาลอินเทอร์เน็ต หนังสือเล่มนี้พยายามทำให้ผู้อ่านเห็นภาพและจินตนาการออกถึงทฤษฎีที่หนังสือเล่มแรกพูดถึง ด้วยการนำกรณีศึกษาและเหตุการณ์ที่เกอดขึ้นจริงมาวิเคราะห์และตั้งคำถาม
แรกเริ่มเดิมที ผู้จัดทำวางไว้ว่ากลุ่มเป้าหมายหลักของหนังสือเล่มนี้คืออาจารย์และผู้เรียนวิชาการกฎหมายอินเทอร์เน็ตและออนไลน์ศึกษา ที่จะนำกรณีศึกษาที่อยู่ในหนังสือไปใช้ประกอบการเรียนการสอน โครงสร้างการเขียนของหนังสือจึงแบ่งแยกอย่างชัดเจนออกเป็นข้อเท็จจริงประเด็นสำคัญของกรณีศึกษา ผลที่ตามมา และความเห็นเพิ่มเติมของผู้เขียน แต่เมื่อกลับมามองดูอีกที ทั้งคลาวด์คอมพิวติง การแฮ็กข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต สแปม นโยบายชื่อจริงของเฟสบุ๊ก การเก็บข้อมูลทำแผนที่ของกูเกิล การซื้อขายออนไลน์ จริยศาสตร์ว่าด้วยเพื่อนในโลกออนไลน์ การเข้าถึงความรู้ที่เปลี่ยนไปเมื่อมีสารานุกรมวิกพีเดีย เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ไม่ได้อยู่แต่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น แต่วนเวียนเกีี่ยวพันอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ผู้จัดทำจึงหวังว่า ผู้อ่านทั่วไปจะมองข้ามโครงสร้างการเขียนที่อาจดูแข็งกระด้างไปบ้าง และพบเนื้อหาบางอย่างที่ตนเองสนใจและเห็นว่าเป็นประโยชน์
เนื้อหาปกหลัง : โลกใหม่ใครกำกับ?
โลกใหม่ใครกำกับ?
คำถามสำคัญที่อยากชวนร่วมกันหาคำตอบผ่านทางกรณีศึกษาเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ในโลกที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม เราสามารถมองประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลายบนอินเทอร์เน็ตด้วยความเข้าใจได้อย่างไร และเราจะมีส่วนในการกำกับโลกใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตได้ในแนวทางใดบ้าง