รายละเอียด : ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู
ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู
หลังจากทำงานธนาคารพัฒนาเอเชียและธนาคารโลกอยู่หลายสิบปี ดร.ไสว บุญมา ได้คำตอบจนแน่ใจว่า แนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักที่สังคมโลกส่วนใหญ่ใช้อยู่่ไม่สามารถแก่ปัญหาเศรษฐกิจของโลกปัจุบันได้ จากนั้นจึงพยายามแสงหาคำตอบใหม่ๆ ที่เป็นทางเลือก (ทางรอด) ที่เหมาะสมแก่สังคมไทย เพราะตระหนักว่าที่ผ่านมาการพัฒนาของประเทศไทยไปตามกระแสโดยปราศจากหลักการที่เหมาะสมของตัวเองโดยหลักการที่เหมาะสมจะต้องเกิดจากการใจในภาวพของตนเองอย่างถ่องแม้ ฉะนั้นในขณะนี้ การพัฒนาของไทยจึงคล้ายเป็นต้นไม้ที่ไร้รากแก้วอันมั่นคง
ในหนังสือเล่มนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า "แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานมั่นคงและเหมาะสมกับสังคมโลก มิใช่เรื่องการมุ่งชักชวนคนไทยให้กลับไปใช้ชีวิตและทำสวนครัวเลี้ยงตัวเอง หรือแบบคนไทยในชนบทเมื่อยุคก่อนซึ่งค่อยข้างยากจนเมื่อเปรียบเทียบกับวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน การมองเช่นนั้นเป็นการไม่เข้าใจเนื้อหาสาระของแนวคิดในบริบทของโลกยุคนี้ ตีความหมายผิด หรือจงใจบิดเบือนสาระของแนวคิดซึ่งอาจนำไปใช้เป็นฐานของการทำงานได้ทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กร ระดับชุมชน และในระดับประเทศนอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้จะชี้ให้เห็นว่าการท่องเศรษฐกิจพอเพียงแบบศีลห้าว่าประกอบด้วย สามห่วงกับสองเงื่อนไขจะไม่มีผลดีอย่างใด ทั้งนี้เพราะผลลัพธ์จะไม่ต่างกับกรณีการท่องศีลห้าได้แต่ไม่เข้าใจและไม่นำไปปฏิบัติ"
ดร.ไสว ตัดสินใจเขียนหนังสือเล่มนี้สำหรับครูเพราะเชื่อว่า ครูเป็นผู้กระจายความรู้ความเข้าใจพร้อมกับปฏิบัติตามแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงออกไปสู่สังคมได้อย่างมีประสิทธิผลที่สุด "ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู" คืองานเขียนที่หลั่นจากประสบการณ์ค่อนชีวิตของ ดร.ไสว บุญมา เพื่องสังคมไทยที่รักยิ่งของเขา คืองานเขียนที่ออกมาจากความห่วงใยสังคมอย่างแท้จริง
สารบัญ : ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู
- ครูกับภูมิปัญญาชาติไทย
- ก่อนมาเป็นภูมิปัญญาชาติไทย
- ทางตันและทิศทางแห่งความยั่งยืน
- Corruption Perception Index (ดัชนีชี้วัดความฉ้อฉล)
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู
ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู
ช่วงสองทศวรรษหลัง เสียงเรียกร้องให้ประชาคมโลกทบทวนแนวทางการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้านได้ระงมไปทั่ว ไม่เว้นแม้แต่สังคมไทยเนื่องจากวิกฤติสารพัดรูปแบบได้ซัดสาดเข้าใส่ประเทศต่างๆ จนตั้งตัวกันแทบไม่ติด จนนักพัฒนารวมถึงผู้มองการณ์ไไกลบางคนถึงขั้นบอกว่า การพัฒนาของโลกได้มาถึงทางตันแล้ว
ดร.ไสว บุญมา คือหนึ่งในนักพัฒนาประสบการณ์โชกโชน ที่ออกมาเตือนและนำเสนอทางออกในเรื่องนี้มาร่วมสองทศวรรษ โดยพิจารณาจากรากฐานและทิศทางของการพัฒนาสังคมไทย มากกว่าจะเต้นไปตามตัวเลขทางเศรษฐกิจแบบรายไตรมาสหรือรายปี ดังปรากฏในงานเขียนจำนวนมากของ ดร.ไสว ทั้งหนังสือและตามคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ชั้นนำต่างๆ และโดยเฉพาะในช่วงหลายปีหลัง ดูเหมือนน้ำเสียงของ ดรซไสว จะเร่งเร้าขึ้น
ในหนังสือเล่มนี้ ดร.ไสว ได้เน้นย้ำว่าแนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง"เป็นทางออกของสังคมไทยอย่างแท้จริง ทั้งยังนำเสนอมุมมองแบบรอบด้านต่อแนวคิดนี้ รวมถึงพากษ์สังคมไทยอย่างตรงไปตรงมา ทั้งหมดนี้เห็นได้ชัดเจนว่าออกมาจากหัวใจที่ปรารถนาดีต่อสังคมไทย ดังที่ ดร.ไสว ได้เปรยว่านี่อาจเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน
คราวนี้ก็ขึ้นกับพวกเราแล้วว่า จะเปิดใจรับฟังและใส่ใจสารสำคัญจาก ดร.ไสว บุญมา อย่างจริงจังแค่ไหน
ด้วยมิตรภาพและความปรารถนาดี
BNR BOOK HOUSE