รายละเอียด : ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
ตำรา ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีจุดมุ่งหมายเพื่อปูพื้นฐานความรู้สำหรับนิสิตนักศึกษาที่เรียนวิชา ทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์ในระดับบัณฑิตศึกษา หรือผู้อ่านทั่วไปที่สนใจศึกษาทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีตำราไทยที่นำเสนอเเนวคิดเเละทฤษฎีทางวรรรคดีวิจารณ์ตะวันตกค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่มักจะเป็นบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ ต่างวรรณกรรมต่างวาระเเละยังไม่ได้มีการประมวลอย่างเป็นระบบ การเขียนตำราเล่มนี้จึงเป็นความพยายามของผู้เขียนที่จะเเนะเเนวให้ผู้อ่านเเละนิสิตนักศึกษาไทยได้รู้จักเเละเข้าใจเเนวคิดต่างๆเกี่ยวกับวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่หลายๆ คนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเข้าใจยาก
คำนำ : ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
เพื่อให้การศึกษาทฤษฎีเป็นไปอย่างง่ายเเละน่าสนใจมากขึ้น ผู้เขียนได้นำเสนอตัวอย่างการประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับวรรณกรรมในตอนท้ายของเเต่ละบท ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างการวิเคราะห์วรรณกรรมไทยของผู้เขียนเองหรือตัวอย่างการวิเคราะห์ของนักวิชาการต่างชาติ ทั้งนี้ เพื่อเเสดงให้เห็นว่าทฤษฎีมีการใช้อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตำราเล่มนี้มีจุดประสงค์ที่จะเเนะนำให้ผู้อ่านที่เป็นนิสิตนักศึกษาได้รู้จักทฤษฎีเเต่ละทฤษฎีโดยสังเขป การอภิปรายเเนวคิดเเละทฤษฎีจึงอาจจะกระทำได้ไม่ลึกมากนัก หากเเต่เน้นให้ความรู้ในวงกว้าง ทั้งนี้ หากผู้อ่านสนใจทฤษฎีสำนักใดสำนักหนึ่งเป็นพิเศษอาจจะพลิกไปดูบรรณานุกรมคัดท้ายเล่มที่ผู้เขียนได้รวบรวมรายชื่อหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีเเต่ละสำนักไว้ เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจทฤษฎีหนึ่งๆ ได้มีโอกาสเเสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือกลุ่มดังกล่าวได้ด้วยตนเอง
สุรเดช โชติอุดมพันธ์
เมษายน 2559
สารบัญ : ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- จากคริสต์ศตวรรษที่ 19
- การวิจารณ์เเนวใหม่( New Criticism )
- รูปเเบบนิยมรัสเซีย ( Russian Formalism )
- โครงสร้างนิยม ( Structuralism )
- หลักโครงสร้างนิยม( Poststructuralism )
- คตินิยมหลังสมัยใหม่ ( Postmodernism )
- ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน( Reader-Response Theory )
- มาร์กซิสม์กับประวัติศาสตร์( Marxism and new Historicism )
- การวิจารณ์เเนวเพศสถานะ ( Gender Criticism )
- หลังอาณานิคมนิยม ( Postcolonialism )
เนื้อหาปกหลัง : ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงเเต่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาวรรรคดีทั้งไทยเเละเทศ เเต่ยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจสาขาวิชาต่างๆ เช่น ปรัชญา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เเละนิเทศศาสตร์ ฯลฯ
ดิฉันเห็นว่าหนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่มีคุณูปการต่อวงวิชาการมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ไทย แต่น่าจะนับเข้าข่ายหนังสือ "ต้องอ่าน" สำหรับทุกคนที่สร้างสรรค์ผลงานวิชาการอย่างน้อยใน 2 สาขาวิชานี้ และเป็นหนังสอ "น่าอ่าน" อย่างยิ่งสำหรับผู้คนสนใจที่เคยฉงนว่า คำหรูหราเชิงทฤษฎีที่เขาใช้ๆ กันอยู่นั้น หมายความว่าอย่างไร มีที่มาที่ไปอย่างไร เขาโต้แย้งอะไรกันอยู่ เขาพยายามแก้ปัญหาอะไร และแต่ละทฤษฎีนั้นเองมีข้อจำกัดอย่างไร
ศาสตราจารย์ ดร.สุวรรณา สถาอานันท์