รายละเอียด : การประเมินอย่างใคร่ครวญต่อเด็กปฐมวัย : แนวคิดเเละการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
การประเมินอย่างใคร่ครวญต่อเด็กปฐมวัย : แนวคิดเเละการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
การประเมินเเบบใคร่ครวญ เป็นการใช้สมองเเละหัวใจที่ครู เข้าถึงเด็ก ผ่านสัมพันธ์ภาพที่ลื่นไหล ดุจคู่เต้นรำที่เคลื่อนที่ สอดประสานกันอย่างลงตัว
ภาพวาดบนปกหนังสือนี้ สะท้อนการรับรู้ตัวตนเเละโลกของเด็กวัย 4 ขวบ
การประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานไม่อาจช่วยให้ครูเข้าถึงความต้องการที่เเท้จริงของเด็กได้ เพราะว่าเด็กวาดภาพด้วยใจ เเต่ด้วยการประเมินอย่างใคร่ครวญ ทำให้ครูเข้าใจเด็กคนนี้ผ่านการคิดอย่าง ปราศจากอคติ เเละการรับรู้ด้วยใจ ที่นุ่มนวล อ่อนน้อม ยอมรับ
คำนำ : การประเมินอย่างใคร่ครวญต่อเด็กปฐมวัย : แนวคิดเเละการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
การประเมินอย่างใคร่ครวญต่อเด็กปฐมวัย : แนวคิดเเละการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
การจัดการเรียน การสอน เเละการประเมินพัฒนาการเเละการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเเยกจากกันได้ จำเป็นต้องดำเนินควบคู่กันไป เพื่อให้ครูสามารถจัดประสบการ์ณการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการเเละความต้องการจำเป็นของเด็ก ปัจจุบัน จำนวนของเด็กที่มีความยากลำบากในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุมาจากธรรมชาติภายในของเด็กที่มีความยากลำบากในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุมาจากธรรมชาติภายในของเด็กเอง หรือจากสภาพเเวดล้อมทีไม่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ จึงกล่าวได้ว่า ในทุกๆ ห้อเรียนจะมีเด็กอย่าง 1 คนซึ่ง ครูจำเป็นต้องเอาใจใส่มากขึ้น เเละไม่สามารถใช้วิธีคิดหรือปฏิบัติเเบบเดิมในการตอบสนองต่อเด็กได้
การประเมินพัฒนาการเเละเรียนรู้ จำเป็นต้องถูกปรับบเปลี่ยนเพื่อให้สอดรับบริบทของห้องเรียนอนุบาลที่มีความเเตกต่างของเด็ก ครูปฐมวัยต้องประเมินเด็กอย่างปราศจากอคติ เท่าทันต่อความคิดเเละการตัดสินของตนที่ไม่เป็นธรรม ใส่ใจเด็กทุกคนอย่างเป็นธรรมชาติโดนใช้วิธีการต่างๆที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลพัฒนาการเเละการเรียนรู้ของเด็กตรงตามความเป็นจริงเเละครอบคลุมในทุกมิติ รวมทั้งนำผลการประเมินมาใช้พิจารณาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติเเละความต้องการของเด็กเเต่ละคน
หนังสือเล่มนี้เป็นการประมวลประสบการณ์ในการสอน รวมทั้งการวิจัยเเละพัฒนาอ่างต่อเนื่องในด้านการประเมินพัฒนาการเเละการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิลักษณ์ ขยันกิจ เเละผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุษบง ตันติวงศ์ เนื้อหาประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้
1) การประเมินที่ปราศจากอคติ เป็นการให้ปรับมโนทัศน์ใหม่ในการประเมินซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากฐานของจิตตปัญญาศึกษา ในส่วนนี้เน้นการพัฒนาความสามารถของครูในฐานะเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่ปราศจากอคติ
2) การประเมินตามสภาพจริงเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เป็นการให้เเนวปฏิบัติในการประเมินตามสภาพจริง ในส่วนนี้นำเสนอขั้นตอนในการประเมินพัฒนาการเเละการเรียนรู้
3) การเชื่อมโยงเเนวคิดสู่การปฏิบัติ : การประเมินที่ตอบสนองต่อเด็กเป็นรายบุคคล เป็นการนำเสนอประสบการณ์การประเมินพัฒนาการเเละการเรียนรู้ของเด็กกรณีตัวอย่าง จำนวน 4 กรณี เเสดงให้เห็นการทำงานของครูอนุบาลในชั้นเรียนกลุ่มใหญ่ที่ต้องใส่ใจกับเด็กเป็นรายบุคคล โดยต้องสื่อสารเเละสร้างความร่วมมือระหว่างบ้านกับโรงเรียนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เป็นไปในเเนวทางเดียวกัน
4) การเชื่อมโยงเเนวความคิดสู่การปฎิบัติ : การประเมินเพื่อการสนับสนุนการเรียนรู้เเก่เด็กที่มีความต้องการที่เเตกต่าง เป็นการขยายขอบเขตการเมินไปสู่การส่งเสริมพัฒนาการเเละการเรียนเเก่เด็กที่มีความต้องการที่เเตกต่างในห้องเรียนรวม
5) การเชื่อมโยงเเนวคิดสู่การปฏิบัติ : การศึกษาเด็ก เป็นการนำเสนอเเนวทางการประเมิน ที่เน้นเเก้ไขปัญหาเด็กซึ่งครูมีความกังวลใจ โดยอาศัยความร่วมจากหลายฝ่ายเเละกระบวนการใคร่ครวญร่วมกัน เพื่อค้นหาเเนวทางในการส่งเสริมที่สอดคล้องกับความต้องการอย่างเเท้จริงของเด็ก
ผู้เขียนหวังว่า หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "หัวใจอุดมศึกษา" อันเป็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาไปสู่จิตสำนึกใหม่ในโลกทศวรรษที่ยี่สิบเอ็ด
เมษายน 2559
สารบัญ : การประเมินอย่างใคร่ครวญต่อเด็กปฐมวัย : แนวคิดเเละการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
- การประเมินที่ปราศจากอคติ
- การประเมินตามสภาพจริงเพื่อสนับสนุนพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
- การเชื่อมโยงเเนวคิดสู่การปฏิบัติ : การประเมินที่ตอบสนองต่อเด็กเป็นรายบุคคล
- การเชื่อมโยงเเนวคิดสู่การปฏิบัติ : การประเมินเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เเก่เด็กที่มีความต้องการที่เเตกต่าง
- การเชื่อมโยงเเนวคิดสู่การปฏิบัติ : การศึกษาเด็ก
เนื้อหาปกหลัง : การประเมินอย่างใคร่ครวญต่อเด็กปฐมวัย : แนวคิดเเละการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
การประเมินอย่างใคร่ครวญต่อเด็กปฐมวัย : แนวคิดเเละการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
การประเมินเเบบใคร่ครวญ เป็นการใช้สมองเเละหัวใจที่ครู เข้าถึงเด็ก ผ่านสัมพันธ์ภาพที่ลื่นไหล ดุจคู่เต้นรำที่เคลื่อนที่ สอดประสานกันอย่างลงตัว
ภาพวาดบนปกหนังสือนี้ สะท้อนการรับรู้ตัวตนเเละโลกของเด็กวัย 4 ขวบ
การประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานไม่อาจช่วยให้ครูเข้าถึงความต้องการที่เเท้จริงของเด็กได้ เพราะว่าเด็กวาดภาพด้วยใจ เเต่ด้วยการประเมินอย่างใคร่ครวญ ทำให้ครูเข้าใจเด็กคนนี้ผ่านการคิดอย่าง ปราศจากอคติ เเละการรับรู้ด้วยใจ ที่นุ่มนวล อ่อนน้อม ยอมรับ