การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 7 :ขยายโอกาส มุ่งคุณภาพ พร้อมคุณธรรม

ผู้เขียน: เปรมา สัตยาวุฒิพงศ์

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

180.00 บาท

200.00 บาท ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

Tags: รัชการที่ 7 , การศึกษาไทย

180.00 บาท

200.00 บาท
200.00 บาท
ประหยัด 20.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
312 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
0 x 0 x 0 CM
น้ำหนัก
0 KG
บาร์โค้ด
9786169261209

รายละเอียด : การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 7 :ขยายโอกาส มุ่งคุณภาพ พร้อมคุณธรรม

การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 7 : ขยายโอกาส มุ่งคุณภาพ พร้อมคุณธรรม

การจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสืบเนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และการจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวคิดและนโยบายในการจัดการศึกษา นอกจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ก็คือ เสนาบดีกระทรวงธรรมการทั้งสองท่าน ท่านแรก คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) มีความเห็นว่าควรเร่งรัดจัดการศึกษาเพื่อให้โอกาสแก่คนส่วนใหญ่ได้ศึกษาโดยทั่วหน้ากัน และเร่งจัดการวิชาชีพเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน และเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประเทศ อีกท่านหนึ่งคือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ทรงเล็งเห็นว่าเมื่อการศึกษาแพร่หลายมากขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว ก็ควรที่จะให้ความสนใจในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษามากขึ้น

ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการจัดการศึกษา คือ การขาดแคลนงบประมาณในการดำเนินงาน ซึ่งถือเป็นปัญหาพื้นฐานของการศึกษาทุกยุคทุกสมัย เพราะรัฐยังคงเน้นเรื่องความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก และการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่จะรับงานไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการแก้ปัญหาโดยเริ่มภาษีการศึกษาในรูปแบบเงินศึกษาพลี ซึ่งเป็นการเก็บเงินสำหรับช่วยการจัดการศึกษาในแต่ละท้องถิ่น ตั้งแต่ พ.ศ.2465 เป็นต้นมา แต่ก็ยังสามารถดำเนินการได้ในขอบเขตที่จำกัด ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาเท่าที่ควร จนกระทั่งประกาศยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีใน พ.ศ.2473 และจัดเงินงบประมาณแผ่นดินทดแทนเงินศึกษาพลี ซึ่งเท่ากับเป็นการเริ่มจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า


คำนำ : การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 7 :ขยายโอกาส มุ่งคุณภาพ พร้อมคุณธรรม

การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 7 :ขยายโอกาส มุ่งคุณภาพ พร้อมคุณธรรม

งานวิจัยเรื่องการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง"สยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร ธีระ นุชเปี่ยม เป็นหัวหน้าโครงการเพื่อการศึกษาถึงพัฒนาการ ความต่อเนื่อง เเละความเปลี่ยนเเปลงของการศึกษาของไทย ตามเเบบตะวันตกเกิดขึ้นมาตั้งเเต่สมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเเละมีความต่อเนื่องมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวเเละรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เเต่มีความเเตกต่างกนในเเต่ละรัชกาลตามบริบทของตน งานชิ้นนี้มีความคาดหวังที่จะช่วยเติมเต็มให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของการจัดการศึกษาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เเละหวังว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ พอสมควร

เปรมา สัตยาวุฒิพงศ์


สารบัญ : การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 7 :ขยายโอกาส มุ่งคุณภาพ พร้อมคุณธรรม

    • บทนำ
    • เเนวคิดเเละนโยบายการจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • การจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • ผลการจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • บทสรุป

เนื้อหาปกหลัง : การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 7 :ขยายโอกาส มุ่งคุณภาพ พร้อมคุณธรรม

การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 7 : ขยายโอกาส มุ่งคุณภาพ พร้อมคุณธรรม

"...อย่าเพลินมุ่งเเต่จะสอนตำรากสิกรรมหรือตำราอาชีพใดๆให้เกินความมุ่งหมายของการศึกษาอาชีพชนิดประถมนี้ก็คือ จะหัดให้เด็กคล่องเเคล่วด้วยการรู้จักใช้มือให้ขยันเเละอดทน เพื่อมิให้เป็นคนสำรวยเเละในขณะเดียวกันนี้ต้องพยายามหัดนิสัยให้เป็นคนตรงด้วยอย่าคิดเอาเปรียบใคร... "

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว