รายละเอียด : พระสารีบุตร
พระสารีบุตร
ในสมัยพุทธกาล ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์มากนัก มีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อุปติสสคาม ตำบลนาลกะ ที่นั่นมีครอบครัวพราหมณ์อยู่ตระกูลหนึ่ง บิดาท่านชื่อ วังคันตพราหมณ์ ผู้เป็นมารดามีนามว่า นางสารีพราหมณี
วันหนึ่งนางสารีพราหมณีได้คลอดบุตร 1 คน ครั้นเวลาล่วงไป 10 เดือนจนถึงวันตั้งชื่อ เหล่าญาติได้ตั้งชือบุตรของนางสารีพราหมณีผู้นี้ว่า อุปติสสะ ด้วยความที่เป็นบุตรของหัวหน้าตระกูลในหมู่บ้านอุปติสสคามแห่งนี้
ไม่ห่างจากอุปติสสคามมีหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งชื่อว่า โกลิตคาม ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์เช่าเดียวกัน มีนางพราหมณีอีกผู้หนึ่งนามว่า นางโมคคัลลีพราหมณี ก็คลอดบุตร 1 คน เช่นเดียวกัน ในวันตั้งชื่อ เหล่าญาติตั้งชื่อว่า โกลิตะ เนื่องด้วยตระกูลนี้เป็นหัวหน้าของหมู่บ้านโกลิตคาม
ความในอรรถกถากกล่าวว่าทั้งสองตระกูลนี้ผูกพันเป็นสหายกันมาแล้วกว่า 7 ชั่วอายุคน เมื่อให้กำเนิดบุตรพร้อมๆกัน สองตระกูลก็เลี้ยงดูกุมารทั้งสองเป็นอย่างดี มีแม่นม 66 คนคอยเลี้ยงดูสองกุมารให้เติบใหญ่ ครั้งทั้งสองคนเจริญวัยก็ได้เรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ จนสำเร็จทั้งสิน
อุปติสสะและโกลิตะต่างใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไม่ว่าจะเดินทางไปยังแม่น้ำหรือไปเที่ยวเล่นที่อุทยาน ก็จะมีวอทอง 500 หลังแห่แหนอุปติสสะ และมีรถเทียมม้าอีก 500 คันเป็นเครื่องแห่แหนโกลิตะ อีกทั้งยังมีมาณพหนุ่มเป็นบริวารอีกคนละ 55
ตามปกติแล้วในกรุงราชคฤห์จะมีมหรสพบนยอดเขาเป็นประจำทุกปี ทั้งอุปติสสะและโกลิตะก็ไปร่วมชมมหรสพเป็นประจำ เกิดความร่าเริงเมื่อควรร่าเริง เกิดความสังเวชเมื่อควรสังเวช มีการตกรางวัลเมื่อควรตกรางวัล
วันหนึ่งเมื่อมาณพทั้งสองเดินทางมาดูมหรสพตามธรรมเนียมปกติ แต่กลับเกิดความเบื่อหน่ายไม่มีความยินดีร่าเริงหรือสังเวชตามที่สมควรจะเป็นเหมือนทุกครั้ง กาลนั้นทั้งสองกลับเกิดความคิดเหมือนกันว่า การมองดูมหรสพแห่งนี้ไม่มีแก่นสารอันใดเลย เมื่อคิดดูแล้วผู้แสดงมหรสพเหล่านี้ทุกคนล้วนต้องตายเมื่ออายุได้ไม่ถึง 100 ปีทั้งนั้น เราทั้งสองก็เช่นกัน ดังนั้นแล้วเราควรจะแสวงหาโมกขธรรมเสียดีกว่า
ทั้งสองจึงหารือกันว่า การมาดูมหรสพอย่างนี้เป็นการเสียเวลาและเมื่อเราทั้งคู่ตั้งใจจะเสาะแสวงหาโมกขธรรมเครื่องหลุดพ้นแล้วก็ควรจะออกบวชเสียอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในขณะนั้นพระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรมและประกาศศาสนาอุปติสสะและโกลิตะพิจารณาดูก็เห็นว่ามีสำนักปฏิบัติของสัญชัยปริพาชกตั้งอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีผู้เลื่อมใสออกบวชในสำนักเป็นอันมาก จึงตกลงกันออกบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชกพร้อมกับมาณพผู้ติดตามอีก 500 คน
เวลาผ่านไปเพียง 2-3 วัน อุปติสสะและโกลิตะก็เรียนรู้วิชาจากสำนักของสัญชัยปริพาชกจนหมดสิ้น ครั้นไปถามท่านอาจารย์สัญชัยก็ได้ความว่า ความรู้ของสำนักนี้มีเพียงเท่านี้เจริงๆ ทั้งสองฟังแล้วก็คิดว่า นี้ไม่ใช่โมกธรรมเพื่อความหลุดพ้น จะอยู่รั้งที่นี่ต่อไปก็ไม่มีประโยชน์ จึงออกจากสำนักเดินทางไปทั่วชมพูทวีป เมื่อได้ยินว่ามีผู้ใดเป็นบัณฑิตก็จะไปสนทนาถามปัญหา แต่กลับไม่มีผู้ใดแก้ปัญหาของทั้งสองได้เลย
สารบัญ : พระสารีบุตร
- กำเนิดว่าที่อัครสาวกเบื้องขวา
- บรรลุอมตธรรม
- หนึ่งอสงไขยแสนมหากัป กว่าจะเป็นที่สุดแห่งปัญญา
- ธรรมเสนาบดี
- ธรรมะจากพระสารีบุตร
- ที่สุดแห่งภพ
เนื้อหาปกหลัง : พระสารีบุตร
พระสารีบุตร
ในจักรวาลอันกว้างใหญ่นี้ ปัญญาอันไพศาลของพระสารีบุตรนั้น เป็นรองเพียงแค่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียว อีกทั้งท่านยังเทศนาธรรมได้เสมอเหมือนพระพุทธองค์เอง พระสารีบุตรบำเพ็ยบารมีมาหลายภพหลายชาติจนได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้นได้รับคำพยากรณ์ว่าจักได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาแล้ว ท่านก็ยังต้องบำเพ็ญบารมีต่อไปอีก เป็นเวลายาวนานถึงหนึ่งอสงไขยกับอีกแสนมหากัป ในชาติสุดท้ายจึงได้เป็นพระธรรมแสนาบดี ผู้เปี่ยมล้นด้วยปัญญาอันไม่อาจประมาณ ผู้ที่ทำอย่างนี้ได้นับว่าเป็นผู้ที่เสียสละและหาญกล้าอย่างหาที่สุดไม่ได้ ยิ่งได้ศึกษาและเรียนรู้จริยวัตรและอุปนิสัยที่สง่างาม องอาจ เปี่ยมด้วยปัญญา ยิ่งเพิ่มพูนศรัทธาและน้อมนำมาซึ่งปัญญา
รีวิวโดยผู้เขียน : พระสารีบุตร
พระสารีบุตร
การศึกษาธรรมในพุทธศาสนานั้นประกอบไปด้วยข้อปฏิบัติ 3 ประการ นั่นคือ สมาธิ ปัญญา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา ข้อที่ทำให้พุทธศาสนามีความเป็นเลิศนั้นคือปัญญา อันเกิดได้จากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพียงทางเดียว
ปัญญาในที่นี้ไม่ใช่มีความรู้มากหรือจดจำข้อมูลได้มากแต่คือปัญญาที่เกิดจากการรู้แจ้งเห็นความจริงของธรรมชาติอันประกอบไปด้วยไตรลักษณ์และอริยสัจ 4 จึงเรียกได้ว่า ปัญญาคือเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรม และเมื่อพูดถึงปัญญาก็ต้องกล่าวถึงพระสารีบุตรเถระ พระพุทธเจ้าเคยตรัสถึงพระสารีบุตรไว้ว่า "ภิกษุนี้เว้นเราเสีย หาผู้เสมอด้วยปัญญาในหมื่นจักรวาลไม่ได้ เธอมีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญากล่าวให้บันเทิงได้ มีปัญญาแล่นไปเร็ว มีปัญญากล้า มีปัญญาในการแทงตลอด"
พระสารีบุตรมีคุณอย่างไร เหตุไดพระพุทธองค์จึงตรัสสรรเสริญอย่างมากมายเช่นนี้ กล่าวโดยย่อ พระสารีบุตรหรือพระธรรมเสนาบดี คือพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเอตทัคคะหรือเป็นเลิศด้านมีปัญญามาก ในจักรวาลอันกว้างใหญ่นี้ ปัญญาอันไพศาลของท่านนั้นเป็นรองเพียงแค่พระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น อีกทั้งยังเทศนาธรรมก็ได้เสมอเหมือนพระพุทธองค์เอง
แต่การจะได้มาซึ่งตำแหน่งผู้มีปัญญามากนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะว่าจะได้มาอยู่ที่เบื้องขวาของพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารมาหลายภพหลายชาติ บำเพ็ญบารมีจนได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้นได้รับพยากรณ์ว่าจักได้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาแล้ว ท่านก็ยังต้องบำเพ็ญบารมีต่อไปอีกเป็นเวลายาวนานถึงหนึ่งอสงไขยกับอีกแสนมหากัป จนได้เป็นพระธรรมเสนาบดี ผู้เปี่ยมล้มด้วยปัญญาอันไม่อาจประมาณได้ในชาติสุดท้าย
ผู้ที่ทำอย่างนี้ได้นับว่าเป็นผู้ที่เสียสละและหาญกล้าอย่างหาที่สุดไม่ได้ ในฐานะผู้เรียนรู้พระธรรม การได้ศึกษาประวัติของพระมหาสาวกผู้เป็นเลิศอย่างพระสารีบุตรนั้นเป็นความรู้และกำลังใจที่สำคัญยิ่ง ยิ่งได้ศึกษาและเรียนรู้จริยวัตรและอุปนิสัยที่สง่างามองอาจเปี่ยมด้วยปัญญา ยิ่งเพิ่มพูนศรัทธาและน้อมนำมาซึ่งปัญญา และในกาลนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมแด่พระสงฆ์อัครสาวกผู้นั้นด้วยเศียรเกล้า
นทธัญ แสงไชย
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : พระสารีบุตร
พระสารีบุตร
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติตรงแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุรุษ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
เมื่อกล่าวถึงวัตรปฏิบัติ เห็นจะไม่มีพระสาวกรูปใดเคร่งครัดเท่าพระมหากัสสปะ ท่านยึดมั่นในการใช้ผ้าบังสุกุลจีวรที่เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น เที่ยวบิณฑบาตโปรดสัตว์โลก ให้มีโอกาสได้สร้างกุศลกับพระอรหันต์ โดยมิได้เลือกว่าผู้ทำบุญจะอยู่ในชนชั้นใด นอกจากนี้ท่านยังบำเพ็ยภาวนาอยู่ในป่ามิได้ขาด ป่าดงรกชัฏหรือสัตว์น้อยใหญ่ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคในการกระทำความเพียรของท่านเลยแม้แต่น้อย
พระมหากัสสปะเป็นผู้ยินดีต่อความวิเวกสันโดษ ไม่ข้องเกี่ยวกับหมู่คณะ ประวัติของท่านจึงไม่เป็นที่รับรู้กันมากนัก ทว่าท่านได้สร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อพุทธศาสนา ที่สำคัญคุณูปการดังกล่าวใช่ว่าจะคงอยู่ในชั่วระยะเวลาที่ท่านดำรงขันธ์เท่านั้น แม้สังขารของท่านล่วงลับไป แต่คุณความดีที่ท่านทำยังดำรงอยู่มานับร้อยนับพันปี พุทธศาสนิกชนทั่วทุกถิ่นฐานยังคงเล่าขานถึงเรื่องราวชีวิตและปฏิปทาอันแน่วแน่ของท่าน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเข้าถึงธรรม ดังที่พระมหากัสสปะได้ยึดถือมาโดยตลอด