จากเบี้ยหอยถึงเงินกระดาษ (ปกใหม่)

ผู้เขียน: สังคีต จันทนะโพธิ

สำนักพิมพ์: เพชรประกาย/phetpraguy

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

225.00 บาท

250.00 บาท ประหยัด 25.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

วิวัฒนาการของสิ่งแทนค่าตั้งแต่ใช้เปลิอกหอยไปจนถึงธนบัตรที่ทำจากกระดาษ < แสดงน้อยลง วิวัฒนาการของสิ่งแทนค่าตั้งแต่ใช้เปลิอกหอยไปจนถึงธนบัตรที่ทำจากกระดาษ
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

225.00 บาท

250.00 บาท
250.00 บาท
ประหยัด 25.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
207 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
18.3 x 25.4 x 1.2 CM
น้ำหนัก
0.585 KG
บาร์โค้ด
9786163448224

รายละเอียด : จากเบี้ยหอยถึงเงินกระดาษ (ปกใหม่)

จากเบี้ยหอยถึงเงินกระดาษ

เงิน เพียงคำสั้นๆ แต่ความหมายนั้น ลึกซึ้ง คนยากจนมีโอกาสแจ๊คพอตเป็นเศรษฐีได้ง่ายๆ ในมุมกลับกัน เงินก็ทำให้คนที่เป็นเศรษฐีอยู่แล้ว แปรสภาพเป็นยาจกได้อย่างไม่คาดคิด หรือสามล้อถูกหวย

เงินมีอิทธิพลเหนือชีวิตมนุษย์ เงินทั้งโลหะและกระดาษ ล้วนแล้วแต่เป็นสมมุติวัตถุ และก็เงินนี้อีกน่ะแหละ เป็นตัวพลิกสถานะการของมนุษย์ บางพวกยกให้เงินเป็นพระเจ้า คิดว่าตนนั้นมีเงินซะอย่าง

"เงิน" ภาษาทางการเรียกว่า "ธนบัตร" สำหรับของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเรื่อยมา ดังนั้นรูปแบบของเงินกระดาษรุ่นเก่าจึงเป็นที่ปรารถนากันทุกคน ไทยเริ่มนำเงินกระดาษ (ธนบัตร) เข้ามาใช้แทนเงินที่ทำด้วยโลหะ โดยระบบการเงินของประเทศนั้น มีมาตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำ เงินกระดาษ

และเงินที่ทำจากกระดาษนี้ สามารถนำออกมาใช้ได้ในปี พ.ศ.2396 ในสมัยนั้นเรียกว่ากระดาษว่า หมาย ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาวพิมพ์ลายด้วยหมึกทั้งสองด้าน และประทับตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ตราจักร และพระราชลัญจกรมหามงกุฎประจำรัชกาลสีแดงชาดเพื่อป้องกันการปลอมแปลง ซึ่งก่อนที่จะใช้หมายนี้ประชาชนคนไทย มีการใช้เบี้ยหอย เงินพอด้วง และเหรียญประเภทต่างๆ ที่ทำด้วยทอง เงิน ดีบุก ทองแดง กันอยู่ โดยเบี้ยหอยเป็นเงินที่มูลค่าต่ำ

เงินพอด้วงเป็นเงินมีค่าสูง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจากเงินพดด้วง จึงไม่ค่อยมีคนนิยม ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำ "อัฐกระดาษ" ขึ้น ใช้แทนอัฐดีบุกเป็นการชั่วคราว เนื่องจากขาดแคลนโลหะดีบุกและทองแดง

อัฐกระดาษนี้เป็นเงินกระดาษชนิดที่ 2 ที่นำมาใช้ในระบบการเงินของกรุงสยาม จนกระทั่งมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ความต้องการในการใช้เงินตราเพื่อแลกเปลี่ยนภายในประเทศมีสูงขึ้น ทางการจึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับการอนุญาติดำเนินกิจการธุรกิจในเมืองไทย นำ "บัตรธนาคาร" หรือ "แบงค์โน้ต" ออกใช้ได้ แต่บัตรเหล่านี้ก็มิใช่เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย

แต่อย่างไรก็ตาม บัตรธนาคาร หรือแบงค์โน้ต ของต่างชาตินี่เองที่ทำให้คนไทยรู้จักเงินกระดาษ จึงนับได้ว่า การนำกระดาษมาใช้แทนโลหะธาตุ ได้เป็นที่รู้จักและประสบความสำเร็จในปี พ.ศ.2445 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติ ธนบัตร ร.ศ. 121 ขึ้น พร้อมทั้งให้เจ้าพนักงานกระทรวง "พระคลังมหาสมบัติ" จัดทำตั๋วสำคัญที่ใช้แทนเงิน เรียกว่า  "ธนบัตร" ขึ้น มา การกำหนดรูปแบบ ชนิดราคา และจำนวนที่จะเพิ่มขึ้นของเงินกระดาษแต่ละชนิดราคา

โดยต่อมามีพิธีเปิด หอรัษฎากรพิพัฒน์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อให้เป็นที่ทำการของพนักงานผู้ดำเนินการเกี่ยวข้องกับธนบัตร ตลอดจนแลกเปลี่ยนจ่ายเงินให้ผู้ที่ต้องการนำธนบัตรมาขึ้นเป็นงินเหรียญ หรือนำเงินเหรียญมาแลกเป็นธนบัตร วิวัฒนาการของธนบัตรไทย ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย รูปร่าง สีสัน มูลค่า ล้วนเปลี่ยนแปลงตามยุคเปลี่ยนแปลงตามสมัย จากยุคเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน


สารบัญ : จากเบี้ยหอยถึงเงินกระดาษ (ปกใหม่)

    • ต้นตระกูลเงินตรา
    • หอย อัญมณี
    • เปลือกหอย เรื่องเริ่มที่ภูเก็ต
    • เงินรูปีเงินแถบ แม่ฮ่องสอน
    • ธนาคารแรกของกรุงสยาม ธนาคารมรดกของคนไทย
    • สยามจ่ายสด สามล้านฟรังค์ ซื้อ เอกราช
    • เงินขดด้วงเพี้ยนเป็นงินพดด้วง
    • เบี้ยน้อย หอยน้อย
    • เงินกระดาษ
    • ธนบัตรก่อนตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร
    • ธนบัตรจากโรงพิมพ์ธนธนาคารแห่งประเทศไทย
    • โรงพิมพ์พธนบัตร

เนื้อหาปกหลัง : จากเบี้ยหอยถึงเงินกระดาษ (ปกใหม่)

จากเบี้ยหอยถึงเงินกระดาษ

วิวัฒนาการของสิ่งแทนค่ามีมายาวนาน ตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักการแลกเปลี่ยนในสังคม ก่อนที่เราจะได้เงินกระดาษนั้น ครั้งหนึ่งเราเคยใช้หอย (เบี้ย) ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันมาก่อน กระทั่งมีการพัฒนารูปแบบของเงินมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันเป็นธนบัตรที่ทำจากกระดาษ ซึ่งก็ยังมีวิวัฒนาการมายาวนานเป็นศตวรรษ มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยให้ได้ศึกษา จึงมีผู้คนไม่น้อยที่ชอบเก็บสะสมธนบัตรไทยตั้งแต่ยุคต้นๆ ซึ่งนับวันก็จะกลายเป็นสิ่งค้ำค่าขึ้นไปทุกที

หนังสือเล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์ของธนบัตรไทย เรียงร้อยไปตามวันเวลาของประวัติศาสตร์ เพื่อรักษาและส่งเสริมคุณค่าศิลปะของชาติ ให้เป็นที่จารึกจดจำต่อไป ไม่ลืมเลือน



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : จากเบี้ยหอยถึงเงินกระดาษ (ปกใหม่)

จากเบี้ยหอยถึงเงินกระดาษ

ธนบัตรหรือกระดาษมีวิวัฒนาการยาวนานกว่าศตวรรษ มีรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงให้ได้ศึกษากันในแต่ละยุคสมัย จึงมีผู้คนมากมายที่ชอบเก็บสะสมธนบัตรไทยตั้งแต่ยุคต้นๆ ของการใช้เงิน และมีผู้คนอีกไม่น้อย ที่ไม่เคยเห็นความสวยงามของธนบัตรไทยในสมัยโบราณ

ก่อนที่จะเริ่มมีการใช้เงินกระดาษนั้น ครั้งหนึ่งเราเคยใช้หอย (เบี้ย) ในการแลกเปลี่ยน เปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันมาก่อน เมื่อลองนึกย้อนไปคงดูน่ารักดี เมื่อเห็นว่าในกระเป๋าสตางค์จะมีเพียงแต่หอยตัวเล็กๆ ไว้ใช้จ่ายแทนเงินตรา

ความสะดวกสบายของเราในวันนี้ พัฒนามาจากสมัยก่อนเสมอ โดยมีอดีตเป็นบทเรียน เพื่อพัฒนารูปแบบชีวิตให้ดีขึ้น ไม่เว้นแม้แต่การอำนวยความสะดวกในการจับจ่าย เพื่อให้รวดเร็วมากขึ้น มีสภาพคล่องมากขึ้น

ในเมื่อเงินกระดาษมีความเป็นมา และรูปแบบที่ดีขึ้นแบบนี้แล้ว เงินจึงควรถูกนำไปใช้จ่ายในทางที่ดี คุ้มค่า และพอเพียง อย่าคิดเอาเปรียบผู้อื่นด้วยความคิดที่ว่าเงินคือพระเจ้าอีกเลย

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว