วัดร้างในบางกอก

ผู้เขียน: ประภัสสร์ ชูวิเชียร

สำนักพิมพ์: มติชน/matichon

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

292.50 บาท

325.00 บาท ประหยัด 32.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 11 คะแนน

ค้นหาอดีตของกรุงเทพฯ จากซองมุมที่ถูกลืม < แสดงน้อยลง ค้นหาอดีตของกรุงเทพฯ จากซองมุมที่ถูกลืม
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: วัดในกรุงเทพ , ประวัติศาสตร์ , วัดร้าง

292.50 บาท

325.00 บาท
325.00 บาท
ประหยัด 32.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 11 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
312 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.1 x 21.3 x 1.5 CM
น้ำหนัก
0.404 KG
บาร์โค้ด
9789740214915

รายละเอียด : วัดร้างในบางกอก

วัดร้างในบางกอก

บางกอก ยุคต้นอยุธยาจากหนังสือ วัดร้างในบางกอก กรุงเทพฯ มีต้นทางพัฒนาการตั้งแต่ยุคต้นอยุธยา ก่อน พ.ศ.2000 จากชุมชนหมู่บ้านชาวประมงขนาดเล็กๆริมแม่น้ำด้านทิศเหนือติดเขตนนทบุรี ลงด้านทิศใต้ใกล้อ่าวไทย ที่เว้าลึกเข้าไปภายในมากกว่าปัจจุบัน (หรือต่างไม่มากจากยุคทวารดี ราวหลัง พ.ศ.1000 ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้านทิศเหนือหรือด้านบนเว้าลึกเข้าไปในแผ่นดินกรุงเทพฯ ถึงแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม. ยาวต่อเนื่องถึงอำเภอเมืองจงหวัดสมุทรสาครขนานไปกับคลองสนามชัย ต่อเนื่องคลองมหาชัยและถนนพระราม 2) ชุมชนหมู่บ้านบางแห่งของกรุงเทพฯ ยุคอยุธยา เติบโตขึ้นเป็นชุมชนเมืองสถานีการค้าริมแม่น้ำ ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 2000 ได้แก่ ชุมชนเมืองแรกอยู่บริเวณคลองเตย และหลังสุดอยู่บริเวณบางกอก

เมืองพระประแดงคลองเตย อยู่ริมแม่น้ำฝั่งริมตะวันออ เป็นชุมชนเมืองแรกสุดของกรงเทพฯ ราว พ.ศ. 2000 เพราะอยู่บนเส้นทางการค้าทางทะเลสมุทร จากอ่าวไทยเข้าออกสะดวกถึงรัฐละโว้-อโยธยา ขณะเดียวกันเชื่อมโยงถึงรัฐกัมพูชาที่โตนเลสาบ (ทะเลสาบ) โดยผ่านทางคลองสำโรง เข้าแม่น้ำบางปะกง ทวนไปทางทิศตะวันออก แล้วเดินบกเข้าถึงเมืองพระนครหลวงในกัมพูชา เหตุที่เรียกเมืองพระประแดงคลองเตย เพราะสมัยเก่าสุดตั้งอยู่บริเวณคลองเตย (ที่เป็นท่าเรือกรุงเทพฯ ในปัจจบัน) เพื่อให้ต่างจากเมืองพระประแดงสมัยหลังย้ายไปอยู่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมืองบางกอก อยู่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันตก เป็นชุมชนเมืองแห่งที่สองของกรุงเทพฯ เติบโตขึ้นหลังเมืองพระประแดงคลองเตย เพาระอยู่บนเส้นทางคมนาคมที่เป็นแม่น้ำลำคลอง หลบคลื่นลมทะเลเข้าคลองด่าน ผ่านไปแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง เชื่อมทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ได้ทั้งทางเมืองมะริด และด่านทะเลสามองค์ ต่อไปข้างหน้าเมืองบางกอกได้นามทางการว่าเมืองธนบุรี

ชุมชนมีซาก สิ่งยืนยันการมีตัวตนจริงของชุมชนหมู่บ้านและเมืองในกรุงเทพฯ ยุคต้นอยุธยา นอกจากมีบันทึกเอกสารต่างๆ แล้ว ยังพบหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีหรือประวัติศาสตร์ศิลปะจำนวนมาก เหลือซากกระจัดกระจายที่เรียกกันในปัจจุบันว่าวัดร้าง ชุมชนเก่าแกดั้งเดิมในไทย โดยเฉพาะบริเรณลุ่มน้ำเจ้าพระยาล้วนมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดซึ่งมักเคยเป็นที่ตั้งหอผีหรือที่ฝังศพกลางหมู่บ้านมาก่อน ถ้าจะรู้จักและเข้าใจความเป็นมาของชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิม ไม่ว่าจะยังมีสืบเนื่องหรือร้างไปแล้ว หากเริ่มจากค้นหาชุมชนตรงๆ จะไม่พบแต่เริ่มจากวัดแล้วมักพบ อาจไม่พบทุกแห่ง แต่พบเกือบหมดทุกแห่ง เหตุจากภูมิภาคอุษาคเนย์อยู่ในเขตมรสุม มีฝนตกชุก และมีแดดจัด ชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิมปลูกสร้างด้วยไม้ ส่วนมากเป็นไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยใบไผ่ เช่น ใบจาก, ใบคา ฯลฯ เมื่อถูกฝนและแดดทั้งปียิ่งผุเปื่อยเสื่อมสภาพง่ายยิ่งนานไปยิ่งไม่เหลือซาก

 วัดเก่าแก่ดั้งเดิมจนปัจจุบันมีพระพุทธรูปสำคัญ (เช่น พระประธานในโบสถ์ ฯลฯ) กับอาคารสำคัญ (เช่น โบสถ์, สถูปเจดีย์ ฯลฯ) ล้วนก่อสร้างด้วยอิฐและหิน มั่นคงแข็งแรงทนแดดและฝน อยู่ได้นานนับร้อยปีหรืแพันปี ดังนี้ วัดร้างจึงมีคณค่าหมายรวมถึงชุมชน ปัญหาของการศึกษาไทยอยู่ที่นักวิชาการทางโบราณคดีประวัติศาสตร์ศิลปะ อธิบายไม่ราบรื่นเรื่องประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมและเศรฐกิจการเมือง เพราะไม่ให้ความสำคัญ แล้วไม่ศึกษาเอกสารเก่าซึ่งเป็นเครื่องมืออธิบายเรื่องต่างๆ เหล่านั้น เช่น นิทาน, ตำนาน, พงศาวดาร, วรรณกรรม ฯลฯ จนถึงคำบอกเล่าของชาวบ้านซึ่งเป็นความทรงจำสำคัญ ดังนั้น นักวิชาการด้านนี้จึงสื่อสารกับสังคมร่วมสมัยในวงกว้างอย่างขลุกขลัก หรือมีอุปสรรคขวากหนามจนสื่อไม่ได้ แต่แทนที่จะพิจารณาดัดแปลงแก้ไขตัวเอง กลับกล่าวโทษสังคม สมคำเก่าๆ ที่ว่ารำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง

พลังของสามัญชนคนเสรี วัดร้างในบางกอก ของ ประภัสสร์ ชูวิเชียร เป็นหนังสือรวมงานค้นคว้าวิจัยที่ได้จากการสำรวจวัดร้างในเขตกรุงเทพฯ แล้วเขียนเล่าเรื่องอย่างง่ายๆ สื่อสารได้ดีกับสังคมร่วมสมัย บางกอก ในชื่อหนังสือวัดร้างบางกอก หมายถึงกรุงเทพฯ โดยรวม ทั้งฝั่งพระนครและธนบุรี วัดร้าง ในชื่อหนังสือวัดร้างในบางกอก มีอย่างน้อย 2 ความหมาย ชุมชนดั้งเดิมของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ต้นอยุธยา วัดเก่าแก่ของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ยุคต้นอยุธยา วัดเหล่านี้ส่วนมากร้างไปแล้ว ที่เหลือซากก็มี แม้แต่ซากไม่เหลือก็มี หรือแม้แต่ความทรงจำของคนที่อยู่ปัจจุบันยังไม่เหลือก็มีไม่น้อยแต่ที่รู้เพราะศึกษาและตรวจสอบจากแผนที่เก่า ภาพถ่ายเก่า เอกสารเก่า ฯลฯ


คำนำ : วัดร้างในบางกอก

วัดร้างในบางกอก

กรุงเทพฯ มีสิ่งที่เก่ากว่ากรุงเทพฯ ตกค้างอยู่เป็นอันมาก นับตั้งแต่หลักฐานที่รู้กันดีว่าพื้นทีที่เป็นศูนย๋กลางของประเทศไทยในปัจจุบัน พัฒนามาจากหมู่บ้านและเรือกสวนตั้งแต่ก่อนปลายพุทธศตวรรษที่ 21 โดยพบศิลปกรรมเก่าแก่ เช่น พระพุทธรูปหินทราย รุ่นไล่เลี่ยกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยาจำนวนมากเกลื่อนกลาดตกค้างอยู่ตามวัดในย่านลึกของฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเมื่อได้มีการขุดลัดแม่น้ำอ้อมจนเกิดทางลัดออกสู่ทะเล ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาจึงเอาใจใส่กับพื้นที่ "บางกอก" นี้เป็นพิเศษจนถึงตั้งเป็นเป็นเมือง "ธนบุรี" ขึ้นเพื่อเก็บภาษีอากรและเป็นด่านคอยดูแลหนทางไปมาระหว่างภายในกับภายนอกราชอาณาจักร

ครั้นพอกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายในต้นพุทธศตวรรษที่ 24 กลุ่มผู้ปกครองใหม่จึงมาเลือก "บางกอก" เป็นฐานที่มั่นจนกระทั่งลงหลักปักฐานเป็นราชธานีสืบมาถึงปัจจุบัน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าความยาวนานของการอยู่อาศัยและความเจริญที่สั่งสมกันมาของสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่กรุงเทพฯ จะล้วนมีริ้วรอยทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ให้เห็นอยู่ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ


สารบัญ : วัดร้างในบางกอก

    วัดร้างในบางกอก

    • ทำไมต้องไป "วัดร้าง"
    • วัดภุมรินทร์ราชปักษี "ราชปักษี ที่ไร้คนเหลียวแล"
    • วัดน้อยทองอยู่ ใครจะรู้ว่าอยู่ที่ไหน?
    • วัดสวนสวรรค์ บางยี่ขัน สวนสวรรค์ที่ถูกลืม
    • วัดพิกุลใน ย้ายไปย้ายมา
    • วัดอังกุลา มีหลวงพ่อดำกับเหล่าลูกศิษย์
    • วัดโคกโพธิ์ราม วัดปู่เถร วัดกระดังงา 3 วัดร้างชานเมืองบางกอก
    • วัดใหม่เชิงเลน วัดร้างที่ถูกสร้างขึ้นใหม่
    • วัดสุวรรณคีรี วัดร้างบนเส้นทางสายเก่า
    • วัดใหม่วิเชียร พระพุทธไสยาสน์กลางสวนลึกกับรถไฟฟ้าหลังวัดร้าง
    • วัดสี่บาทกับวัดนาค วัดร้างกลางย่านโขลนทวารเก่า
    • วัดร้างบางบอน? (วิหารหลวงพ่อขาว) วัดนิรนามอันศักดิ์สิทธิ์
    • วัดพระยาไกร หรือวัดโชตนาราม จากวัด ท่าเรือ โรงเลื่อย เป็นศูนย์การค้า

เนื้อหาปกหลัง : วัดร้างในบางกอก

วัดร้างในบางกอก

"วัดร้าง" ไม่เพียงแต่เป็นศาสนสถานที่มีแต่ซากปรักหักพังหากแต่วัดร้างยังเป็นเสมือนพื้นที่ความทรงจำของชุมชนโบราณในย่านบางกอก ในแผ่นที่กรุงเทพฯ เก่า มีรายชื่อวัดจำนวนไม่น้อยที่หายไปจากพื้นที่จริงในปัจจบัน วัดเหล่านี้หายไปไหน? เช่นเดีบวกับชุมชนโบราณ เรือกสวนไร่นา  ที่ถูกแทนที่ด้วยโครงการบ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้า ใครจะรู้ได้บางท่าเรือคลองเตยเคยมีวัดโบราณสมัยอยุธยาตั้งอยู่? เช่นเดียวกับเอเชียทีค ที่พื้นที่เดิมเคยเป็นศาสนสถานมาก่อน วัดร้างในบางกอก เป็นผลงานที่ ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร ได้สืบค้น สำรวจ แล้วนำมาวิเคราะห์เรียบเรียงอย่างเข้าใจได้ง่าย เข้าถึงกับทุกคนทุกกลุ่ม ทุกชนชั้น ย้อนหาชุมชนในอดีตที่มีส่วนสำคัญยิ่งต่ออนาคต เฉกเช่นเดียวกับที่ผู้เขียนได้เอ่ยไว้ในคำนำว่า "อดีตป็นเงาของปัจจุบันที่จะส่องให้อนาคตสว่าง"

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว