รายละเอียด : ชาญชรา: ก้าวสู่สังคมสูงวัยด้วยความรู้และปัญญา
ชาญชรา: ก้าวสู่สังคมสูงวัยด้วยความรู้และปัญญา
สังคมสูงวัยถือเป็นปัญหาเชิงบริบทของประเทศ ทุกเรื่องที่อยู่ในบริบทนี้ ล้วนได้รับผลกระทบหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจ การจ้างงาน สถาบันครอบครัว ชุมชน เเม้กระทั่งระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้รับผลกระทบเพราะโครงสร้างของประชากร เป็นสิ่งที่ห่อหุ้มระบบต่างๆของประเทศ ฉะนั้น เราจะมองว่าเป็นเรื่องมอง ผู้สูงอายุอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไป
คำนำ : ชาญชรา: ก้าวสู่สังคมสูงวัยด้วยความรู้และปัญญา
ชาญชรา: ก้าวสู่สังคมสูงวัยด้วยความรู้และปัญญา
อันที่จริงสังคมไทยถุกจัดให้เป็น 'สังคมสูงวัย' (aging society) ไปเเล้วตั้งเเต่ปี 2547 เเละตามหลักสถิติสามารถประมาณการได้ว่าภายในปี 2574 หรืออีกไม่เกิน 15 ปีนับจากนี้ สังคมไทยจะถูกยกระดับไปเป็น 'สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์' ( aged society) โดยมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุถึง 20 เปอร์เซนต์ต่อประชากรทั้งหมด
ขณะเดียวกัน ในอนาคตข้างหน้าเราจะเห็นสัดส่วนประชากรวันทำงาน คนหนุ่มสาว วัยรุ่นเเละเด็ก หดหายไป เเละมีเเนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
การเปลี่ยนเเปลงของโครงสร้างประชากรเป็นกระบวนการที่ค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ กินเวลาเป็นเเรมปี นั่นทำให้คนนั้น ทั่วไปอาจไม่ทันจับสังเกตหรือไม่รู้ว่าปรากฏการณ์ที่ว่านี้จะเป็นปัญหากระทบตัวเองอย่างไร เเต่อาจรู้สึกตัวอีกที ก็ต่อเมื่อคนรอบข้างใกล้ตัว สมาชิกในครอบครัว กระทั่งตัวเองได้เฉียดใกล้หรือกลายเป็นผู้สูงวัยไปเเล้ว
หากมัวรอให้ถึงจุดนั้นโดยไม่คิดเตรียมการวางเเผนการใช้ชีวิตเสียตั้งเเต่วันนี้ ถึงตอนนั้นทุกอย่างอาจสายเกินไป
อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว เมื่อพูดถึงคำว่า 'สังคมผู้สูงวัย' ซึ่งคล้ายกับเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ไม่เกี่ยวกับคนวัยอื่น ทว่าที่จริงเเล้วสถานการณ์สังคมสูงวัยมีผลกระทบเกี่ยวข้องต่อคนทุกเพศวัย ไม่ว่าโดยตรงเเละโดยอ้อม