รายละเอียด : คู่มือเรียนเขียนกลอน
คู่มือเรียนเขียนกลอน
เป็นหนังสือคู่มือสำหรับครู-นักเรียน และผู้สนใจการเขียนกลอนทุกคน
- ข้อแนะนำคำและอธิบาย
- การเขียนกลอนตามแบบแผน
- ครบถ้วนสมบูรณ์
- พร้อมตัวอย่างบทกลอนมากมาย
วัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้
- หนังสือคู่มือของครูสอนการประพันธ์ทุกโรงเรียน
- หนังสือคู่มือนักเรียนเพื่อฝึกเขียนกลอนตามแบบแผน
- หนังสือคู่มือนักกลอนเพื่อศึกษาเพิ่มเติม
- หนังสือสมบูรณ์คุณค่าสูงที่ผู้สนใจควรมีไว้ศึกษา
ครบถ้วนด้วยตัวอย่างและแผนผัง พร้อมคำอธิบาย
- กลอนแปด
- กลอนหก
- กลอนสี่
- กาพย์ยานี
- กาพย์ฉบัง
- กาพย์สุรางคนางค์ ฯลฯ
- โคลง
- ฉันท์
- ร่าย ฯลฯ
คำนำ : คู่มือเรียนเขียนกลอน
คู่มือเรียนเขียนกลอน
คู่มือเรียนเขียนกลอน เล่มนี้ เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ตรงที่ได้พบเห็นปัญหา คำถามและการตอบคำถามขณะเป็นวิทยากร เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันกลอน หรือกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องด้วยกลอน ซึ่งสถาบัน องค์กรการศึกษาจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับเป็นเวลากว่า 30 ปี
คู่มือเรียนเขียนกลอนเล่มนี้เป็นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งมุ่งเน้นสำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานทางบทกลอนมาก่อน หากแต่มีความสนใจใคร่ที่จะเขียกลอนได้อย่างน้อยก็ทำให้เกิดการรักการอ่านกวีนิพนธ์ทั่วไป
ถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาพูดโดยมาก ทั้งนี้เพื่อให้รู้สึกเหมือนนั่งสนทนากันอย่างเป็นกันเอง วิธีการต่างๆ เน้นการเข้าใจง่าย การยึดถือคู่มือเล่มนี้เอาเป็นเรื่องอ้างอิงหรือตอบคำถามทางวิชาการควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง และควรสอบถามครูอาจารย์ผู้มีความรู้ความชำนาญในวิชาแขนงนี้อยู่แล้วเพื่อได้ข้อยุติที่ถูกต้องที่สุด
สารบัญ : คู่มือเรียนเขียนกลอน
บทที่ ๑
- ร้อยแก้ว
- ร้อยกรอง
- กลอน
- แผนผังกลอนแปดสุภาพ
บทที่ ๒
- สระ
- พยัญชนะ
- ไตรยางต์
- มาตราทั้ง ๙
- คำเป็น คำตาย
บทที่ ๓
- ประวัติความเป็นมาของกลอน
- ตัวอย่างกลอนสี่
- แผนผังกลอนแปด แสดงรูปสัมผัสนอก
- แผนผังกลอนแปด แสดงรูปสัมผัสใน
บทที่ ๔
- แผนผังแสดงรูปสัมผัสใน
- วางตำแหน่งสัมผัสในอย่างไรจึงไพเราะ
- คำควบกล้ำ
บทที่ ๕
- ฉันทลักษณ์กับเนื้อหา
- วิธีหาคำสัมผัส
- อารมณ์กลอน
บทที่ ๖
- กาพย์
- ฉบัง ๑๖
- วิธีอ่านกาพย์ชนิดต่างๆ
- ยานี ๑๑
บทที่ ๗
- โคลง
- เอก - โท
- เส้นทางของโคลงสี่สุภาพ
บทที่ ๘
- กลอรดอกสร้อยและกลอนสักวา
- ประวัติความเป็นมา
- ลักษณะบังคับของกลอนดอกสร้อยและกลอนสักวา
บทที่ ๙
- วางแผนการเขียน
- แบบฝึกหัด
- วิธีเขียนขึ้นต้น
ภาคผนวก
เนื้อหาปกหลัง : คู่มือเรียนเขียนกลอน
คู่มือเรียนเขียนกลอน
- หนังสือคู่มือของครูสอนการประพันธ์ทุกโรงเรียน
- หนังสือคู่มือนักเรียนเพื่อฝึกเขียนกลอนตามแบบแผน
- หนังสือคู่มือนักกลอนเพื่อศึกษาเพิ่มเติม
- หนังสือสมบูรณ์คุณค่าสูงที่ผู้สนใจควรมีไว้ศึกษา
ครบถ้วนด้วยตัวอย่างและแผนผัง พร้อมคำอธิบาย
- กลอนแปด
- กลอนหก
- กลอนสี่
- กาพย์ยานี
- กาพย์ฉบัง
- กาพย์สุรางคนางค์ ฯลฯ
- โคลง
- ฉันท์
- ร่าย ฯลฯ
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : คู่มือเรียนเขียนกลอน
คู่มือเรียนเขียนกลอน
คนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนมาแต่โบราณ ถ้อยคำเช่นนี้เราได้ยินได้ฟังมานานแล้วเช่นกันบทประพันธ์ที่รจนาโดยคนรุ่นก่อนจึงเป็นร้อยกรองหรือคำกลอนเสียส่วนใหญ่ แต่มาในช่วงหลังๆ นี้เอง ที่รูปแบบการประพันธ์ของประเทศทางตะวันตกได้เคลื่อนกระบวนสู่งสังคมไทย รูปแบบการประพันธ์ตามอย่างตะวันตกจึงกลายเป็นที่นิยมของคนในประเทศเราอย่างรวดเร็ว
ขณะเดียวกัน รูปแบบการประพันธ์ตามขนบไทยแต่เดิมมาก็ค่อยลดความนิยมลงตามลำดับ โดยเฉพาะรูปแบบการประพันธ์ที่เป็นบทกลอนทั้งหลาย แม้ว่าจะยังมีการเรียนการสอนเรื่องการแต่งคำประพันธ์ในรูปแบบคำกลอนตามโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ อยู่ก็ตาม
แต่คนที่มีความชำนาญทางด้านนี้ก็ลดน้อยลงตามลำดับหลายครั้งที่การถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านการประพันธ์คำกลอนเกิดภาวะสะดุดจนชะงักไป หลายพื้นที่เขตการศึกษาก็แทบจะหาบุคลากรผู้มีความรู้ความชำนาญพอที่จะสอนเรื่องการแต่งคำประพันธ์คำกลอนแทบไม่ได้ นักเรียนหรือผู้ที่มุ่งหวังที่จะสืบทอดการแต่งคำประพันธ์ก็ขาดโอกาสที่จะได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านนี้ จนกลายเป็นความถดถอยของการสือต่อจากด้านการประพันธ์ตามขนบของไทยแต่โบราณอย่างน่าเสียดาย
ด้วยหัวใจคารวะ
สำนักพิมพ์แม่คำผาง