รายละเอียด : วัฒนธรรมข้าวไท
วัฒนธรรมข้าวไท
ประวัติธรรมเกิดขึ้นจากวิถีชีวิตการทำมาหากิน ชนพื้นเมืองดั้งเดิมในดินแดนอาเชียนรู้จักปลูกข้าวมานานมากแล้วก่อนที่วัฒนธรรมพราหมณ์ วัฒนธรรมพุทธจะแพร่มาถึงและมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งกลบกลืนวัฒนธรรมผีแถนดั้งเดิมไปเกือบหมด ประเพณีดั้งเดิมในสิบสองเดือนเกี่ยวพ้นโดยตรงกับการปลูกข้าว แถน,ผีบรรพบุรุษ และ "ขวัญข้าว" (ปู่ขัวญข้าว, นางข้าว, แม่โพาพฯ)
ต่อมาเมื่อคนไทรับวัฒนธรรมพราหมณ์-พุทธประเพณีหลวง (ส่วนใหญ่) ในแต่ละเดือนจึงถูกดึงเข้าไปโยงใยกับเรื่องทางศาสนาพุทธและพราะหมณ์
วัฒนธรรมข้าวคือรากเหง้าของวัฒนธรรมไทยรวมทั้งวัฒนธรรมของชาติอาเซียนทั้งหมดด้วย
คำนำ : วัฒนธรรมข้าวไท
วัฒนธรรมข้าวไท
"ข้าว" เป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับคนไทยที่ยังบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก
แต่หลายๆ คนก็อาจจะนึกไปเรื่องอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตเท่านั้น
อันที่จริง นอกเนือจาก "ข้าว" เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยแล้ว "ข้าว" ยังเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของคนไทยด้วขย
"วัฒนธรรม" นั่นก่อเกิด เติบโตขึ้นจากวิถีการผลิตเลี้ยงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ที่เลี้ยงชีพด้วยการปศุสัวต์ เลี้ยงสัตว์ร่อนเร่ก็จะเกิดวัฒนธรรมแบบหนึ่ง มนุษย์ที่ทำกสิกรรมก็จะเกิดวัฒนธรรมอีกแบบหนึ่ง และแม้จะทำกสิกรรม แต่เมื่อเพาะปลูกธัญพืชคนละชนิดเนื่องจาดภูมิศาสตร์ต่างกันก็จะเกิดวัฒนธรรมที่ต่างกันด้วย
จากวัฒนธรรมที่เรียบง่าย ขยายตัวออกกว้างขวางมหาศาลสลับซับซ้อน จนยากแก่การทำความเข้าใจในปัจจุบัน
ชนเผ่าในตระกูลภาษาไท-กะได ดั้งเดิมมีวัฒนฑรรมที่เรียบง่ายร่วมกันซึ่งเราอาจจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า "วัฒนธรรมข้าว"
ช่วงระยะเวลาของการเพราะปลูกข้าว ก่อให้เกิดประเพณีและพิธีกรรมในแต่ละระยะคล้ายคลึงกัน ชนเผ่าในตระกูลภาษาไท-กะได จึงมีพิธีกรรมในแต่ช่วงของการเพาะปลูกข้าวคล้ายคลึงกัน มีสิ่งที่เคารพบูชาอันเกี่ยวพ้นกับ "ฟ้าฝน" ซึ่งจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกข้าว เช่น การบูชากบ เขียด คันคาก, การบูชาผีน้ำผู้ให้น้ำ) ดังเดิมเรียกว่า "เงือก" ต่อมาเรียกว่า "นาค" ตามวัฒนธรรมอินเดีย)
คารวะธรรม
ทองแถม นาถจำนง
สารบัญ : วัฒนธรรมข้าวไท
- กำเนิดข้าว
- กลุ่มวัฒธรรมไป่เยวี่ย
- ประวัติข้าวไทย
- วัฒนธรรมข้าว : ฮีตสิบสอง
- พิธีขอฝน
- ประเพณีแข่งเรือ บูชาน้ำและผู้ให้น้ำ
- ภาษาและคติความเชื่อ
- ข้อมูลที่ควรเก็บรวบรวม ก่อนหลงลืมไปหมด
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : วัฒนธรรมข้าวไท
วัฒนธรรมข้าวไท
จาก "ผ้าไหม จิม ทอมป์สัน" มาถึง "จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม" แล้วมาสู่ "หมู่บ้าน-งานวัฒนธรรมอีสาน" ซึ่งได้พัฒนาต่อเนื่องด้วยสำนึกตระหนักในฐานะผู้ประกอบการ ที่ต้องมีส่วนร่วมสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่สังคม และประเทศชาติเป็นส่วนรวม ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ เราได้เชิญทองแถม นาถจำนง นักคิดนักเขียน ผู้ค้นคว้าศึกษาลุ่มลึกทางด้านวัฒนฑรรมไทและประวัติศาสตร์ชนเผ่าไท มานำเสนอความคิดและบรรยายเรื่องแนบแน่นอยู่กับเรื่องข่าว ตั้งแต่ตื่นจนหลับ ตั้งปต่เกิดจนตาบ เราจึงมอบหมายให้คุณทองแถมรวยรวมข้อมูลเบื้องต้นและการค้นพบใหม่ๆ นี้ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อให้ข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้กระจายไปถึงชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศมากขึ้น
วัฒนธรรมข้าว คือ เลือด เนื้อ ชีวิต และจิตวิญญาณ
วัฒนธรรมข่าว คือ รากเหง้า และอัตลักษณ์ร่วมของผู้คนอาเซียน
ที่สำคัญ คุณทองแถมได้ตกผลึกเรื่อง "วัฒนธรรมไท" ทั้งหมด ก่อนรับศรัทธาในพุทธพราหมณ์ด้วยคำ ๕ คำ ได้แก่ ข้าว ผี ขวัญ แถน และเงือก