ฟ้าเดียวกัน 14/2 (มค.-เมย.2559) (รัฐเร้นลึก)

ผู้เขียน: ฟ้าเดียวกัน

สำนักพิมพ์: ฟ้าเดียวกัน/sameskybook

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

135.00 บาท

150.00 บาท ประหยัด 15.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

เมื่อโลกพลิกผัน การปฏิวัติอุตสาหกรรม จุดกำเนิดการเมืองและเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน < แสดงน้อยลง เมื่อโลกพลิกผัน การปฏิวัติอุตสาหกรรม จุดกำเนิดการเมืองและเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: รัฐเร้นลึก ,

135.00 บาท

150.00 บาท
150.00 บาท
ประหยัด 15.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
136 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
16.4 x 23.9 x 0.7 CM
น้ำหนัก
0.23 KG
บาร์โค้ด
9786167667485

รายละเอียด : ฟ้าเดียวกัน 14/2 (มค.-เมย.2559) (รัฐเร้นลึก)

ฟ้าเดียวกัน 14/2 (มค.-เมย.2559) (รัฐเร้นลึก)

ในช่วงปลายของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของทักษิณ ชินวัตร ดันแคน แมคคาร์โก ได้เสนอแนวคิดเรื่อง "เครือข่ายสถาบันกษัตริย์" เพื่อธิบายระเบียบการเมืองไทยร่วมสมัยที่การปกครองแบบเครือข่ายของชนชั้นนำ ซึ่งดำรงอยู่คู่ขนานไปกับการเมืองแบบเลือกตั้ง ได้ปรับตัวให้เข้ากับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ดูเป็นเสรีนิยมมากขึ้น และแทรกแซงการเมืองอย่างโจ่งแจ้งโดยตรงน้อยลง หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า ระเบียบการเมืองไทยได้พ้นยุคสมัยของการใช้อำนาจดิบแบบรัฐประหารและกลไกล้าสมัยของข้าราชการไปแล้ว นับจากแนวคิดเรื่อง network monarchy ก็ได้รับความนิยมและโดดเด่นมากในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางทาการเมืองของไทยเรื่อยมา

อย่างไรก็ดี แมคคาร์โกเสนอแนวคิดนี้ก่อนจะเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และ 22 พฤษภาคม 2557 กระบวนการรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง แม้จะทำให้เราและห็น net work monarchy ชัดเจนมากขึ้น แต่ก็นำไปสู่การตั้งคำถามต่อแนวคิดดังกล่าวของแมคคาร์โกเช่นกัน ว่าไม่น่าจะนำไปใช้อธิบายความเป็นจริงทางการเมืองของไทยซึ่งตกอยู่ในระบบเผด็จการแบบเต็มรูปสลับซ่อนรูปมาเกือบทศวรรษแล้วได้ การพยายามในการถกเถียงกับกรอบแนวคิดเก่าแล้วเสนอแนวคิดใหม่ในการอธิบายระบอบการเมืองและเผด็จการไทยนั้น นำไปสู่งานศึกษาหลายชิ้นที่ปรากฎในวารสาร Journal of Contemporary Asia (Vol.46 no.3,2016) ฉบับพิเศษว่าด้วยเรื่อง "Military, Monarchy and Repression : Assessing Thailand's Authoritarian Turn"

หนึ่งในงานศึกษาชุดดังกล่าวส ได้แก่ บทความเรื่อง Thailand's Deep State, Royal Power and the onstitutional Court (1997-2015) ของเออเจนี เมริโอ ซึ่ง ฟ้าเดียวกัน ได้คัดเลือกนำมาแปลไว้ ณ ที่นี้ในชื่อ "รัฐเร้นลึกในไทย พระราชอำนาจและศาลรัฐธรรมนูญ (พ.ศ.2540-2558)" งานของเมริโอพยายามทำความเข้าใจการเมืองไทยโดยใช้แนวคิด "deep state" หรือ "รัฐเร้นลึก" ผ่านการศึกษาบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในบริบทของการเปลี่ยนผ่านแหล่งอ้างอิงความชอบธรรมที่เป็นเสาหลักของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข "รัฐเร้นลึก" คืออะไร และจะสามารถนำมาใช้ทำความเข้าใจระบบระเบียบการเมืองไทยได้ดีกว่าแนวคิดอื่นแค่ไหน ก็ต้องพิจารณากัน ทั้หมดนี้ ฟ้าเดียวกัน ในฐานะที่เป็นพื้นที่แห่งการถกเถียงวิพากษ์วิจารย์ ขอเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณา


สารบัญ : ฟ้าเดียวกัน 14/2 (มค.-เมย.2559) (รัฐเร้นลึก)

    • รัฐเร้นลึก
    • รับเล้นลึกในไทย พระราชอำนาจเเละศาลรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2540-2558)
    • ธรรมเนียม ไม่เคย ปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญว่าด้วยพระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ : ข้อโต้เเย้ง "จินตนาการ" ในคำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยกระเเสหลัก
    • มาตรา 112 การเมืองของความกลัว เเละ การสร้างความหวาดหวั่นโดยรัฐเเละสังคม : กรณีศึกษาก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
    • การอบการเปรียบเทียบ

เนื้อหาปกหลัง : ฟ้าเดียวกัน 14/2 (มค.-เมย.2559) (รัฐเร้นลึก)

ฟ้าเดียวกัน 14/2 (มค.-เมย.2559) (รัฐเร้นลึก)

หัวใจสำคัญของงานชิ้นนี้คือข้อเสนอที่ว่า มนุษย์เศรษฐกิจ ที่เป็นปัจเจกชนที่ สมเหตุสมผล คำนวณต้นทุน-ผลที่ได้เพื่อตัดสินใจทางเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อ เเสวงหาประโยชน์ส่วนตน ที่เป็นอรรถประโยชน์สูงสุดนั้น ไม่ได้ดำรงอยู่มาเเต่ไหนเเต่ไร หากเเต่เป็นผลิตผลของ การเปลี่ยนเเปลงครั้งยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 19 ซึ่งก็คือการเกิดขึ้นของ สังคมตลาด อันประกอบด้วยกระบวนการก่อรูปของรัฐสมัยใหม่ ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนเเปลงครั้งยิ่งใหญ่ ที่ว่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงการเปลี่ยนเเปลงในรูปเเบบรัฐเเละการจัดองคาพยพของสังคมภายใต้ระบบเศรษฐกิจ-ตลาดเท่านั้นเเต่ยังเป็น การเปลี่ยนเเปลงครั้งยิ่งหญ่ ในทัศนะ วิธีคิด เเละพฤติกรรมความเคยชินของมนุษย์ปัจเจกชนอีกด้วย



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน 14/2 (มค.-เมย.2559) (รัฐเร้นลึก)

ฟ้าเดียวกัน 14/2 (มค.-เมย.2559) (รัฐเร้นลึก)

ไม่เพียงเเต่รัฐเร้นลึกเท่านั้น บางครั้งเรืองที่ถือกันว่าเป็น ธรรมเนียมปฏิบัติ เช่น เรื่องพระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ ก็อาจจะเป็นเพียงสิ่งที่เพิ่งสร้างขึ้นภายใต้ บรรยากาศทางการเมืองในปัจจุบัน ดังที่ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ได้ชี้ไว้ในบทความ"ธรรมเนียม(ไม่เคย) ปฎิบัติทางรัฐธรรมนูญว่าด้วยพระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ : ข้อโต้เเย้ง'จินตนาการ'ในคำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยกระเเสหลัก" เช่นเดียวกับการสร้างความหวาดหวั่นโดยรัฐเเละสังคมต่อกรณีมาตรา 112 ที่นพพล อาชามาส ได้ศึกษาเรื่องการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ได้ด้วยความเเน่นอนว่าการจะทำความเข้าใจการเมืองไทยไม่สามารถที่มองเเต่ประเทศไทยอย่างเดียว"กรอบการเปรียบเทียบ"งานชิ้นสุดท้ายของเบเนดิกต์ เเอนเดอร์สัน ที่เกษียร เตชะพีระเเปล ได้จับเอาการเมืองวัฒนธรรมของประเทศต่างๆมาเปรียบให้ให้เห็นความเหมือนเเละความต่าง ก็เป็นเครื่องมืออย่างดีที่ทำให้เราเข้าใจการเมืองไทยมากยิ่งขึ้น

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว