กฎแห่งกรรม ฉ.คนมีบาป

ผู้เขียน: ท.เลียงพิบูลย์

สำนักพิมพ์: ธรรมสภา

หมวดหมู่: ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา , ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา

0 (0) เขียนรีวิว

81.00 บาท

90.00 บาท ประหยัด 9.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 3 คะแนน

เรื่องราวของกฎแห่งกรรมที่เขียนเล่าผ่านตัวอักษร < แสดงน้อยลง เรื่องราวของกฎแห่งกรรมที่เขียนเล่าผ่านตัวอักษร
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: กฎแห่งกรรม , ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว , บาปกรรม , ความเรียง

81.00 บาท

90.00 บาท
90.00 บาท
ประหยัด 9.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 3 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
144 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.3 x 20.9 x 0.8 CM
น้ำหนัก
0.195 KG
บาร์โค้ด
9786160308613

รายละเอียด : กฎแห่งกรรม ฉ.คนมีบาป

กฎแห่งกรรม ฉ.คนมีบาป

เมื่อต้นสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖ ข้าพเจ้าได้รู้จักชายพิการหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวคนหนึ่ง ใบหน้าเต็มไปด้วยริ้วรอยของแผลเป็น  นัยนืตาข้างหนึ่งแหกลงต่ำกว่าอีกข้างหนึ่ง แขนซ้ายคอก ขาข้างหนึ่งลีบ ตามตัวเต็มไปด้วยแผลเป็นเห็นแล้วขยักแขยง น่าเกลียด และน่าสังเวช เวลาจะเดินต้องใช้ไม้ยันรักแร้สองข้างจะเดินแต่ละก้าวก็ต้องโยกตัวด้วยความลำบาก ตามปกติแกจะชอบมานั่งที่ห้องแถวปากซอยติดถนนเจริญกรุงเสมอ ห้องแถวนี้หลังคามุงด้วยจาก เดิมมีผู้เช่าทำการค้า แต่ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น ต่อจากนั้นก็ไม่มีผู้มาเช่า ต้องทิ้งร้างจนหลังคาจากบางส่วนที่มุงผุพัง ไม่สามารถจะกันฝนได้เจ้าของก็ไม่ยอมซ่อมเพราะคิดว่าซ่อมแล้วก็ไม่มีใครเช่า จะเป็นด้วยตรงข้ามฟากถนนมีตรอกวอยเล็กๆ ตรงพอดีกับห้องแถวนี้ ชาวจีนที่ถือลางไม่กล้ามาเช่าอยู่หรือทำการค้า เพราะพากันเข้าใจว่าไม่เป็นมงคล และไม่ทำให้เกิดความเจริญกับผู้เช่าอยู่เดิมก็เป้นคนจีนได้แขวนรุปสิงห์คาบกั้นหยั่นจี ทำด้วยไม้ทาสีตัดขอบเป็นแปดมุมแขวนไว้หน้าห้องแถวให้ตรงกับปากตรอก ใช้เป็นเครื่องรางป้องกันอัปมงคล เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข แต่ก็ต้องย้ายไป เมื่อย้ายก็มิได้แกะรูปหัวสิงห์ไปด้วย เห็นจะเป็นเหตุนี้เองจึงไม่มีใครกล้ามาเช่า จึงต้องร้าง ต่อมาหน้าห้องแถวหลังนี้ยกพื้นเป็นม้าสูงสำหรับตั้งขวดโหลวางขายของ และยังมีลังไม้เก่าๆ ที่แข็งแรงพอที่จะนั่งเล่นได้อย่างสบายใจ อีกลังหนึ่ง ซึ่งผู้เช่าเดิมทิ้งไว้ คงตัดใจทิ้งไว้ให้ผู้เดินทางใช้เป็นที่นั่งพักแดดพักฝนก็ได้  

ชายพิการอัปลักษณ์ผู้นี้ได้มาอาศัยนั่งที่ห้องแถวร้านนี้ตามเคย แกนั่งดุคนสัยจรไปมา จนถึงเวลาเย็นแกก็กลับไปวัด ซึ่งเป็นที่พักอาศัย ชายผู้นี้ข้าพเจ้าเรียกแกว่า "ลุงตาล" เด็กๆ แถวนั้นชอบเรียกแกว่า "ตาตาลผีดิบ" เพราะรูปร่างแกเหมือนครึ่งผีครึ่งคน มีเด็กแก่นๆ ชอบล้อเลียนเอาก้อนดินขว้างปาแกเล่นเป็นการสนุก ทำให้ลุงตาลมีอารมณ์ขุ่นเคืองและโกรธแค้น  บางครั้งแกก็ใช้คำที่ไม่สุภาพกับเด็ก ๆ  เหล่านั้นไปบ้าง เพื่อคลายอารมณ์โกรธ เห็นแล้วก็อดสงสารแกไม่ได้ ข้าพเจ้าทำความสนิทสนมกับเด็กเหล่านั้น แล้วก็ขอร้องให้เลิกการล้อเลียน ขว้างปาลุงตาล และชี้ให้เห็นเคราะห์กรรมที่แกได้รับอยู่นี้มันก็หนักมากอยู่แล้ว อย่าไปซ้ำเติมแกเลย เท่าที่ร่างกายแกพิกลพิการน่าเกลียด ต้องใช้ไม้ยันเวลาเดิน บ้านช่องไม่มีจะอยู่ ต้องอาศัยศาลาวัด อาศัยข้าวพระเลี้ยงท้องเพื่อยังชีวิต การที่พวกเราล้อเลียนแกมาก บางครั้งทำให้แกน้ำตาตก และเราก็ขว้างปาแกเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น โดยที่แกไม่มีความผิด ไม่มีทางจะหลบหรือต่อสู้เลย เพราะแขนขาพิการ บาปกรรมอันนี้มันจะตามมาทันเรา เราอาจจะต้องเป็นอย่างแกบ้าง ถ้าแขนขาเราพิการเดินก็ลำบาก วิ่งก็ไม่ได้ เมื่อมีคนมาขว้างปาเราบ้าง จะทำอย่างไร คำขอร้องของข้าพเจ้าที่ประกอบไปด้วยเหตุผลนั้น ได้ผลสำหรับเด็กหัวอ่อนที่เห็นจริง พลอยเห็นใจและสงสารไปด้วย แต่เด็กหัวแข็งดื้อด้านบางคนก็ไม่ยอมเชื่อ กลับหัวเราะเยาะความคิดของข้าพเจ้า แต่กระนั้นการล้อเลียนขว้างปาก็สงบลงไปมาก ทำให้ลุงตาลมีอารมณ์ดีขึ้น


สารบัญ : กฎแห่งกรรม ฉ.คนมีบาป

    กฎแห่งกรรม ฉ.คนมีบาป

    • คนมีบาป
    • เหตุเมื่อฝนตก
    • เรื่องเวร
    • เพื่อนร่วมตาย
    • ความกรุณาปรานี
    • พระเคื่อง
    • มุสา


รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : กฎแห่งกรรม ฉ.คนมีบาป

กฎแห่งกรรม ฉ.คนมีบาป

หนังสือชุด "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" หรือ "กฎแห่งกรรม" นี้ ข้าพเจ้าได้เริ่มเขียนขึ้นพิมพ์แจกการกุศลครั้งแรกในงานทอดกฐินที่วัดประสบสุขในจังหวัดสุพรรรบุรี เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๑ ได้รับจดหมายชมเชยสนับสนุนฉบับแรกท่าน เจ้าคุณสมเด็จพระวันรัต วัดเชตุพน (ในเวลานั้นท่านยังมีสมณศักดิ์เป็นธรรม วโรดม) ท่านให้เป้นกำลังใจแก่ข้าพเจ้ามาก และ ฯพณฯ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ก็ได้ให้ความสนใจความสนับสนุนหนังสือชุดนี้ ได้กรุณาช่วยตรวจแก้บทละครที่ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ให้สมบรูณ์ขึ้นตามแบบ นับว่าเป็นพระคุณแก่ข้าพเจ้าอย่างสูง ทางคุรคสภา ท่านอาจารย์เจริญ ไชยชนะ ได้มาขออนุญาติพิมพ์ตามที่คณะกรรมการตกลงพิมพ์เวลานั้นมีรวมทั้งหมด ๒๑ เรื่อง

(ท.เลียงพิบูลย์)

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว