ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย

ผู้เขียน: เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

198.00 บาท

220.00 บาท ประหยัด 22.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

ความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกลุ่มชนชั้นปกครอง ที่เริ่มต้นขึ้นจาการสร้างความสัมพันธ์เเบบมิตรไมตรี เเล้วจึงพัฒนามาเป็นความสัมพันธ์ทางเครือญาติในที่สุด < แสดงน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกลุ่มชนชั้นปกครอง ที่เริ่มต้นขึ้นจาการสร้างความสัมพันธ์เเบบมิตรไมตรี เเล้วจึงพัฒนามาเป็นความสัมพันธ์ทางเครือญาติในที่สุด
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: ประวัติศาสตร์ล้านนา , ประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย , ชนชั้นสูง

198.00 บาท

220.00 บาท
220.00 บาท
ประหยัด 22.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
194 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
20.9 x 14.6 x 0.9 CM
น้ำหนัก
0.245 KG
บาร์โค้ด
9789740334873

รายละเอียด : ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย

ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย

จากการศึกษาที่ผ่านมาเเสดงให้เห็นว่าล้านนาเเละสุโขทัยมีความสัมพันธ์ระหว่างกันดังสะท้อนให้เห็น จากความสัมพันธ์ทางด้านรูปเเบบศิลปะ พุทธศาสนา อักษรภาษา เเละวัฒนธรรม ทว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันเเน่นเเฟ้นดังกล่าวมานั้น คือ ความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกลุ่มชนชั้นปกครอง ที่เริ่มต้นขึ้นจาการสร้างความสัมพันธ์เเบบมิตรไมตรี เเล้วจึงพัฒนามาเป็นความสัมพันธ์ทางเครือญาติในที่สุด เเต่กระนั้นความสัมพันธ์ดังกล่าวยังไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร เเละเท่าที่ผู้เขียนได้ติดตามเเละเห็นว่าเป็นพัฒนาการของการศึกษาเรื่องนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ เล่มนี้ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการตีความใหม่จากหลักฐานและเอกสารชั้นต้นของผู้เขียนเอง บางประเด็นต้องอาศัยการตรวตสอบชุดความรู้เดิมและสร้างชุดความรู้ใหม่ซึ่งจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดนั้นขอยกไว้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อ่าน


คำนำ : ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย

ผู้เขียนใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับงานเขียนชิ้นนี้เป็นเวลากว่า ๒ ปี โดยเริ่มต้นจากการศึกษางานเขียนเเละผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เเล้วจึงติดตามค้นคว้าจากหลักฐานจารึก ทั้งจารึกสมัยสุโขทัยเเละจารึกล้านนาร้วม หลายร้อยหลักใหม่ อาจนับได้ว่างานเขียนชิ้นนี้เป็นงานวิจัยที่เขียนขึ้นจาการตีความจารึกใหม่อีกครั้ง ซึ่งไม่ได้เขียนขึ้นจากประวัติศาสตร์สุโขทัยเเละล้านนาที่มีอยู่

ในการจัดพิมพ์เผยเเพร่ครั้งนี้ผู้เขียนได้เพิ่มเติม บทวิเคราะห์เเละหลักฐานที่สืบค้นได้ใหม่อีกเล็กน้อย เเต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยินดีรับฟังข้อคิดเห็นเเละยินดีเเลกเปลี่ยนทัศนคติกับผู้อ่านทุกท่าน

ผู้เขียนขอขอบพระคุณสำนักพิมพ์เเห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่ององค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ไทยยุคไกล เเละให้โอกาสผู้ศึกษารุ่นใหม่ ทำให้งานเขียนชิ้นนี้ได้เผยเเพร่ได้วงกว้าง

เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี

พฤษภาคม ๒๕๕๙


สารบัญ : ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย

    • ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย เชียงใหม่
    • ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง สุโขทัย
    • ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาเเละสุโขทัย
    • ความสัมพันธ์ระหว่างท้าวยี่กุมกาม พญาสามฝั่งเเกน เเละพญาไสลือไท
    • ความสัมพันธ์ของชั้นปกครองระหว่างล้านนาเเละสุโขทัยในสมัยพระเจ้าติโลกราช

เนื้อหาปกหลัง : ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย

ในด้านประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนาเเละสุโขทัย มีการศึกษาเเละเป็นที่ยอมรับกันมานานเเล้วเเต่ว่าฝ่ายต่างก็รับอิทธิพลรูปเเบบศิลปะซึ่งกันเเละกัน เเต่การศึกษาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งอาจใช้เชื่อมโยงถึงเหตุปัจจัยในการนำพารูปเเบบ ศิลปะนั้นยังไม่ได้รับการศึกษามากนัก หนังสือความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาเเละสุโขทัย :  ข้อคิดใหม่เเละข้อสังเกตบางประการ เล่มนี้ อาจช่วยให้การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะของล้านนาเเละสุโขทัยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น อนึ่ง ด้วยความที่งานเขียนชิ้นนี้เกิดจากข้อคิดเห็นใหม่ จึงอาจนับได้ว่าเป็นงานวิจัยที่เขียนขึ้นจากการตีความจารึกใหม่อีกครั้ง เเละไม่ได้เขียนขึ้นจากประวัติศาสตร์สุโขทัยเเละล้านนา ที่มีอยู่ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจประวัติสาสตร์ยุคไกลของทั้งล้านนาเเละสุโขทัย ซึ่งผู้เขียนยินดี เเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อ่านทุกท่าน

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว