รายละเอียด : ลพบุรี หลังวัฒนธรรมเขมร
ลพบุรี หลังวัฒนธรรมเขมร
เมืองลพบุรีนับเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีพัฒนาการของการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องมายาวนาน โดยได้พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีและงานศิลปกรรมที่มีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน จากหลักฐานของความเป็นเมืองที่มีฐานะทางประวัติศาสตร์เทียบเท่ากับศูนย์กลางทางการเมืองและอาณาจักรสมัยวัฒนธรรมทวารวดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 วัฒนธรรมเขมระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 จนมาถึงสมัยหมดอำนาจทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาโบราณและก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ถึง พ.ศ. 1893 จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองลพบุรียังคงมีความสำคัญในฐานะเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยาตอนต้น จนมามีฐานะเปรียบเสมือนเมืองหลวงแห่งที่ 2 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และมาฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์คือ งานศิลปกรรมที่เมืองลพบุรีระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมากที่สุด ในการศึกษางานศิลปกรรมที่เมืองลพบุรี สิ่งที่ควรกล่าวถึงอับดับแรก คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เพราะเป็นโบราณสถานประจำเมืองที่มีหลักฐานของงานศิลปะหลายยุคหลายสมัย อันแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องในงานศิลปกรรม โดยมีข้อสรุปแนวความคิดหลักๆ ของนักวิชาการที่ผ่านมา
คำนำ : ลพบุรี หลังวัฒนธรรมเขมร
ผลงานเขียนชิ้นนี้ได้ปรับปรุงมาจากเรื่อง "พัฒนาการศิลปกรรมของเมืองลพบุรีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-24" เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัยเรื่องลพบุรีศึกษาเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการของสังคมและเศรษฐกิจไทย ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร ปีพุทธศักราช 2548 ในชุดโครงการนี้แบ่งออกได้เป็น 5 โครงการย่อย เพื่อศึกษาถึงกลุ่มงานศิลปกรรมต่างๆ ที่พบแพร่กระจายอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี แยกตามอายุสมัย กลุ่มของวัฒนธรรมที่เกี่ยงข้อง รวมถึงประเภทของงานศิลปกรรมที่มีเงื่อนไขในการศึกษา และวิธีการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป
หนังสือ "ลพบุรี หลังวัฒนธรรมเขมร" เป็นงานวิจัยโครงการย่อยที่ 3 เรื่อง "พัฒนาการศิลปกรรมสมัยก่อนอยุธยาและสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 18-23)" ได้ทำการศึกษาพัฒนาการทางด้านศิลปกรรมของเมืองลพบุรีภายหลังจากอำนาจทางการเมืองของเขมรหมอลง โดยเทียบเคียงกับกลุ่มประติมากรรมในเขตพื้นที่อื่นๆ ที่เกี่ยงเนื่อง จนสามารถแบ่งย่อยช่วงสมัยทางศิลปกรรมในเวลาดังกล่าว ณ เขตพื้นที่สถาปนากรุงศรีอยุธยา 2. สมัยอยุธยาตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 20) 3. สมัยอยุธยาตอนกลาง (พุทธศตวรรษที่ 21 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่22) 4. สมัยอยุธยาตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ 23) โดยแต่ละช่วงสมัยต่างก็มีลักษณะเด่นและความน่าสนใจทางเชิงช่างที่แตกต่างกันออกไป
จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่เมืองลพบุรีระหว่างช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าละโว้หรือลพบุรีเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองศูนย์กลางทางการปกครองในลักษณะของอาณาจักรหนึ่ง ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรกัมพูชา มาจนถึงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จึงเป็นคำตอบทางวิชาการประวัติศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สารบัญ : ลพบุรี หลังวัฒนธรรมเขมร
- ศิลปะลพบุรี
- ศิลปกรรมเมืองลพบุรีในสมัยอยุธยาตอนต้น
- ศิลปกรรมเมืองลพบุรีในสมัยอยุธยาตอนกลาง
- ศิลปกรรมเมืองลพบุรีในสมัยอยุธยาตอนปลาย
- สรุป พัฒนาการของเมืองลพบุรีมองผ่านงานศิลปกรรม ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23
เนื้อหาปกหลัง : ลพบุรี หลังวัฒนธรรมเขมร
"หลักฐานทางศิลปกรรมที่เมืองลพบุรีระหว่างช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าละโว้หรือลพบุรีเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองศูนย์กลางทางการปกครองในลักษณะของอาณาจักรหนึ่ง ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรกัมพูชามาจนถึงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จึงเป็นคำตอบทางวิชาการประวัติศาสตร์และประวิติศาสตร์ศิลปะได้ว่ามีอาณาจักรละโว้อยู่ระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 และควรกำหนดชื่อเรียกศิลปะว่า "สมัยลพบุรี" รวมถึงอาจเป็นคำตอบอีกคำถามหนึ่งเรื่องที่มาของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเสด็จมาจากไหน จากหลักฐานทางศิลปกรรมอาจตอบได้ว่าน่าจะเสด็จมาจากเมืองลพบุรี"