รายละเอียด : เจ้าผู้ครองนคร (THE PRINCE)
เจ้าผู้ครองนคร (THE PRINCE)
มาเคียเวลลีเกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1469 ณ หมู่บ้านซาน กัสชีอาโน อิน วัล ดี เปซา รัฐฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรคนที่สามของนักกฏหมายผู้มีชื่อเสียงนามแบร์นาร์โด ดี นิกโกโล มาเคียเวลลี กับบาร์โตโลเมีย ดี สเตฟาโน เนลลี ซึ่งทั้งสองเป็นสมาชิกครอบครัวขุนนางเก่าแห่งทัสกานี นับแต่เยาว์มาเคียเวลลีได้ร่ำเรียนกับ เปาโล ดา รอนชีกลีโอเน ครูสอนภาษาละตินผู้มีชื่อเสียง กระทั่งมีความรู้ภาษาตะตินเป็นอย่างดี และสันนิษฐานว่าขณะเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ เขาได้ร่ำเรียน กับมาร์เชลโล วีร์จีลีโอ อาดรียานี ปราชญ์ชื่อดังด้วย มาเคียเวลลีมีความรู้ดีเยี่ยมด้านปรัชญามานุษยนิยม อันเฟื่องฟูยิ่งในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป
อันที่จริง ประวัติชีวิตในช่วงต้นของมาเคียเวลลีเป็นที่รู้จักน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลผู้มีชื่อเสียงคนอื่นๆ ในยุคเดียวกับเขา เราทราบเพียงว่าเขาเข้ารับราชการ ซึ่งน่าจะเป็นช่วงต้นทศวรรษ 1490 และเป็นที่จับตามองเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการทูตเป็นเลขานุการโทแห่งสาธารณรัฐฟลอเรนซ์ ในปี ค.ศ.1498 เขาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตให้แก่ฟลอเรนซ์ต่อมาอีกสิบสี่ปี ในระหว่างนั้นเขาได้เดินทางไปยังรัฐอื่นๆ ของอิตาลีหลายแห่ง รวมทั้งราชสำนักฝรั่งเศส และราชสำนักแห่งอาณาจักรแมกซีมีเลียนด้วย เขาได้เข้าพบบุคคลสำคัญระดับสูงสุดของประเทศมากมาย เช่น พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ซึ่งเขาเข้าพบถึงสี่ครั้ง เข้าพบจักรพรรดิแมกซีมีเลียน เข้าพบพระสันตะปาปาจูเลียส ที่2 รวมทั้งเชซาร์ บอร์จา ผู้ซึ่งเขาประทับใจมาก ในระหว่างการทำงานในตำแหน่งตัวแทนทางการทูต มาเคียเวลลีได้เขียนรายงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และเขียนหนังสือราชการ รวมถึงบันทึกและจดหมายอื่นๆ บ้างเป็นครั้งคราว ซึ่งมักประกอบด้วยการวิเคราะห์ของเขา แสดงให้เห็นว่าเขามีความสนใจในการเมืองการปกครองอย่างจริงจัง
สารบัญ : เจ้าผู้ครองนคร (THE PRINCE)
- สารแสดงความจงรักภักดี นิกโกโล มาเคียเวลลี
- รัฐภายใต้เจ้าผู้ครองนครมีกี่ประเภท ต่างถูกครอบครองโดยวิธีใด
- ว่าด้วยรัฐภายใต้เจ้าผู้ครองนครที่สืบทอดโดยสายโลหิต
- ว่าด้วยรัฐภายใต้เจ้าผู้ครองนครอันเป็นรัฐผสม
- ด้วยเหตุใดอาณาจักรของดาริอุสซึ่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ครอบครองจึงมิเกิดการกบฏต่อผู้สืบราชสมบัติจากพระเจ้าเล็กซานเดอร์ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์
- ลักษณะวิธีการปกครองสำหรับรัฐภายใต้เจ้าผู้ครองนคร ซึ่งเคยอยู่ด้วยกฏหมายของตนเอง ควรเป็นเช่นไร
- ว่าด้วยรัฐภายใต้เจ้าผู้ครองนครแห่งใหม่ ซึ่งยึดครองมาโดยกำลังอำนาจและคุณธรรมของผู้ยึดครองเอง
เนื้อหาปกหลัง : เจ้าผู้ครองนคร (THE PRINCE)
"การเป็นที่รักดีกว่าเป็นที่เกรงกลัว หรือการเป็นที่เกรงกลัวดีกว่าเป็นที่รัก" THE PRINCE (NICCOLO MACHIAVELL) ทฤษฏีการปกครองที่เผยความเป็นจริงของมนุษย์อย่างตรงไปตรงมา เจ้าผู้ครองนครผู้มีจริยธรรมอย่างแท้จริงจะต้องประสบความสำเร็จ ทั้งบนโลกมนุษย์และบนสวรรค์จริงหรือ ธรรมชาติของอำนาจมีและได้มาอย่างไรและผู้ครองนครควรปกครองด้วยวิธีการใด เจ้าผู้ครองนครที่มีความเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารี ซื่อสัตย์ เที่ยงตรงและเป็นที่น่าไว้วางใจนั้นประสบความสำเร็จในการปกครองหรือไม่ ตัวอย่างของเจ้าผู้ครองนครที่จิตใจอ่อนโยน มีเมตตา ปกครองด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและดีงามเพียงด้านเดียวแล้วประสบความสำเร็จนั้นมีเพียงจำนวนน้อย ส่วนที่เหลือต่างล้มเหลวและพบจุดจบอย่างทุกข์ทรมาน ในขณะที่เจ้าผู้ครองนครใช้เล่ห์ลวงทรยศหักหลัง กระทำการฆาตกรรมอย่างเหี้ยมโหดกลับประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย
แท้จริงแล้วเจ้าผู้ครองนครควรปฏิบัติตนเช่นไร จริยธรรมนั้นควรมีอยู่อย่างเปี่ยมล้น ด้วยเจ้าผู้ครองนครต้องยึดมั่นกับการเป็นคนดี หากแต่การเป็นเจ้าผู้ครองนครนั้นจำเป็นต้องบริหารจัดการกับผู้อยู่ใต้การปกครองทุกประเภท ดังนั้นวิธีการที่จะใช้กับนโยบายการปกครองจึงต้องนำคุณสมบัติในทางเลวร้ายมาประกอบด้วย นี่คือ "THE PRINCE" หรือ "เจ้าผู้ครองนคร" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องปรัชญา และทฤษฎีการปกครองที่เผยความจริงของมนุษย์อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเขียนโดย "นิกโกโล มาเคียเวลลี" บิดาของนักรัฐศาสตร์และบุคคลสำคัญของโลก
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : เจ้าผู้ครองนคร (THE PRINCE)
มีคำกล่าวที่ว่า "ใครที่เรียนรัฐศาสตร์แล้วไม่ได้อ่านงานเขียนมาเคียเวลลี ถือว่าไม่ได้เรียนรัฐศาสตร์" นั้นคงไม่กล่าวเกินจริง ผลงานของเขาเป็นที่วิพากวิจารณ์อย่างหนักมาตลอดทุกยุคสมัย แต่มีหนึ่งในงานเขียนที่เขาได้บันทึกไว้ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ด้วยคำสอนบางอย่างที่ไม่ควรเผยแพร่ จึงทำให้หนังสือที่มีชื่อว่า เจ้าผู้ครองนคร เล่มนี้ กลายเป็นหนึ่งในหนังสือต้องห้ามในช่วงเวลาหนึ่ง เขาเป็นคนแรกที่ตั้งทฤษฎีของความคิดทางการเมืองด้วยการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ ในภายหลังบันทึกฉบับนี้เป็นที่กล่าวขานถึงปัจจุบันด้วยเนื้อหาที่กล่าวอย่างตรงไปตรงมาถึงรูปแบบวิธีบริหารการปกครอง อันจะนำพาให้เจ้าผู้ครองนครดำรงตนอยู่ได้ด้วยความยิ่งใหญ่ รักษารัฐของตนไว้ได้อย่างทรงเกียรติภูมิ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมมาเคียเวลลีจึงได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์สมัยใหม่ หนังสือ เจ้าผู้ครองนคร จะเสนอแนวคิด และกลวิธีการปกครองและตีแผ่วิธีการอันแฝงเร้นในการปฏิบัติ เพื่อจัดการกับปัญหาทางการปกครอง (บางครั้งก็ไร้คุณธรรม) อันแสดงถึงไหวพริบปฏิภาณในการนำพาเจ้าผู้ครองนครไปสู่ความสำเร็จในการปกครองรัฐ ไม่ว่าวิธีการนั้นจะดำเนินไปในทางคุณธรรมหรือไร้คุณธรรมก็ตาม หากนำข้อคิดมาพินิจพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงแล้ว ถ้าเราคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ไม่ว่าวิธีการนั้นจะเป็นเช่นไรก็ตามควรกระทำการนั้นเสียเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศชาติ
สำนักพิมพ์ แอร์โรว์ มัลติมีเดีย