อันดากู รัตนชาติแห่งพระพุทธศาสนา

ผู้เขียน: สมเกียรติ โล่ห์เพชรรัตน์

สำนักพิมพ์: เคล็ดไทย/Khlet Thai

หมวดหมู่: ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา , ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา

0 (0) เขียนรีวิว

144.00 บาท

160.00 บาท ประหยัด 16.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

ปรัชญาการได้มาซึ่งพระพุทธศาสนา ปฏิมากรรมสำคัญที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก < แสดงน้อยลง ปรัชญาการได้มาซึ่งพระพุทธศาสนา ปฏิมากรรมสำคัญที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

Tags: ปฏิมากรรมชุดพุทธประวัติ , ศาสนา , ปฏิมากรรมพม่า

144.00 บาท

160.00 บาท
160.00 บาท
ประหยัด 16.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
187 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.5 x 21 x 1 CM
น้ำหนัก
0.269 KG
บาร์โค้ด
9786169231431

รายละเอียด : อันดากู รัตนชาติแห่งพระพุทธศาสนา

อันดากู รัตนชาติแห่งพระพุทธศาสนา

หากกล่าวถึง อันดากู สำหรับสังคมของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธชาวเมียนมาร์ แล้ว หมายถึงองค์ปฏิมากรรมขนาดเล็กซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่คำว่าอันดากู เป็นชื่อของหินสบู่ชนิดหนึ่งที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศเมียนมาร์ แต่ด้วยความยาวของอายุศิลปะชนิดนี้ที่มีความต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันทำให้คำว่า อันดากู กลายเป็นสรรพนามของการเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่งในพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมการเรียกอันดากู ที่มีความหมายทั้งชื่อของวัสดุ และศิลปะเพื่อศาสนาพุทธที่เกี่ยวกัยปรัชญาทางพุทธประวัติที่ถูกยอมรับโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักโบราณคดีทั่วโลกในทุกวันนี้

อันดากูเป็นปฏิมากรรมขนาดเล็กมาก สืบเนื่องมาจากการที่เป็นแผ่นหินธรรมชาติขนาดเล็กทั้งขาดซึ่งเทคโนโลยี่ในการขุดในสมัยนั้น จึงทำให้ขนาดของอันดากูจึงเป็นเอกลักษณ์อีกชนิดหนึ่งของศิลปะชนิดนี้ เพราะโดยปรกติปฏิมากรชาวเมียนมาร์นิยมการและสลักหินขนาดใหญ่อย่างที่เรามักจะพบเห็นพระพุทธรูปที่แกะจากหินชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่มากในเมียนมาร์ที่มีอยู่จำนวนมากตามสถานที่ต่างๆ แต่สำหรับชาวเมียนมาร์แล้ว อันดากูถึงแม้จะมีขนาดเล็กแต่กลับซ่อนความศรัทธาขนาดใหญ่ไว้ภายใน เหตุเพราะอันดากูถูกรังสรรค์ขึ้นจากปรัชญาที่ลุ่มลึกไม่เหมือนใคร หากผู้ใดเข้าถึงปรัชญาการสร้างนี้แล้ว เป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดแรงศรัทธาที่มีต่อปฏิมากรรมชิ้นเล็กเหล่านี้ เพราะคำว่า อันดากู ในสังคมของชาวเมียนมาร์หมายถึงคำศักดิ์สิทธิ์คล้ายกับการเอ่ยพระนามขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 


คำนำ : อันดากู รัตนชาติแห่งพระพุทธศาสนา

อันดากู เป็นปฏิมากรราทางพุทธศาสนาฉบับย่อเกี่ยวกับเหตุการณ์การดำเนินชีวิตและบอกเล่าความเป็นมาของการได้มาซึ่งศาสนาพุทธและองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า งานศิลปะประเภทนี้แม้จะเป็นงานศิลปะขนาดเล็กแต่มากด้วยปรัชญาและงานช่างฝีมือที่หาสิ่งอื่นใดมาเปรียบเทียบได้ยาก ถึงแม้ว่าศิลปะการสร้างอันดากูจะยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ความสวยงามที่เกิดจากความศรัทธาอย่างสูงยิ่งในอดีตนั้นมีความแตกต่างห่างไกลกันมากกับอันดากูในปัจจุบันถูกรังสรรค์จากการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในเชิงพาณิชย์มากกว่าจะเกิดจากผลงานที่ถูกส่งผ่านเข้ามาทางด้านศรัทธาที่เกิดจากทางจิตใจ

สารบัญ : อันดากู รัตนชาติแห่งพระพุทธศาสนา

    • อันดากู ความหมายความเข้าใจของชาวเมียนมาร์
    • คุณสมบัติของหินอันดากู
    • แหล่งหินอันดากูทั่วโลก
    • ศิลปะและวัฒนธรรมการสร้างปฏิมากรรมเกี่ยวกับพุทธประวัติจากอินเดียสู่เมียนมาร์

เนื้อหาปกหลัง : อันดากู รัตนชาติแห่งพระพุทธศาสนา

อันดากู กับปรัชญาการได้มาซึ่งพระพุทธศาสนา ปฏิมากรรมสำคัญที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก

รีวิวโดยผู้เขียน : อันดากู รัตนชาติแห่งพระพุทธศาสนา

ผู้เขียนรู้สึกประทับใจกับสิ่งที่ได้พบเห็นมากจึงได้ลงมือค้นคว้าอย่างจริงจัง ตำราทุกเล่ม บทความทุกบทความที่เกี่ยวกับ อันดากู ทั้งในอดีตและปัจจุบันได้ถูกนำมาศีกษา รวมทั้งสื่อเกี่ยวกับอันดากูที่สามารถค้นหาได้ในจอของโลกไซเบอร์ก็ถูกจำมาใช้ศึกษาและวิเคราะห์ เพื่อหาข้อยุติและให้ได้คำตอบที่ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งจากการค้นคว้าทั้งจากตำราเก่าและตำราใหม่ ทำให้ทราบว่าในอดีตมีนักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักโบราณคดีจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้จัก หินอันดากู ที่ชาวเมียนมาร์เรียก แต่จะเรียกปฏิมากรรมชนิดนี้ว่าแกะจากหินชนิดต่างๆ ที่จัดอยู่ในกลุ่มของหินสบู่ แต่แท้จริงแล้วหินอันดากูหากเรียนตามชื่อทางธรณีวิทยาหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ หิน PYROPHULLITE หินชนิดนี้มีหลายคุณภาพและมีหลายสีทั้งยังมีหินที่เป็นสีดำที่ชาวเมียนมาร์เรียกว่า อันดากูสีดำ ซึ่งเป็นสีที่หายากมากจะมีเฉพาะในประเทศเมียนมาร์สำหรับอันดากูสีดำผู้เขียนก็ได้พบเห็นในหนังสือเล่มหนึ่งที่มีภาพขนาดเล็กแสดงให้เห็นเพียงภาพเดียวของหนังสือที่ได้เปิดผ่านมาทั้งหมด

การเข้าไปศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ในรายละเอียดมากขึ้นของผู้เขียน ทำให้รู้ว่าการเรียกหินอันดากูในอดีตในหนังสือเล่มต่างๆ ไม่ค่อยจะตรงกันนัก การเรียกขื่อขององค์ประกอบในรูปเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่แกะบนแผ่นหินแผ่นเดียวกันนี้ก็ไม่ตรงกัน สำหรับความรู้สึกของผู้เขียนเองที่เป็นชาวพุทธ มีความรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติกับสัญลักษณ์ของปางต่างๆ

สมเกียรติ โล่เพชรัตน์

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว