จิตตภาวนา ตามรอยพระพุทธองค์ (วิปัสสนากรรมฐาน ๒)

ผู้เขียน: ศรีศากยอโศก

สำนักพิมพ์: นาลันทา

หมวดหมู่: ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา , ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา

0 (0) เขียนรีวิว

508.50 บาท

565.00 บาท ประหยัด 56.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 20 คะแนน

จิตเจริญด้วยสมถะและวิปัสสนา ซึ่งนำไปสู่การเกิดดวงตาเห็นธรรม < แสดงน้อยลง จิตเจริญด้วยสมถะและวิปัสสนา ซึ่งนำไปสู่การเกิดดวงตาเห็นธรรม
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: หนังสือธรรมะ , จิตตภาวนา , ธรรมะ , พระพุทธศาสนา , วิปัสสนากรรมฐาน

508.50 บาท

565.00 บาท
565.00 บาท
ประหยัด 56.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 20 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
731 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
15 x 21.5 x 4.7 CM
น้ำหนัก
0.971 KG
บาร์โค้ด
9786164136502

รายละเอียด : จิตตภาวนา ตามรอยพระพุทธองค์ (วิปัสสนากรรมฐาน ๒)

จิตตภาวนา ตามรอยพระพุทธองค์  (วิปัสสนากรรมฐาน ๒)

พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้มีพระอริยสงฆ์หลายรูปได้แปลความหมายของคำว่า "จิตตภาวนา" แตกต่างกัน เฉพาะภาษาโวหารในทางโลกอยู่บ้าง แต่ทั้งหมดย่อมมีสภาวธรรมเหมือนกัน คือ "การอบรมจิตให้บังเกิดความเจริญ" ดังจะได้แสดงความหมายของคำว่า "จิตตภาวนา" ให้ละเอียดประณีตสืบต่อไปโดยลำดับ ในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (2538) ของท่านพระธรรมปิฎก ได้ให้ความหมายดังนี้ คำว่า "จิต" หมายถึง "ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ สถานที่ นึกคิด ความคิดใจ" คำว่า "ภาวนา" หมายถึง "การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น การทำให้เกิดขึ้น การเจริญ การบำเพ็ญ" สำหรับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ทรงตรัสว่า "การอบรมจิตได้มีพระพุทธภาษิตตรัสเรียกว่า จิตตภาวนา"

สำหรับท่านพุทธทาส ภิกขุ ท่านกล่าวว่า "จิตตภาวนา คือการทำจิตให้เจริญ ก็คือ ชีวิตพัฒนา นั่นคือ การพัฒนาชีวิต หมายความว่าทำให้มากขึ้น ให้ดีขึ้น จึงจะเรียกว่าพัฒนา ถ้ามากขึ้น แต่ไม่ดีขึ้นหรือเลวลง อย่างนี้ไม่เรียกว่าพัฒนา" (สำหรับจิตในความหมายของพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น ข้าพเจ้าไม่ขออ้างถึง ผู้สนใจความหมายของจิตตามแบบอรรถกถาของผู้แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค สามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามปรารถนา) จากความหมายของคำว่า "จิตตภาวนา" ของพระอริยสงฆ์ทั้ง 3 รูป ดังได้ยกมาแสดงนั้น เมื่อถือเอาตามสภาวธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่ถือเอาภาษาโวหารเป็นที่ตั้ง ย่อมมีความหมายเหมือนกัน คือ "การอบรมจิตให้บังเกิดความเจริญ" นั้นเอง

หนังสือธรรมะ ศาสนา และปรัชญา เพิ่มเติม


คำนำ : จิตตภาวนา ตามรอยพระพุทธองค์ (วิปัสสนากรรมฐาน ๒)

หนังสือ "จิตตภาวนา ตามรอยพระพุทธองค์ สมถะ และวิปัสสนา (วิปัสสนากรรมฐาน ภาค2)" เล่มนี้ มีเนื้อหาสืบต่อเนื่องมาจากหนังสือ "วิปัสสนากรรมฐาน ตามรอยพระพุทธองค์ เล่ม1" ซึ่งได้ตีพิมพ์เอาไว้เมื่อปีพุทธศักราช 2552 และไม่ได้มีการพิมพ์ซ้ำขึ้นมาอีก เหตุผลที่ข้าพเจ้าไม่พิมพ์ซ้ำ ก็เพราะว่า ข้าพเจ้าจะได้นำเนื้อหาส่วนที่สำคัญมารวมเข้าไว้ในหนังสือ "จิตตภาวนา ตามรอยพระพุทธองค์ สมถะ และวิปัสสนา (วิปัสสนากรรมฐาน ภาค2)" เล่มนี้ ท่านผู้สนใจในการศึกษาความรู้ทางธรรม (ปริยัติ) จึงไม่จำเป็นต้องตามหา "หนังสือ วิปัสสนากรรมฐาน ตามรอยพระพุทธองค์ เล่ม1" เพราะเนื้อหาที่สำคัญๆ ได้ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอชี้แจงมาด้วยความเคารพ เพราะได้มีพุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมาก ถามหาถึงหนังสือเล่มดังกล่าว


สารบัญ : จิตตภาวนา ตามรอยพระพุทธองค์ (วิปัสสนากรรมฐาน ๒)

    • จิตตภาวนา
    • การเดินจงกรมภาวนา
    • สมถกรรมฐานภาวนา
    • การนั่งสมาธิภาวนา โดยอาศัย "ลมหายใจ" เป็นนิมิตอารมณ์กรรมฐานบรรลุปฐมฌาน
    • การนั่งสมาธิภาวนา บรรลุทุติยฌาน ตติยฌานฯ ทุติยฌาน
    • วิปัสสนากรรมฐาน
    • "สมถะ และวิปัสสนา" ย่อมแยกกันไม่ได้

เนื้อหาปกหลัง : จิตตภาวนา ตามรอยพระพุทธองค์ (วิปัสสนากรรมฐาน ๒)

จิตตภาวนา มีความหมายทางธรรมว่า "การบำเพ็ญเพียรอบรมจิตให้บังเกิดความเจริญความเจริญของจิต คือ จิตเจริญด้วยสมถะและวิปัสสนา ซึ่งนำไปสู่การเกิดดวงตาเห็นธรรมเกิดญาณหยั่งรู้ เกิดปัญญาในทางพระพุทธศาสนา เกิดวิชชาเกิดวิมุติญาณทัศนะ และเกิดการบรรลุมรรคผลนิพพาน เพราะความดับลงแห่งอาสวะทั้งหลาย" พระศาสดาเจ้าทรงตรัสว่า "ผู้อยู่ในธรรมจริงแท้ คือผู้ที่จิตเจริญด้วยสมถะและวิปัสสนา" การจะเป็นผู้อยู่ในธรรมจริงแท้ตามพุทธดำรัส จึงมีความหมายเช่นเดียวกันกับการเจริญ "จิตตภาวนา" ในทางพุทธศาสนา ซึ่งการเจริญ "จิตตภาวนา" ที่ถูกต้องตามธรรม ผู้บำเพ็ญเพียรย่อมต้องศึกษาและปฏิบัติให้ครบองค์ธรรมในทางพระพุทธศาสนา คือ 1.ปริยัติ (ความรู้) 2.ปฏิบัติ 3.ปฏิเวธ

ท่านทั้งหลาย หนังสือ "จิตตภาวนา ตามรอยพระพุทธองค์" เล่มนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วย ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ (สภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริง เพราะผลจากการปฏิบัติ) นับเป็นหนังสือเล่มแรกที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา ที่แสดงความแตกฉาน ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ โดยอาศัยพระไตรปิฎกเป็นที่ตั้งอาศัยในการแสดงธรรม ไม่อาศัยโวหารธรรมจินตนาการเพ้อเจ้อในการแสดงธรรมให้ผู้ศึกษาเสียเวลาอันมีค่าของชีวิต ขอท่านทั้งหลายโปรดดำรงความสงบ ระงับเป็นสัมมาสมาธิ แล้วอ่านหนังสือเล่มนี้โดยลำดับ ย่อมจะเกิดอานิสงส์เป็นอันมาก

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว