ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

ผู้เขียน: มานิตย์ จุมปา

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , ปริญญาตรี

0 (0) เขียนรีวิว

243.00 บาท

270.00 บาท ประหยัด 27.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

กฏเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมสร้างขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน < แสดงน้อยลง กฏเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมสร้างขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: กฎหมาย , รัฐธรรมนูญ , ประมวลกฎหมาย

243.00 บาท

270.00 บาท
270.00 บาท
ประหยัด 27.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
318 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
19 x 26 x 1.7 CM
น้ำหนัก
0.655 KG
บาร์โค้ด
9789740334958

รายละเอียด : ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

ในการที่บุคคลจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขจำต้องมีการตกลงกฏเกณฑ์ในการที่จะประพฤติปฏิบัติตน กฏเกณฑ์ดังกล่าวเรียกว่า ปทัสถานของสังคม โดยปทัสถานของสังคมนั้นมีอยู่หลายประการแตกต่างกันไป แต่ปทัสสถานของสังคมประเภทหนึ่งที่สำคัญคือ กฏหมาย ในทางสังคมวิทยาเป็นที่ยอมรับกันว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์จึงไม่สามารถอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงต้องอยู่รวมกันเป็นสังคม และเมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคม การติดต่อสมาคมกันเพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิตก็เกิดมีขึ้น ในแต่ละสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างกฏเกณฑ์ต่างๆ ขึ้น

เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน และรักษาความเป็นระเบียบตลอดจนความสงบเรียบร้อยของสังคมไว้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่สังคมมนุษย์ขาดความเป็นระเบียบ ความวุ่นวายและความเสียหายต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นอันจะเป็นเหตุนำไปสู่ความพินาศของสังคมนั้นในที่สุด กฏเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมสร้างขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน และรักษาความเป็นระเบียบตลอดจนความสงบเรียบร้อยของสังคมนี้เรียกว่า "ปทัสถานทางสังคม" (Social Norms) นอกจากนี้ปทัสถานทางสังคมยังเป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เป็นที่คาดหวังของสังคม เป็นมาตราฐานที่สมาชิดของสังคมถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตาม จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป


สารบัญ : ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

    • สังคมและกฏเกณฑ์ความประพฤติ
    • ลักษณะของกฏหมาย
    • ที่มาของกฏหมาย
    • ศักดิ์ของกฏหมาย
    • ขอบเขตการใช้กฏหมาย
    • การตึความและการอุดช่องว่างของกฏหมาย
    • ประเภทของกฏหมาย
    • ความหมายและลักษณะของสิทธิ
    • ประเภทของสิทธิ
    • ผู้ทรงสิทธิ
    • เนื้อหาและวัตถุแห่งสิทธิ
    • การเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ
    • การใช้สิทธิและข้อจำกัดการใช้สิทธิ
    • การบังคับตามสิทธิ

เนื้อหาปกหลัง : ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฏหมาย กฏหมายเป็นกฏเกณฑ์ในสังคมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์แต่ละคน ตั้งแต่มนุษย์อยู่ในครรภ์มารดา กฏหมายก็เข้ามารับรองสิทธิของทารกในครรภ์มารดา พอทารกคลอดออกมาแล้วกฏหมายก็บังคับให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดาต้องไปแจ้งเกิดเพื่อขอรับสูติบัตร เมื่ออายุ 15 ปี กฏหมายก็บังคับให้ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน โตขึ้นมาอีกจะแต่งงานกฏหมายก็บังคับให้ต้องจดทะเบียนสมรส พอแก่ตัวลงใกล้จะตายกฏหมายก็เปิดทางให้สามารถกำหนดการเผื่อตายโดยการทำพินัยกรรม จนกระทั่งเมื่อตายกฏหมายก็บังคับให้ผู้พบเห็นการตายต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อตายไปแล้วก็มีกฏหมายมรดกเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นนี้แล้วกฏหมายจึงสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตของบุคคล

แม้จะไม่มีบทบัญญัติแห่งกฏหมายฉบับใด มาตราใด บังคับว่าคนทุกคนจะต้องรู้กฏหมายแต่ก็มีหลักการที่ยอมรับกันทั่วไปว่า "ความไม่รู้กฏหมายไม่เป็นข้อแก้ตัวให้ไม่ต้องรับผิด" ทั้งนี้ ก็โดยเหตุที่มีนโยบายว่า ถ้ายอมให้อ้างความไม่รู้กฏหมายได้ การบังคับใช้กฏหมายก็จะไม่เป็นผล เพราะทุกคนต่างก็จะอ้างว่าตนไม่รู้กฏหมายเพื่อไม่ต้องรับผิด อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้คนไม่ต้องรับรู้กฏหมาย เพราะรู้กฏหมายน้อยก็รับผิดน้อย หนังสือความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฏหมายนี้เป็นการอธิบายถึงหลักการพื้นฐานทางกฏหมายที่สำคัญ ซึ่งหลักการนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับกฏหมายทุกฉบับ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจกฏหมายที่จะศึกษาไว้เพื่อจะได้ป้องกันไม่ทำอะไรผิดกฏหมาย และถ้าทำอะไรผิดกฏหมายก็สามารถเยียวยาแก้ไขได้ในเบื้องต้น เหมือนเช่นที่เราท่านทั้งหลายเรียนวิชาสุขศึกษา

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว