หลวงปู่ฝั้น อาจาโร - อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ 1 ชาติภูมิและคำสอน เล่มที่ 9

ผู้เขียน: ดร.ปฐม นิคมานนท์

สำนักพิมพ์: ดีเอ็มจี/DMG Book

หมวดหมู่: ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา , ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา

0 (0) เขียนรีวิว

143.10 บาท

159.00 บาท ประหยัด 15.90 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

พระผู้เมตตาอย่างไม่มีจำกัด < แสดงน้อยลง พระผู้เมตตาอย่างไม่มีจำกัด
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: ศาสนาพุทธ , พระอริยสงฆ์ , ชุดอริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

143.10 บาท

159.00 บาท
159.00 บาท
ประหยัด 15.90 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
157 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14 x 18.4 x 1 CM
น้ำหนัก
0.173 KG
บาร์โค้ด
9786163760357

รายละเอียด : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร - อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ 1 ชาติภูมิและคำสอน เล่มที่ 9

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร - อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ 1 ชาติภูมิและคำสอน เล่มที่ 9

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นศิษย์รุ่นใหญ่องค์หนึ่งของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานหรือที่ทุกท่านรู้จักกันในนาม พระป่าฝ่ายวิปัสสนา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้มีลิขิตถึงองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ว่า "พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร นับเป็นปูชนียภิกษุรูปหนึ่ง การบำเพ็ญสมณธรรมตลอดถึงกรณียกิจน้อยใหญ่ ที่ท่านได้ปฏิบัติมาแล้ว ล้วนแต่สมควรถือเป็นอนุสาวรีย์แห่งชีวิตของท่าน ที่บรรดาศิษย์ ผู้มีน้ำใจมั่นใจมั่นในกตัญญูกตเวทีตามธรรม จะพึงบูชาด้วยการปฏิบัติตามเยี่ยงอย่าง ตลอดทุกเมื่อ"

หากกล่าวถึงวัตรปฏิบัติ ของ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร นั้นท่านเคร่งครัดเหมือน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ของ ท่านเลยทีเดียว ซึ่งเป็นมรดกธรรมที่ตกทอดสืบมาถึงพระลูก พระหลานสายพระป่าในปัจจุบัน ได้แก่ การหมั่นเพียรในการเจริญสมาธิภาวนา ฉันน้อย นอนน้อย ทำความเพียรมาก การออกบิณฑบาต ฉันหนเดียว ฉันในบาตร ปัดกวาดบริเวณ เดินจงกรม การอยู่ป่าอยู่ถ้ำที่สงัด วิเวก การถือผ้า ครองสามผืน เคร่งครัดละเอียดอ่อนในธรรมวินัยปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์ ด้วยความเคารพอย่างสูงสุด


สารบัญ : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร - อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ 1 ชาติภูมิและคำสอน เล่มที่ 9

    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • พระผู้เมตตาอย่างไม่มีจำกัด
    • เรื่องของชาวภูไท
    • เหตุอัศจรรย์ครั้งที่สอง
    • เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหตุ
    • ปักหลักและเสี่ยงบุญวาสนา
    • เหตุการณ์สมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    • เหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3

เนื้อหาปกหลัง : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร - อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ 1 ชาติภูมิและคำสอน เล่มที่ 9

เห็นธรรมในจิต เห็นจิตในธรรม เห็นธรรมเป็นจิต เห็นจิตเป็นธรรม ปราศจากตัวตนสัตว์ บุคคล เรา เขา จึงเป็นจิตว่าง จิตสูญ จิตว่างแบบนี้ใช่ว่างเปล่า แต่ว่างจากกิเลสอาสวะ จิตสูญ แบบนี้ ไม่ใช่สูญเปล่า แต่จิตสูญจากสัตว์ บุคคล จากตัว จากตน จากเขา จากเรา

รีวิวโดยผู้เขียน : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร - อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ 1 ชาติภูมิและคำสอน เล่มที่ 9

การจัดทำหนังสือชุดนี้ เพื่อให้ผู้ใฝ่ธรรมได้รู้อีกแง่มุมหนึ่งของการธุดงควัตร ฝึกกรรมฐาน หลักคำสอน หลักปฏิบัติ ผ่านการขัดเกลา ทดสอบจิต อย่างเคร่งครัด เป็นแนวทางธรรมที่ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ทางโลก ให้สงบสุขในทางธรรม ซึ่งเป็นขั้นแรกของการฝึกกรรมฐาน ด้วยการสำรวจความพร้อมของจิตใจ ความสุขที่เกิดจากใจสงบ ย่อมนำมาซึ่งสติ ปัญญา สมาธิ คิดทำสิ่งใด พึงระลึกไว้ในคำสอน เพราะมนุษย์ล้วนแต่มีความโกรธ ความหลง ซ่อนเร้นอยู่ในใจ หากทำอะไรโดยไม่คิดไตร่ตรองอย่างมีสติ ความทุกข์ที่ขังอยู่ก็เป็นเพียงแค่ความว่างเปล่าเท่านั้นเอง

ดร.ปฐม นิคมานนท์



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร - อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ 1 ชาติภูมิและคำสอน เล่มที่ 9

หนังสือชุด "พระอริยสงฆ์ แห่งแผ่นดิน ชุดที่ 1 " จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่หลักคำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบน้อมนำระลึกถึงหลักคำสอนที่โดดเด่น เพื่อนำมาขัดเกลาให้ชีวิตไม่หลงยึดติดกับโลกของวัตถุ จนลืมคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ประมาท ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ลืมบุญวาสนาของตน คือไม่ให้ลืมตัวในการสร้างคุณงามความดี ใจเราก็ไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ อันเป็นเหตุให้ต่อภาพต่อชาติเป็นมนุษย์ต่อไป เมื่อบารมีไม่แก่กล้า ไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะพากันไปสู่ภพที่ต่ำลงได้ พระอริยสงฆ์ผู้มีปฏิปทา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อยู่ในศิลาจารวัตร มุ่งมั่นเผยแพร่คำสอนเดินตามรอยพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัดไม่หลงโลก มุ่งแต่ธรรม ล้วนแต่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ทุกท่านศรัทธาในบารมีและยึดเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว