รายละเอียด : เล่าเรื่องนิทานเวตาล
เล่าเรื่องนิทานเวตาล
เมื่อกาลสองพันกว่าปีที่แล้ว ณ กรุงอุชชยินี (เมืองหนึ่งในประเทศอินเดีย) มีกาัตริย?ปกครองพระนามว่า (อ่านว่า วิ - กระ - มา - ทิตย์ มาจากคำว่า วิกรม + อาทิตย์)
พระองค์ทรงพระนามเลื่องลือว่ามีความสามารถทั้งการศึกและการปกครองปกคีองให้ไพร่ฟ้าประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งทรงส่งเสริมการศึกษา ในราชสำนักจึงมีนักปราชญ์ถึงเก้าคน เรียกว่า เนาวรัตนกวี เช่น กาลิทาส (ศิวทาสที่แต่เรื่องก็น่าจะเป็นในเก้าปราชญ์) พระเจ้าวิกรมาทิตย์ครองราชย์จนพระชนมายุได้สามสิบพรรษา ก็ทรงดำริว่า บ้านเมืองต่างแค้วนต่างแดนที่ทรงได้ยินอต่ช่อชชื่อ แต่ไม่เคยเห็นั้นมีมากสมควรจะเสด็จไปเห็นเสียสักครั้งหนึ่ง ทว่าไม่ใช่ไใ่ใช่การเสด็จไปเยือนอย่างเปิดเผยเหล่านั้น เพื่อหาหนทางที่จะรวมบ้านเมืองเหบ่านั้นเข้ามาก็เหมือนเมืองขึ้น ไม่ด้วยกำลังปัญญา ก็ด้วยกำลังอาวุธ
เมื่อทรงคิดเช่นนี้แล้ว พระเจ้าวิกรมาทิตย์ก็ทรงมอบราชการบ้านเมืองให้พระอนุชานามว่า พระภรรตฤราช ปกครองแทนชั่วคราว แล้วพระเจ้าวิกรมานิตย์ก็ทรงปลอมพระองค์เป็นโยคี มีพระโอรสองค์ที่สองนามว่า ธรรมธวัชตามเสด็จท่องเที่ยวไปในป่าและเมื่องต่างๆ
ฝ่ายพระภรรตฤราชที่ทรงปกครองกรุงอุชชยินีแทนพระเชษฐานั้น ทรงทำหน้าที่ได้เป็นอย่งดี แต่ในพระทัยกลับไม่มีความสุข เพราะได้สูญเสียพระชายาสุดที่รักไปด้วยสาเหตุที่ไม่สมควรคือ
สารบัญ : เล่าเรื่องนิทานเวตาล
- นิทานเวตาล ต้นเรื่อง
- นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑
- นิทานเวตาล เรื่องที่ ๒
- นิทานเวตาล เรื่องที่ ๓
- นิทานเวตาล เรื่องที่ ๔
- นิทานเวตาล เรื่องที่ ๕
- นิทานเวตาล เรื่องที่ ๖
- นิทานเวตาล เรื่องที่ ๗
- นิทานเวตาล เรื่องที่ ๘
- นิทานเวตาล เรื่องที่ ๙
- นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐
- นิทานเวตาล ปลายเรื่อง
เนื้อหาปกหลัง : เล่าเรื่องนิทานเวตาล
"นอกจากเนื้อหาอันชวนติดตามแล้ว จุดเด่นของเรื่องคือการต่อสู้ด้วยปัญญา ระหว่าง 'เวตาล' อมนุษย์เจ้าปัญหา ผู้มากด้วยคารมเสียดสี เชแหน็บแหนม ไหวพริบ และความเจ้าเล่ห์แสนกล กับ 'พระวิกรมานิตย์' กษัตริย์หนุ่มผู้ทรงไขปริศนาด้วย พระปรีชาญาณอันล้ำเลิศ ทำให้ผู้อ่านต้องลุ้นระทุกกันทุกตอน..." - ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิราภรณ์ มาตังคะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
รีวิวโดยผู้เขียน : เล่าเรื่องนิทานเวตาล
นิทานเวตาล เดิมเป็นวรรณกรรมภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นตำนานเก่าแก่มีมาแต่สมัยโบราณ ชื่อว่า เวตาลปัญจวิงศติ แปลว่า นิทานเวตาล ๒๕ เรื่อง ประพันธ์โดยศิวทาส
ต่อมาในราวคริสตศักราชที่ ๑๒ โสมเทวะได้นำนิทานเวตาลมารวบรวมไว้ใน กถาสริตสาคร ครั้น ค.ศ. ๑๗๑๙-๑๗๔๙ พระเจ้ากรุงชัยปุระก็ทรงโปรดให้แปล นิทานเวตาล จากภาษาสันสกฤตเป็นพิรัชภาษา และจากนั้นก็มีผู้แปลเป็นหินทีอีกทอดหนึ่ง เรียกว่า ไพตาลปัจจีสี แล้วต่อจากนั้น นิทานเวตาล ก็ถูกแปลต่อกันมาเป็นภาษาอินเดียแทบทุกภาษา (ชาวอินเดียมีภาษาใช้กันมากมายหลายภาษา เคยได้ยินมาว่าเกือบสองพันภาษาทีเดียว)
มาลัย (จุฑารัตน์)
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : เล่าเรื่องนิทานเวตาล
นิทานเวตาล เดิมเป็นวรรณกรรมภาษาสันสกฤตของอินเดีย มีชื่อว่า "เวตาลปัญจวิงศติ" หากแปลตามตัวจะได้ความว่า"นิทานเวตาล ๒๕ เรื่อง" ทว่าฉบับที่นำเสนอนี้ มีต้นตอมาจากแปลเป็นภาษาอังกฤษของ ร้อยเอก เซอร์ริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน จำนวน๙ เรื่อง และ ซี. เอช. ทอว์นีย์ จำนวน ๑ เรื่อง ก่อนที่ น.ม.ส. หรือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส) จะนำมาแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยทั้งหมด ๑๐ เรื่อง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑
สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์