รายละเอียด : ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง
ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง
'ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม' เป็นคำที่เริ่มใช้ในทศวรรษ 1840 แต่คำๆ นี้ปรากฏในการถกเถียงทางวิชาการเป็นครั้งแรกในหนังสือชื่อ History of the Social Movement in France from 1789 until the Present ของ Lorenz von Stein นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันซึ่งตีพิมพ์ในปี 1850 (Cox 2013 : 1260) McAdam at al เห็นว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ มันเกิดขึ้นภายใต้รัฐชาติสมัยใหม่เท่านั้น ทั้งนี้มิได้หมายความว่าไม่มีการปฏิบัติการรวมหมู่ (collective action) ก่อนหน้านี้ แต่รูปแบบการเคลื่อนไหวและจุดเน้นของการปฏิบัติการรวมหมู่ก่อนการมีรัฐชาติมักจะเป็นปฏิกิริยาตอบดต้ขนาดเล็กระดับท้องท้องถิ่นในสังคมศักดินาหรือกึ่งศักดินา แต่เมื่อตำแหน่งแหล่งที่ของอำนาจ อภิสิทธิ์ และทรัพยากร เคลื่อนย้ายไปสู่รัฐรวมศูนย์ขนาดใหญ่ ขอบเขตและจุดเน้นของการปฏิบัติการร่วมหมู่ก็ตามตัวไปด้วย
สารบัญ : ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง
- การศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
- ตัวแบบคลาสสิค
- ทฤษฏีการระดมทรัพยากร
- ทฤษฏีกระบวนการทางการเมือง
- ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่
- ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมข้ามชาติ
- สรุป
เนื้อหาปกหลัง : ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง
หนังสือนี้มีเนื้อหาครอบคลุมทฤษฎีสำคัญที่อธิบายสาเหตุความเป็นมา ความล้มเหลวความสำเร็จของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมพร้อมบทวิจารณ์อย่างละเอียด รวมทั้งชี้ให้เห็นบริบทของแต่ละทฤษฎีว่าได้รับอิทธิพลแนวคิดและขบวนการทางสังคมสำคัญในประวัตศาสตร์อย่างไรบ้าง มีบทที่วิเคราะห์ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมข้ามชาติที่ชี้ว่า รัฐชาติไม่อาจจำกัดขบวนการทางสังคมได้อีกต่อไป ทำให้ผู้อ่านมีความรู้ลึกและทันสมัย
หนังสือนี้มีคุณูปการมากมาย มีสองเรื่องที่ข้าพเจ้าเห็นว่าเด่น หนึ่งคือ การที่ผู้เขียนให้ความสำคัญกับตัวแบบคลาสสิกที่ชี้ประเด็นความคับข้องใจและตระหนักว่าต้องปฏิบัติการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในการทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งประเด็นความคับข้องใจนี้ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่และขบวนการเคลื่อนไหวข้ามชาติในปัจจุบัน
รีวิวโดยผู้เขียน : ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง
หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จำนำเสนอทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมืองแก่นักศึกษาและผู้อ่านทั่วไป การศึกษาเกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา การขยายตัวของการศึกษาดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนการขยายตัวของขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีความสำคัญซึ่งได้รับความสนใจในแวดวงทางสังคมศาสตร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความสนใจที่มากขึ้นนี้ก่อให้เกิดการถกเถียงซึ่งนำไปการนำเสนอทฤษฎีใหม่ๆที่น่าสนใจ
รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง
สำนักพิมพ์อินทนิลเป็นสำนักพิมพ์ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ทางการการศึกษาเป็นหลัก โดยทางสำนักพิมพ์จัดพิมพ์หนังสือ ตำราเรียน ในศาสตร์ สาขาแขนงต่างๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
หนังสือ ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการ ประท้วงทางการเมือง ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร สมชัย ภัทรธนานันท์ เป็นหนังสือลำดับที่ 27 ลำดับของสำนักพิมพ์อินทนิล เป็นหนังสือที่แสดงให้ถึงขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์เปลี่ยนสังคมได้
สำนักพิมพ์อินทนิล