ดนตรีศตวรรษที่ 20 : แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต

ผู้เขียน: วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: งานอดิเรก งานฝีมือ , ศิลปะ

0 (0) เขียนรีวิว

324.00 บาท

360.00 บาท ประหยัด 36.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 12 คะแนน

เป็นแนวคิดใหม่สำหรับการวิเคราะห์หรืออธิบายความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในบทประพันธ์เพลง ซึ่งแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 มีจำนวนมาก < แสดงน้อยลง เป็นแนวคิดใหม่สำหรับการวิเคราะห์หรืออธิบายความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในบทประพันธ์เพลง ซึ่งแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 มีจำนวนมาก
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 1 หนังสือลดเลย 10%

Tags: ดนตรี , คริสต์ศตวรรษที่ 20 , ทฤษฎีเซต

324.00 บาท

360.00 บาท
360.00 บาท
ประหยัด 36.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 12 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com ช้อปหนังสือคุ้ม ลดแรง ต่อที่ 2 ลดเลยทันที 150 เมื่อซื้อครบ 1200.-
จำนวนหน้า
258 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
19 x 26 x 1.2 CM
น้ำหนัก
0.503 KG
บาร์โค้ด
9789740335054

รายละเอียด : ดนตรีศตวรรษที่ 20 : แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต

ดนตรีศตวรรษที่ 20 : แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต

ทฤษฎีดนตรีศตวรรษที่ 20 เป็นแนวคิดใหม่สำหรับการวิเคราะห์หรืออธิบายความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในบทประพันธ์เพลง  ซึ่งแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 มีจำนวนมาก เช่น ทฤษฎีของเชงเคอร์ (Schenkerian  Theory) ทฤษฎีนีโอรีมันเนียน (Neo- Riemannian Thoery) และทฤษฎีเซต (Set Theory) โดยสองทฤษฎีแรกยังคงเป็นแนวคิดสำหรับอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆ ที่อยู่บนพื้นฐานดนตรีระบบโทแนลิตีแต่เป็นการอธิบายในมุมมองใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากวิธีการพิจารราตามแบบแผนดั้งเดิมส่วนทฤษฎีเซตเป็นแนวคิดสำหรับอธิบายบทประพันธ์เพลงในระบบดนตรีเอโทแนลิตีโดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีเอโทนัลแบบอิสระ (Free-Atonal) อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีเซตสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายดนตรีที่ยังคงอยู้ภายใต้กรอบของดนตรีโดนัลได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติที่เกี่ยวข้องกับระดับเสียง นอกจากนี้ ทฤษฎีเซตมีแนวคิดพื้นฐานบางประเด็นที่แตกต่างจากระบบดนตรีโทนัลแบบเดิม ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจเดิมบางประการบนพื้นฐานดนตรีระบบโทแนลิตีไม่สามารถนำมาใช้อธิบายทฤษฎีเซตได้ทั้งหมด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรทำความเข้าใจแนวคิดซึ่งต่างไปจากเดิม

การศึกษาทฤษฎีดนตรีศตวรรษ 20 นั้น สิ่งจำเป็นอันดับต้นๆ ควรทำความเข้าใจกับระบบดนตรีดทนัลให้ดีเสียก่อน ระบบดนตรีโทนัลนั้นเป็นระบบซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของบันไดเสียงเมเจอร์-ไมเนอร์ หากจะกล่าวถึงภาพรวมของดนตรีพอสังเขปแล้ว สามารถกล่าวได้ว่า ระบบนี้เริ่มมีความชัดเจนตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 19 ต่อมาศตวรรษที่ 20 เริ่มมีแนวคิดให่สำหรับระบบดนตรีทำให้โทแนลิตีคลุมเครือ ส่วนก่อนหน้านั้นยุคเรอเนซองซ์ใช้ระบบดนตรีที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบของบันไดเสียงดังกล่าว แต่เป็นการให้ความสำคัญกับระบบโมด และความสัมพันธ์ด้านขั้นคู่เสียง อย่างไรก็ตาม ระบบดนตรีโทนัลและระบบโมดมีลักษณะเป็นเหมือนกัน คือ การให้ความสำคัญกับโน้ตตัวใดตัวหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยโน้ตหลักหรือโน้ตสำคัญนั้นเปรียบเสมือนมีแรงดึงดูด ซึ่งโน้ตอื่นภายในกลุ่มเสียงเดียวกันต้องการเคลื่อนที่เข้าหา ระบบดนตรีที่อยู่บนพื้นฐานการใช้โมดและบันไดเสียงของดนตรีก่อนศตวรรษที่ 20 นั้น จะมีโน้ตหลักทำหน้าที่เป็นโน้ตศูนย์กลางดพียงตัวเดียว และที่มาของโน้ตศูนย์กลางนั้นอยู่ภายในกรอบของระบบโทแนลิตีแบบดั้งเดิม


สารบัญ : ดนตรีศตวรรษที่ 20 : แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต

    • บทนำ
    • แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต
    • ความสัมพันธ์ด้านขั้นคู่เสียง
    • กลุ่มขั้นระดับเสียงหรือเซต
    • ความสัมพันธ์ : กลุ่มเซตและไพรม
    • แถวโน้ตสิบสองเสียง

     


เนื้อหาปกหลัง : ดนตรีศตวรรษที่ 20 : แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต

ทฤษฎีดนตรีศตวรรษที่ 20 เป็นแนวคิดใหม่สำหรับการวิเคราะห์หรืออธิบายความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในบทประพันธ์เพลง  ซึ่งแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 มีจำนวนมาก เช่น ทฤษฎีของเชงเคอร์ (Schenkerian  Theory) ทฤษฎีนีโอรีมันเนียน (Neo- Riemannian Thoery) และทฤษฎีเซต (Set Theory) โดยสองทฤษฎีแรกยังคงเป็นแนวคิดสำหรับอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆ ที่อยู่บนพื้นฐานดนตรีระบบโทแนลิตีแต่เป็นการอธิบายในมุมมองใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากวิธีการพิจารราตามแบบแผนดั้งเดิมส่วนทฤษฎีเซตเป็นแนวคิดสำหรับอธิบายบทประพันธ์เพลงในระบบดนตรีเอโทแนลิตีโดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีเอโทนัลแบบอิสระ (Free-Atonal) อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีเซตสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายดนตรีที่ยังคงอยู้ภายใต้กรอบของดนตรีโดนัลได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติที่เกี่ยวข้องกับระดับเสียง นอกจากนี้ ทฤษฎีเซตมีแนวคิดพื้นฐานบางประเด็นที่แตกต่างจากระบบดนตรีโทนัลแบบเดิม ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจเดิมบางประการบนพื้นฐานดนตรีระบบโทแนลิตีไม่สามารถนำมาใช้อธิบายทฤษฎีเซตได้ทั้งหมด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรทำความเข้าใจแนวคิดซึ่งต่างไปจากเดิม



รีวิวโดยผู้เขียน : ดนตรีศตวรรษที่ 20 : แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต

หนังสือ "ดนตรีศตวรรษที่ 20 : แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต" เล่มนี้ มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นคำอธิบายและบรรยายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจนถึงระดับบัณฑิต ซึ่งปัจจุบันการเรียนการสอนสาขาดนตรีตะวันตกในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง มีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีศตวรรษที่ 20 เป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตร นอกจากนั้น  ผู้เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทั่วไป ผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การเรียนรู้ด้านทฤษฎีดนตรีศตวรรษที่ 20 มาก่อน สามารถใช้หนังสือนี้เป็นอง์ความรู้เพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจกับดนตรีศตวรรษที่ 20 ได้มากขึ้น

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว