ตำนานและเรื่องเล่าปรัมปราท้องถิ่นภาคใต้

ผู้เขียน: พิเชฐ แสงทอง

สำนักพิมพ์: ยิปซี/Gypzy

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

405.00 บาท

450.00 บาท ประหยัด 45.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 16 คะแนน

อัตลักษณ์ วัฒนธรรม อำนาจ และการต่อต้านในประวัติศาสตร์ความเป็นไทย < แสดงน้อยลง อัตลักษณ์ วัฒนธรรม อำนาจ และการต่อต้านในประวัติศาสตร์ความเป็นไทย
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: เรื่องเล่าปรัมปรา , ตำนานภาคใต้ , วัฒนธรรมไทย , บันทึก , วัฒนธรรมภาคใต้

405.00 บาท

450.00 บาท
450.00 บาท
ประหยัด 45.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 16 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com New Year, New Me! ช้อปหนังสือหมวดจิตวิทยา How To 3 เล่ม ลดเพิ่ม 50.- , 5 เล่มขึ้นไป ลดเพิ่ม 150.-
จำนวนหน้า
0 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
17.5 x 24.5 x 3.2 CM
น้ำหนัก
0.835 KG
บาร์โค้ด
9786163015471

รายละเอียด : ตำนานและเรื่องเล่าปรัมปราท้องถิ่นภาคใต้

ตำนานและเรื่องเล่าปรัมปราท้องถิ่นภาคใต้

โดยทั่วไป "ตำนาน" มักจะถูกมองว่าเป็นเรื่องเล่มปรัมปรา ลึกลับ เหนือธรรมชาติที่เชื่อถือไม่ได้ บ้างก็ว่าเป็นเรื่องของโบร่ำโบราณ จึงมักถูกมองว่าคร่ำครึหรือล้าสมัย

แต่ในอีกความหมายหนึ่ง ตำนานกลับผูกพันตัวเองอยู่กับความขรึมขลัง ศักดิ์สิทธิ น่าเชื่อถือ และควรค่าแก่การยกย่อง อันที่จริงตำนานเป็น "ความรู้สึกนึกคิด" ของปัจจุบัน ( ที่มีการเล่าตำนานนั้น ๆ) มากกว่าอดีต แม่ว่ามันจะเต็มไปด้วยเรื่องราวของอดีตนานนมกาเลแต่ไหรก็ตาม ตำนานคือการ "ทบ-ซ้อน" กันของอดีตกับปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ตำนานจึงทำหน้าที่เชื่อมโยงและส่งให้อดีตความหมายต่อปัจจุบันมากกว่าที่อดีตจะมีความหมายต่อตัวของอดีตเอง

 


สารบัญ : ตำนานและเรื่องเล่าปรัมปราท้องถิ่นภาคใต้

    ตำนานและอำนาจ

    ลักษณะตำนานท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ขนบการเล่าเรื่องของตำนานท้องถิ่นภาคใต้สมัยจารีต

    ทรัพย์และอำนาจ พุทธศาสน์กับการเมือง : วิธีคิดของคนใต้ใน "ตำนานเมืองและตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราช"

    ฮิกายัตปัตตานี : อำนาจของผู้สูญเสียอำนาจ

    อำนาจของความคลุมเครือ และ "รักสามเส้า" ที่ปลายแดน ในฮิกายัตมะโรง มหาวงศ์

    อำนาจ/รัฐ ของผู้หญิงและการสถาปนา ความเป็นศูนย์กลางของเมืองชายขอบใน "ตำนานนางเลือดขาว"

    สงครามและสันติภาพ : ตำนานเกี่ยวกับมัสยิดกรือเซะและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธ์ในปัตตานี

     


เนื้อหาปกหลัง : ตำนานและเรื่องเล่าปรัมปราท้องถิ่นภาคใต้

ผู้เขีนใช้มโนทัศน์วัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies) วิเคราะห์ตัวบทตำนานท้องถิ่นภาคใต้ ฮิกายัตชายแดนไต้/มาเลเซียตอนเหนือ และตำนานผสมผสานระหว่่างคติพุทธ ฮินดู และคติมลายู ในฐานะตัวบททางวัฒนธรรม (cultural text) โดยสร้างคำอธิบายผ่านแนวคิดเรื่องวาทกรรมอำนาจของนักคิดกลุ้มหลังสมัยใหม่ เืพื่อแสดงให้เห็นว่า ตำนานท้องถิ่นหาใช่แค่เพียงนิทานที่เล่าสืบต่อกันมาเพื่อความบันเทิงหรือสื่อเนื้อหาสาระแต่เพียงผิวเผินเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่และเครื่องมือในการต่อสู้ช่วงชิงการนิยายความหมายตัวตนทางวัฒนธรรมและการเมิงของคนภาคใต้ในอดีต ตำนานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มชนชายขอบมีมโนทัศน์ต่ออำนาจอย่างไร สร้างและใช้เครื่องเล่าเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างอัตลักษณ์อย่างไร และส่งผลให้การเมืองในประวัติศาสตร์ของคนภายใต้ดำเนินไปอย่างไร

คนท้องถิ่นที่ดูเหมือนไร้อำนาจในคำอธิบายทางประวัติศาสตร์การเมืองกระแสหลัก แท้จริงแล้วไม่ได้ไร้อำนาจ พวกเขาสร้างอำนาจในแบบของตนเองขึ้นมาต่อสู้เพื่อตัวตนในทางวัฒนธรรมและทางการเมือง

พวกเขามีอำนาจในการกำหนดชะตาชีวิตทางประวัติศาสตร์ โดยวิธีของพวกเขาเอง

 



รีวิวโดยผู้เขียน : ตำนานและเรื่องเล่าปรัมปราท้องถิ่นภาคใต้

ยายของผู้เขียนจากไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน ขณะนั้นวัฒนธรรมแจกของชำร่วยเข้าไปเบ่งบานอยู่ในชุมชน แทบจะทุกแห่งแล้ว แม้กระทั่งชุมชนริมป่าพรุดวนเคร็งอันเป็นบ้านที่ผู้เขียนเติบโต ลูกหลานพูดคุยเตรียมการกันว่า เราจะแจกอะไรเป็นของชำร่วย แก้ว ร่ม ยาดม ยาหอม ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ อภิปรายกันไปมาไม่จบ ผู้เขียนเลยเสนอว่าน่าจะทำ "หนังสืองานศพ" แจกญาติ ๆ หันมาทางผู้เขียนเป็นตาเดียว พ่อ-ในฐานะลูกเขยยายซึ่งต้องร่วมจัดงานนี้ในนามแม่ที่ด่วนอำลาไปก่อนหลายปี พูดขึ้นว่า "จะเอาอะไรมาทำหนังสือ..."

คนภาคใต้ตอนกลางคุ้นเคยกับวัฒนธรรมหนังสืองานศพเป็นอย่างดีวัฒนธรรมนี้เริ่มต้นมาอย่างไร เมื่อใดยากที่จะสืบสาว แต่เชื่อว่าคงแพร่กระจายมาจากคนชั้นสูงหรือชนชั้นนำสมัยโบราณที่นิยมบันทึกความเป็นมาของสายตระกูลและประวัติผู้เสียชีวิต นอกจากนั้นก็อาจเป็นอิทธิพลของหนังสือที่ระลึกในวาระสำคัญ ๆ ของพระสงค์ชั้นผู้ใหญ่ในท้องถิ่น ซึ่งทั้งสองอย่างนี้แพร่ผ่านมาทางสถาบันสงฆ์ซิ่งใกล้ชิดกับวิถีชีวิตชาวบ้านสมัยจารีตมากที่สุด คำถามของพ่อที่ถาม "จะเอาอะไรมาทำหนังสือ..." จึงคงหมายถึงเนื้อหา ว่าถ้าเราทำหนังสืองายศพยาย คนอย่างยายจะมีอะไรให้เขียนถึงเพราะยายเป็นแค่ "หมอดูและหมอแทงศาสตร" ที่ทำนาหอมที่เรียกว่า "ยางิ้ว" ตระเวนขายตามงานและบนรถไฟเท่านั้น

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว