แจ๋วเจอผี

ผู้เขียน: สง่า อารัมภีร

สำนักพิมพ์: บ้านบูรพา

หมวดหมู่: วรรณกรรม , เรื่องสั้น

0 (0) เขียนรีวิว

225.00 บาท

250.00 บาท ประหยัด 25.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

รวมเรื่องผีสุดคลาสสิก ละที่มาของเพลง น้ำตาแสงใต้ จากฝีมือการเล่าเรื่องชั้นครูของศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง < แสดงน้อยลง รวมเรื่องผีสุดคลาสสิก ละที่มาของเพลง น้ำตาแสงใต้ จากฝีมือการเล่าเรื่องชั้นครูของศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com New Year, New Me! หนังสือลด 10%

Tags: รวมเรื่องผี , ผี , เรื่องเล่า , ความเรียง

225.00 บาท

250.00 บาท
250.00 บาท
ประหยัด 25.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
311 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.4 x 20.8 x 1.9 CM
น้ำหนัก
0.375 KG
บาร์โค้ด
9786167883427

รายละเอียด : แจ๋วเจอผี

แจ๋วเจอผี

เรื่องราวที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ ผมเองเป็นผู้เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2494 เพื่อลงพิมพ์ในสูจิบัตรละครเรื่อง "กุลปราโมทย์" เป็นละครอันดับที่ 68 ของคณะศิวารมณ์ มันก็หลายปีมาแล้ว แต่ก็ทำให้รำลึกถึงความหลัง เมื่อครั้งเก่าก่อนได้ดีอยู่ เปียโนตัวที่จะกล่าวถึงนั้น เวลานี้ก็ดูเหมือนยังอยู่ที่ห้องเล็กศาลาเฉลิมกรุง เมื่อสองสามปีก่อนผมขึ้นไปบนห้องเล็กยังลูบคลำอยู่เลย มันเก่ามากแล้วและเสียงเบาเสียงก็เพี้ยนเพราะไม่มีใครดูแล แต่เมื่อผมไปลูบคลำวิญญาณของมันและของผมยังผสานกันเหมือนเมื่อเก่าก่อน แต่เดี๋ยวนี้มันจะยังอยู่ หรือถูกขายไปก็ไม่ทราบ ว่างๆ ว่าจะไปเยี่ยมมันอีกครั้ง ผมจำได้แม่นยำว่า "วันนั้น" ในราวเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2488 ศิวารมณ์กำลังซ้อมละครเรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" อยู่ที่ห้องเล็กศาลาเฉลิมกรุงดูเหมือนจะเข้าโปรแกรมวันที่ 10 พฤศจิกายน เราซ้อมกันอย่างหนัก เพราะเป็นสมัยที่เริ่มงานใหม่ๆ กำลังฟิต สุรสิทธิ์-จอก-สมพงษ์ และทุกๆ คนมาซ้อมตั้งแต่เช้าจรดเย็นทุกวัน เนรมิต-มารุต สมัยโน้นเข้าคู่กันคร่ำเครียดกับบทและวางแคแร็กเตอร์ตัวละครเป็นการใหญ่ นาฏศิลป์ก็ซ้อมกันไป เต้นกันไป นักร้องก็ร้องกันไปเสียงแซดไปทั่วห้องเล็กเฉลิมกรุง ตั้งแต่ 9 น. ถึง 15.30 น.ทุกวัน


สารบัญ : แจ๋วเจอผี

    • คำประกาศเกียรติคุณ
    • ผลงาน
    • คำนิยม
    • จากสำนักพิมพ์
    • จากผู้เขียน
    • "น้ำตาแสงใต้" แห่งความหลัง
    • อภินิหารเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ
    • ผีที่ต้นสมอหลังหลวงพ่อโต

เนื้อหาปกหลัง : แจ๋วเจอผี

"แจ๋วเจอผี" มิได้ใช้ป่าช้าเป็นฉาก หากเราจะได้อ่านสภาพชีวต เหตุการณ์ต่างๆ ตามยุคสมัย เป็นการทบทวนชีวิต และบุคคลเก่าๆ ของคนไทย รุ่นเก่า รุ่นใหม่ ไปพร้อมๆ กัน แจ๋วผู้เขียน สักวันหนึ่ง เขาเองก็จะต้องตายเป็นผี ผู้อ่าน ที่กำลังอ่านอยู่นี้ สักวันหนึ่งก็เช่นกัน และข้าพเจ้าผู้ผลิต ก็เช่นเดียวกันอีก เราเป็นผีทั้งนั้น ผีในอนาคต



รีวิวโดยผู้เขียน : แจ๋วเจอผี

เขียนเพลง-นานๆ จะขายได้ 3-4 เพลง เพราะสมัยปี พ.ศ.2492-2493 ถึงเดือนตุลาคม บริษัทซื้อเพลงทำแผ่นเสียงจึงจะจ้างบริษัทอีเอ็มไอจากอังกฤษหรืออินเดียเข้ามาบันทึกเสียง โดยนำเครื่องเข้ามาทางเรือ มาตั้งเครื่องที่ชั้น 2 หน้าศาลาเฉลิมไทย บันทึกเสียงกันทุกวันไปจนกลางเดือนธันวาคมใกล้ๆ จะถึงวันคริสต์มาสและปีใหม่ก็เก็บเครื่อง และนำเทปบันทึกเพลงไปผลิตเป็นแผ่นครั่งที่อินเดีย ครั่งในเมืองไทยผลิตได้แถวๆ ป่าเมืองลพบุรี แต่เมื่อครั่งสู้ผลิตที่อินเดียมิได้ ละเอียดและทนทานเส้นไม่ยับหรือแตกระแหงเก่ง ครั่งที่เมืองลาว เมืองไซง่อน ผลิตแล้วได้เนื้อครั่งไม่ดี อีเอ็มไออังกฤษจึงไปตั้งบริษัทผลิตที่อินเดียเป็นหลักแหล่งไปเลย ในสมัยโน้น ทองรูปพรรณหนักบาทละ 300-400 บาทเท่านั้น ค่าเพลงรวมทั้งหมดก็ได้เพลงละ 500-600 บาท เหลือค่าแต่ง 100 บ้าง 150 บ้าง อัตคัดเหลือทน ผมจึงหันมาเขียนหนังสือ เขียนคอลัมน์สมัยโน้นก็ได้ครั้งละ 40-80 บาท นักเขียนดังก็ได้ 100 บาท 150 บาทต่อคอลัมน์ เมื่อ พ.ศ. 2497 คุณชัยยงค์ ชวลิต ประธานบริษัทไทยพานิชการ ที่ออกหนังสือพิมพ์ไทย กะดึงทอง เริงรมณ์ สยามสมัย ดำริจะออกนิตยสารดารา จึงให้คนมาตามตัวไปเขียนเรื่องราวของภาพยนตร์-ละคร สมัยโน้นโทรทัศน์ยังไม่มี ก็ไปทำงานกับเขา ให้เงินเดือนปักษ์ละ 1200 บาท พอซื้อข้าวปลาอาหารเลี้ยงครอบครัวได้ไม่เดือดร้อน ต่อมาก็ไปทำดาราไทยกับคุณสุรัสน์ พุกกะเวส ทำวิทยุทหารอากาศเขียนเรื่องไปส่งคุณอาจินต์ นิตยสารไทยทีวี 4 บางขุนพรหม เขียนอะไรก็ได้เงินง่ายๆ เมื่อคุณอาจินต์มาทำนิตยสารฟ้าเมืองไทย ก็ให้ผมเขียน แจ๋วเจอผี และอื่นๆ ประจำกันมา 20 กว่าปี

สง่า อารัมภีร



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : แจ๋วเจอผี

ก่อนครบวาระ 100 ปีชาตกาล ครูสง่า อารัมภีร ศิลปินแห่งชาติ เจ้าของนามปากกา แจ๋ว วรจักร, อัญชลี ณ เวียงฟ้า, จ้อน บางกระสอ ใน พ.ศ. 2514 ทางสำนักพิมพ์และครอบครัวครูสง่าจึงได้จัดรวมเล่มหนังสือ "แจ๋วเจอผี" เพื่อลำลึกถึงผลงานเขียนของท่าน แจ๋วเจอผีเล่มนี้เป็นการรวมเรื่องผีตั้งแต่สมัยครูแจ๋วเขียนเป็นตอนๆ ลงในนิตยสารฟ้าเมืองไทยรายสัปดาห์ หลังจากนั้นต่อมาจึงได้รวมเล่มเป็นชุดชื่อ "ผีกระสือที่บางกระสอ" และ "ผีที่โรงแรมนวรัตน์" ซึ่งการรวมเล่มในครั้งนี้ได้นำเรื่องผีทั้ง 2 ชุดดังกล่าวมารวมไว้ด้วยกันโดยเพิ่มเรื่องราวแรงบันดาลใจที่มาของเพลง "น้ำตาแสงใต้" เพลงเอกเพลงดังของครูสง่าที่ประชาชนนิยมจากสมัยโน้นมาจนถึงปัจจุบัน และได้นำ "ดงฉนาก" เรื่องสั้นชั้นยอดไว้เมื่อ พ.ศ.2512

สำนักพิมพ์บ้านบูรพา

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว